สรุป "ช้อปดีมีคืน" และ "คนละครึ่งเฟส 4" ใช้ยังไง ใครได้สิทธิบ้าง ?

สรุป "ช้อปดีมีคืน" และ "คนละครึ่งเฟส 4" ใช้ยังไง ใครได้สิทธิบ้าง ?

สรุปเรื่องสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับ 2 มาตรการล่าสุด "ช้อปดีมีคืน" และ "คนละครึ่งเฟส 4" เข้าใจง่าย มีประโยชน์อย่างไร ใครมีสิทธิใช้บ้าง ?

สองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินโครงการอยู่ตอนนี้ คือ "ช้อปดีมีคืน" ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.พ.65 และ "คนละครึ่งเฟส 4" ที่กำลังจะเริ่มโครงการในเดือน ก.พ.- 30 เม.ย. 65 

เงื่อนไขในปี 2565 ทั้ง 2 โครงการสามารถใช้สิทธิร่วมกันได้ ไม่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่โครงการกำหนด จึงสามารถใช้สิทธิของแต่ละโครงการได้ ทว่า แต่ละโครงการมีเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน และอาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงสรุปข้อมูลสำคัญของทั้ง 2 โครงการที่ต้องรู้ก่อนใช้สิทธิ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการร่วมโครงการ 

 

 1. ช้อปดีมีคืน ปี 2565 

"ช้อปดีมีคืน 2565" จะสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 65 คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ "ช้อปดีมีคืน" คือมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่เริ่มโครงการ 

ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการไม่ต้องลงทะเบียน เพียงแค่ซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วขอ "ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป" จากร้านค้า ก็สามารถใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 เพื่อหักลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ทั่วไป

 

  •  สินค้าและบริการที่เข้าร่วม "ช้อปดีมีคืน 2565" ได้ 

สินค้าและบริการที่เข้าร่วมเงื่อนไขจะมีตั้งแต่ ซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าซื้อหนังสือ และค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

  •  สินค้าและบริการที่ไม่เข้าเงื่อนไข "ช้อปดีมีคืน 2565" 

- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารและค่าบริการ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย บริการสัญญาณโทรศัพท์ และบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต

 

  •  ช้อปดีมีคืน 2565 เหมาะกับใคร ? 

ช้อปดีมีคืน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราสูง เพราะสามารถลดหย่อนภาษีในอัตราที่มากกว่า ทำให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้น แต่อาจไม่เหมาะกับคนที่คำนวณภาษีแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากต่อให้ซื้อสินค้าตามเงื่อนไขจนเต็มเพดาน 30,000 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงินคืนภาษีอยู่ดี เนื่องจากอัตราการคืนภาษีพิจารณาจากอัตราภาษีที่ต้องจ่าย ตามตารางต่อไปนี้ 
 

สรุป \"ช้อปดีมีคืน\" และ \"คนละครึ่งเฟส 4\" ใช้ยังไง ใครได้สิทธิบ้าง ?
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 2. คนละครึ่งเฟส 4 

"คนละครึ่งเฟส 4" จ่าย 1,200 บาท ให้ผู้มีสิทธิรายเก่า และรายใหม่ สามารถใช้จ่ายได้ตามเงื่อนไขของโครงการคือ ซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าบริการกับร้านค้าที่สมัครเป็น "ร้านค้าคนละครึ่ง"

ยกเว้นสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่หรือสินค้าประเภทเดียวกันที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น โดยผู้มีสิทธิทั้งรายเก่าและรายใหม่จะมีการยืนยันสิทธิ หรือลงทะเบียนต่างกัน ดังนี้ 

สรุป \"ช้อปดีมีคืน\" และ \"คนละครึ่งเฟส 4\" ใช้ยังไง ใครได้สิทธิบ้าง ?

 

  •  คนละครึ่งเฟส 4 เหมาะกับใคร 

สำหรับผู้มีสิทธิรายเก่า สามารถกดยืนยันสิทธิใน "เป๋าตัง" ได้เลย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้สิทธิคนละครึ่งเฟส 4 มาก่อน จะต้องลงทะเบียนก่อน และต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้ 

- เป็นบุคคลสัญชาติไทย
- มีบัตรประจำตัวประชาชน
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- ประชาชนสามารถเลือกลงทะเบียนได้ 1 โครงการเท่านั้น
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

 

  •  คนละครึ่งเฟส 4 เหมาะกับใคร ? 

คนละครึ่งเฟส 4 เป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งวงเงิน 1,200 บาท ที่จะได้รับนั้น เป็นวงเงินที่รัฐจะสนับสนุน 50% ของการใช้จ่ายในแต่ละครั้ง สูงสุดไม่เกิน 150 บาทต่อวัน (เราจ่าย 150 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)

หมายความว่าผู้ที่ใช้สิทธิจำเป็นต้องเติมเงินของตัวเองเข้าไปใน G-Wallet แอพพลิเคชั่น เป๋าตังก่อน จึงจะสามารถใช้จ่ายได้ ดังนั้นคนละครึ่งเฟส 4 จึงเหมาะกับคนที่ต้องการช่วยลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

-------------------------------------------

อ้างอิง: กระทรวงการคลัง

พิสูจน์อักษร  โดย....สุรีย์   ศิลาวงษ์