อย่าสับสน "สีบัตรเลือกตั้ง" สีน้ำตาลเลือก "ผู้ว่าฯกทม." สีชมพูเลือก ส.ก.

อย่าสับสน "สีบัตรเลือกตั้ง" สีน้ำตาลเลือก "ผู้ว่าฯกทม." สีชมพูเลือก ส.ก.

บรรยากาศ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." 2565 ช่วงเช้าวันนี้สุดคึกคัก แต่หลายหน่วยเลือกตั้งพบปัญหาประชาชนสับสน "สีบัตรเลือกตั้ง" และลงคะแนนผิดพลาด-ผิดสีบัตร ย้ำอีกที! บัตรสีน้ำตาล ใช้เลือก "ผู้ว่าฯกทม." ส่วนบัตรสีชมพู ใช้เลือก ส.ก.

เริ่มแล้ว! บรรยากาศ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." วันนี้ 22 พ.ค. 2565 ในช่วงเช้าที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความคึกคัก ประชาชนผู้มีสิทธิต่างเดินทางมาใช้สิทธิอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แต่มีรายงานว่าบางหน่วยเลือกตั้ง พบปัญหาประชาชนสับสน "สีบัตรเลือกตั้ง" อีกทั้งยังพบการลงคะแนนผิดพลาดอยู่บางส่วน เช่น กาหลายเบอร์, กาผิดช่อง, ขีดฆ่า, กาผิดสีบัตร, กาหลายช่อง ฯลฯ 

ขอย้ำถึงการใช้บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. อีกครั้งว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 สี 2 ใบ และใช้เลือกต่างกัน ใครจะเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงบ่ายวันนี้ ต้องทำความเข้าใจให้รอบคอบ 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปวิธีเลือกตั้งมาให้อีกครั้ง ดังนี้

1. เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. 2565 มีบัตร 2 สี 2 ใบ

ประชาชนผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. จะต้องมาเลือกตั้งในวันอาทิตย์ ที่ 22 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 -17.00 น. โดย "สีบัตรเลือกตั้ง" จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 สี 2 ใบ คือ

  • บัตรเลือกตั้ง “สีน้ำตาล” จะเป็นบัตรที่ใช้ลงคะแนนเสียง “ผู้ว่าฯ กทม.” มีขนาด A4
  • บัตรเลือกตั้ง “สีชมพู” จะเป็นบัตรที่ใช้ลงคะแนนเสียง “ส.ก.”  มีขนาด A5

อย่าสับสน \"สีบัตรเลือกตั้ง\" สีน้ำตาลเลือก \"ผู้ว่าฯกทม.\" สีชมพูเลือก ส.ก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2. วิธีกากบาท (X) ลงคะแนนเสียง เลือกได้ 1 คน

ขั้นตอนแรกต้องตรวจสอบก่อนว่าตนเองมีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ โดยเข้าไปตรวจสอบสิทธิได้ที่ : ตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น หากเป็นผู้มีสิทธิ ให้เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตที่อยู่อาศัยของตน โดยค้นหา "คูหาเลือกตั้ง" ใกล้บ้านในเขตของตน พร้อมเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ คือ "บัตรประชาชน" ติดตัวไปด้วย

เมื่อถึงหน่วยเลือกตั้งแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนการเลือกตั้ง ดังนี้

2.1) แสดงตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ 

2.2) ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือ ลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ จากนั้นจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ "สีน้ำตาล" และ "สีชมพู" พร้อมบัตรประชาชนคืนจากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

2.3) จากนั้น เข้าคูหา แล้วทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องให้เต็มช่อง โดยทำเครื่องหมาย ดังนี้

  • บัตรสีน้ำตาล เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สามารถเลือกผู้สมัครได้ 1 คน เท่านั้น
  • บัตรสีชมพู เลือกตั้ง ส.ก. สามารถเลือกผู้สมัครได้เขตละ 1 คน ในเขตของตนเท่านั้น
  • หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใด ให้กากบาทที่ช่อง "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" แล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ให้เรียบร้อย 

2.4) หย่อนบัตรเลือกตั้งลงใน "หีบบัตรเลือกตั้ง" ด้วยตนเอง โดยจะต้องสังเกตหีบบัตรและหย่อนให้ถูกประเภทด้วย 

*หมายเหตุ : ลักษณะ "บัตรดี" จะเป็นบัตรที่ทำเครื่องหมายในลักษณะกากบาท (x) เท่านั้น หากเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์อื่น จะถือว่าเป็น "บัตรเสีย" ไม่ถูกนำไปนับคะแนน
อย่าสับสน \"สีบัตรเลือกตั้ง\" สีน้ำตาลเลือก \"ผู้ว่าฯกทม.\" สีชมพูเลือก ส.ก.

อ่านเพิ่ม : เช็กคูหา "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." 22 พ.ค. ทำอย่างไร ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง ?

3. ข้อห้ามในการ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."

3.1) ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ห้ามไปลงคะแนนเสียง หรือพยายามลงคะแนนเสียง ณ หน่วยเลือกตั้ง

3.2) ห้ามจงใจทำให้บัตรเลือกตั้งของตนเองชำรุด เสียหาย ทำให้เป็นบัตรเสีย หรือพยายามทำให้บัตรเสียเป็นบัตรที่ใช้ได้

3.3) ห้ามผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการเลือกตั้ง

3.4) ห้ามจัดหรือเล่นการพนันที่มีเดิมพันเกี่ยวกับผลของการเลือกตั้ง

3.5) ห้ามหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีใดก็ตาม แม้จะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง

อ่านเพิ่ม : ต้องรู้! หากผู้ใช้สิทธิทำผิด "กฎหมายเลือกตั้ง" มีบทลงโทษอะไรบ้าง?

อย่าสับสน \"สีบัตรเลือกตั้ง\" สีน้ำตาลเลือก \"ผู้ว่าฯกทม.\" สีชมพูเลือก ส.ก.

3.6) ห้ามใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด "ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้ง" เพื่อให้เห็นเครื่องหมายลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง

3.7) ห้ามขาย จำหน่าย แจกจ่าย หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้งในระหว่างเวลา 18.00 น. ระหว่างก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง

3.8) ห้ามเรียก รับ หรือยอมรับเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครใด หรืองดเว้นไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด

3.9) ห้ามทำการอันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือเพื่อแกล้งให้ผู้สมัครผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

3.10) ห้ามจงใจทำเครื่องหมายอื่น หรือเขียนข้อความใดไว้ที่บัตรเลือกตั้งนอกจากเครื่องหมายที่ลงคะแนนเสียง

3.11) ห้ามนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากหน่วยเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่และอำนาจ

----------------------------------

อ้างอิง : สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร