“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต

“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต

ภาคการก่อสร้างอาคารปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" อย่างน้อย 1 ใน 3 ของทั้งหมด โดยอยู่ในกระบวนการก่อสร้าง 30% และอีกกว่า 70% เป็นการใช้อาคารตลอดอายุการใช้งาน ทุกวันนี้จึงพบว่ามีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์มากยิ่งขึ้นเพื่อให้อุตสาหกรรมมุ่งสู่ความยั่งยืน

ข้อมูลจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงการออกแบบก่อสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ ไว้ว่า การสร้างและการผลิตที่สำคัญของมนุษย์ได้รวมถึงการสร้างอาคาร และการใช้พลังงานในการปรับอากาศ แสงสว่างและการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้อำนวยความสะดวกในบ้าน เมื่อประชากรมีมากขึ้น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในชีวิตประจำวันของมนุษย์ยิ่งมีมากขึ้น ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สร้างผลกระทบต่อการเพาะปลูกของมนุษย์ในเขตเกษตรกรรม

 

ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและการใช้ชีวิตให้ไปในทิศทางที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง การออกแบบก่อสร้างอาคารคาร์บอนต่ำ ที่ช่วยประหยัดพลังงานทั้งการผลิต ก่อสร้าง ใช้สอย และย่อยสลาย จึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อให้การออกแบบก่อสร้างอาคารไปในทิศทางที่ยั่งยืน

 

การนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยลดการใช้ทรัพยากร จะต้องถูกคิดค้นขึ้นเพื่อส่งเสริมให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ ลดการสูญเสียทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นวัตกรรมการออกแบบอาคารคาร์บอนต่ำ จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทันที เพื่อให้อาคารใหม่ที่จะสร้างขึ้น มีการประหยัดพลังงาน ประหยัดวัสดุอุปกรณ์ ประหยัดน้ำ และลดการปล่อยน้ำเสีย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เทรนด์รักษ์โลก อาคารยั่งยืน

 

“ปุยฝ้าย คุณาวัฒน์” ประธานจัดงานสถาปนิก 66 ตัวแทนจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบาย ถึงเทรนด์การออกแบบในอนาคตในงานแถลงข่าว “งานสถาปนิก’66” ว่า ทิศทางของการก่อสร้างหรือสร้างเมือง แนวทางหลักๆ คือ เรื่องของ Sustainability หรือ ESG ปัจจุบันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้างได้มีการพูดคุยกันเพื่อร่วมกันสร้างเมือง สร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น การพัฒนาต่อไปต้องดีต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ให้ยั่งยืนมากขึ้น

 

“ปัจจุบัน แม้การนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้ในวงการก่อสร้างอาจจะยังไม่กว้างขวางมาก เนื่องจากนวัตกรรมบางอย่างมีต้นทุนที่สูง อย่างไรก็ตาม เป็นเป้าหมายที่คนในแวดวงก่อสร้างต้องทำร่วมกันและผลักดันให้เกิดทิศทางในอนาคต และต้องทำให้ได้ เพราะทุกคนต้องพูดถึง Net zero การก่อสร้างอาคารขนาดเล็กอาจจะทำได้ยากกว่าองค์กรใหญ่ซึ่งอาจจะทำได้ชัดเจนกว่า แต่ทำน้อยทำมากไม่เป็นไร ต้องเริ่มทำก่อนที่จุดใดจุดหนึ่ง”

 

“ถึงนวัตกรรมจะมีราคาสูงแต่ก็มีจุดที่คุ้มทุน เช่น แต่เดิมเรื่องของโซลาร์เซลล์จุดที่คุ้มทุนต้องใช้เวลานานมากแต่ขณะนี้ ราคาการลงทุนคุ้มทุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ผลิตที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และผู้รับเหมาก็มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ทำให้ต้นทุนถูกลง โลกเราไปในทิศทางที่ดีขึ้น” ปุยฝ้าย กล่าว

 

“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต

 

นวัตกรรม ตอบโจทย์ BCG

 

ในปี 2566 มีการคาดการณ์ว่าอุตสหากรรมก่อสร้างจะเติบโต 4-6% โดยปัจจัยหลัก คือ การลงทุนของภาครัฐ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตวัสดุสร้างครบวงจร มองว่าจะเป็นโอกาสในการเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจไทย โดยมีการบรรจุนโยบาย BCG เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์เทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต

 

“ประเสริฐ บุญยัง” ผู้จัดการฝ่าย Digital Printing บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นโยบายด้านความยั่งยืนของทีพีไอ ได้มีการดำเนินงานโดยหลักของ ESG โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอย่างเต็มที่ พร้อมกับ บรรจุนโยบาย BCG เป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่รวมไปถึงเวทีโลก ไม่ว่าจะยุโรป ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สินค้าของทีพีไอ จะต้องได้รับมาตรฐานนานาชาติ

 

ทั้งนี้ ทีพีไอ โพลีน ถือเป็นผู้นำในธุรกิจปูนซีเมนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดอย่างครบวงจร ด้วยโรงงานปูนซีเมนต์ 4 สายการผลิต มีกำลังการผลิตรวม 13.5 ล้านตันต่อปี ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกัน ทำให้สามารถนำพลังงานความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์และพลังงานเชื้อเพลิงขยะที่กลุ่มบริษัทผลิตเอง มาผลิตกระแสไฟฟ้าส่งผลให้กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเป็นผู้นำในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากเชื้อเพลิงขยะ

 

ปูนซีเมนต์ทั้งหมดของบริษัทมีคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา (ASTM) และสหพันธรัฐยุโรป (EU) รวมถึง ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านคุณภาพ ISO 9002 สามารถผ่านมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถส่งออกปูนทีพีไอโพลีนไปยังรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งขึ้นชื่อว่าดูแลและระมัดระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในโลก

 

“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต

 

วัสดุทดแทนไม้

 

ที่ผ่านมา ทีพีไอ มีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมนโยบายภาครัฐในส่วนของ Green Economy อาทิ นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น 

 

“ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้” ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดคุณภาพสูง ทนไฟไหม้ได้มากกว่า 2 ชั่วโมง ปลวกไม่กิน ราคาถูกกว่าไม้จริง รักษาสิ่งแวดล้อม และยังได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป CE มีความแข็งแรง ทนไฟระดับ A1 ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารระเหย

 

“ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด” ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ ผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูง ผสมผสานเส้นใยเซลลูโลสจากธรรมชาติจากป่าปลูกในสัดส่วน 4-5% ลดการรบกวนธรรมชาติ สามารถใช้ติดตั้งได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร แข็งแรง ทนทาน ติดตั้งง่าย สะดวกรวดเร็ว

 

“ดิจิตอลบอร์ด” ผลิตภัณฑ์ TPI Digital Board พิมพ์ลวดลายบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป CE มีความแข็งแรง ทนไฟระดับ A1 ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารระเหย ทนทุกสภาวะอากาศ

 

หมุนเวียนพลังงาน วงจรการผลิต

 

"ขณะเดียวกัน ในด้านของเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy “ประเสริฐ” อธิบายว่า ทีพีไอ ในฐานะผู้ผลิตปูนซีเมนต์อันดับ 2 ของประเทศ ทุกกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ต้นทุนหลัก คือ “พลังงาน” ดังนั้น ทุกกระบวนการที่มีความร้อนทิ้ง จะถูกดึงกลับมาใช้ประโยชน์ และกระบวนการที่มีการใช้น้ำ เช่น การผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์เราใช้น้ำเป็นส่วนผสม หลังจากนั้นจะทำการปล่อยน้ำลงไปตกตะกอน และดึงน้ำกลับมา ทุกอย่างเป็นระบบปิด ช่วยลดต้นทุน ลดการปล่อยของเสียออกสู่ธรรมชาติ" ประเสริฐ กล่าว 

 

“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต

 

นวัตกรรมอาคารประหยัดพลังงาน

 

ทั้งนี้ ภาคการก่อสร้างอาคารปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 1 ใน 3 ของทั้งหมด โดยอยู่ในกระบวนการก่อสร้าง 30 % และอีกกว่า 70% เป็นการใช้อาคารตลอดอายุการใช้งาน "บริษัท คอรัล ไลฟ์ จำกัด" จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้อาคารตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการใช้งาน ได้แก่ 

 

กรอบอาคารป้องกันความร้อน ป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารให้มากที่สุด  เพื่อทำให้อุณหภูมิที่เหมาะกับการอยู่อาศัย คือ 25 องศา กรอบอาคารที่ดี จะช่วยป้องกันอุณภูมิภายนอกจาก 35 องศาให้เหลือ 27-28 องศา ซึ่งหมายความว่าจะใช้อีกแค่ 3 องศาในการทำความเย็น ทำให้ประหยัดพลังงาน

 

นวัตกรรมในเรื่องของคุณภาพอากาศ ด้วยเครื่องระบบ “HVAC” หรือ Heating, Ventilation, Air Conditioning โดยรวม 4 ฟังก์ชั่นการทำงาน คือ การทำความเย็น กรองอากาศ เครื่องถ่ายเทอากาศ และลดความชื้น อยู่ในเครื่องเดียว ช่วยลดการทำงานของแอร์ ประหยัดพลังงานตั้งแต่เดือนแรกมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับอาคารในลักษณะเดียวกัน

 

และแม้งบประมาณในการสร้างอาคารประหยัดพลังงานจะสูงว่าการสร้างอาคารปกติราว 15-20% แต่ เพียง 5 ปี ก็ถึงจุดคุ้มทุน เนื่องจากสามารถประหยัดไฟ 70 % ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนแรกที่เปิดใช้

 

ที่ผ่านมา คอรัล ไลฟ์ ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการวิจัยพัฒนาสร้างห้องทดลองเป็นบ้านเดี่ยวสองชั้น พื้นที่ 200 ตร.ม. ใช้แอร์เพียง 12,000 BTU เปิดแอร์ตลอด 24 ชั่วโมง ค่าไฟต่อเดือนเพียง 2,000 บาท จากปกติใช้แอร์ 200,000 BTU

 

“อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต