"เงินชดเชยขาดรายได้" ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้ทำยังไง เช็กที่นี่

"เงินชดเชยขาดรายได้" ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้ทำยังไง เช็กที่นี่

อัปเดต "เงินชดเชยขาดรายได้" ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้เงินทำยังไง เช็กที่นี่ด่วน ตรวจสอบความคืบหน้า และวิธีแก้ปัญหา

ติดตามอัปเดต เช็คสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 หากติดเชื้อ "โควิด" สามารถยื่นขอรับ "เงินชดเชยขาดรายได้" จากสำนักงานประกันสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


กรณีเกิดคำถามว่า ยังไม่ได้ "เงินชดเชยขาดรายได้" ดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจง ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่รักษาตัวหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้ กังวลเรื่องของโควิดแพร่ระบาด สามารถยื่นขอรับเงินขาดรายได้ภายใน 2 ปี หรือ ไม่ต้องไปที่สนง.ประกันสังคม แต่สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มแล้วส่งมาให้สำนักงานประกันสังคมตามที่อยู่ในเว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ให้เรียบร้อย ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้ตามที่ยื่นมา และรายละเอียดดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้
1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
6. หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน)และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออีก
7. สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
8. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล
9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและและเลขที่บัญชี มี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK - ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB - ธนาคารออมสิน - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับผู้ประกันตนที่มีการใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ เงินทดแทนการขาดรายได้มาตรา 39 ดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว สิทธิที่จะได้รับ กรณีที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
4. สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ไทยธนาคาร ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นเรื่อง สำหรับผู้ประกันตนที่มีการใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

\"เงินชดเชยขาดรายได้\" ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้ทำยังไง เช็กที่นี่

มาตรา 39 จะสามารถสมัครประกันสังคมได้อีกครั้ง ผู้ประกันตนจะต้องมีการเข้าทำงานกับนายจ้างมาตรา 33 และออกจากงานจึงสามารถสมัครได้ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังออกจากงาน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขครับ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ มาตรา 39 ดังนี้
1. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน (นับเงินสมทบทุกครั้งของการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 ในระบบประกันสังคมรวมกัน)
3. ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
ขั้นตอนและเอกสารการสมัคร มาตรา 39
1.แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 (สปส.1-20)
2.บัตรประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่น ที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
3.กรณีต้องการนำส่งเงินสมทบหักผ่านบัญชีธนาคาร ให้ถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
1. เสียชีวิต
2. กลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
3. ลาออก
4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่นำส่งเงินสมทบ
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
หากสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และไม่ได้มีการกลับเข้าทำงานกับนายจ้างมาตรา 33 อีก จะสมัครได้แต่มาตรา 40  แนะนำรีบดำเนินการชำระเงินสมทบให้เป็นปัจจุบัน

ผู้ประกันตนมาตรา 40 เงินทดแทนการขาดรายได้
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 4 เดือนย้อนหลัง มีการส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
- ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ที่มา - สำนักงานประกันสังคม