เช็กสิทธิ "ประกันสังคม" เบิกเงินขาดรายได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 กรณีป่วยโควิด

เช็กสิทธิ "ประกันสังคม" เบิกเงินขาดรายได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 กรณีป่วยโควิด

ตรวจสอบ เช็กสิทธิ "ประกันสังคม" เบิกเงินขาดรายได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท กรณีป่วยโควิด

ติดตามตรวจสอบ เช็กสิทธิ "ประกันสังคม" กรณีป่วยโควิด เบิกเงินขาดรายได้ สูดสุดไม่เกิน 15,000 บาท ยังคงสอบถามกันมากว่าจะได้เงินเท่าไหร่ อย่างไร สำนักงานประกันสังคม ชี้แจงดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 การเบิกเงินขาดรายได้ กรณีติดโควิด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ เมื่อนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
สิทธิที่จะได้รับ ใน 30 วันแรกให้รับเงินชดเชยการขาดรายได้จากนายจ้างก่อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และหลังจากวันที่ 31 เป็นต้นไปได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตามกฏหมายประกันสังคม 

โดยได้รับตามใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรัง ไม่เกิน 365 วัน

เช็กสิทธิ \"ประกันสังคม\" เบิกเงินขาดรายได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 กรณีป่วยโควิด

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 การเบิกเงินขาดรายได้ กรณีติดโควิด
เงินทดแทนการขาดรายได้ มาตรา 39 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
สิทธิที่จะได้รับ กรณีที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เช็กสิทธิ \"ประกันสังคม\" เบิกเงินขาดรายได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 กรณีป่วยโควิด

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 34 การเบิกเงินขาดรายได้ กรณีติดโควิด
ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 4 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
(3) ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี

ที่มา  สำนักงานประกันสังคม