ยอดล่าสุด! ลงทะเบียนจดแจงปลูกกัญชาผ่านแอพฯ "ปลูกกัญ" แล้วเกือบ ล้านคน

ยอดล่าสุด! ลงทะเบียนจดแจงปลูกกัญชาผ่านแอพฯ "ปลูกกัญ" แล้วเกือบ ล้านคน

อัปเดท! ยอดลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา ทะลุเกือบล้านคน ขณะที่ออกใบรับจดแจ้งกัญชา กว่า 9 แสนใบ ส่วนกัญชง เกือบ 3 หมื่นใบ พร้อมย้ำข้อควรระวังในการนำกัญชา กัญชงไปใช้ ใครใช้ได้ ใครไม่ควรใช้

ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 กฎหมายได้มีการปลดล็อก "กัญชง กัญชา" ออกจากสารยาเสพติด ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างชัดเจน ทำให้ประชาชนสามารถปลูกพืชนี้ได้ในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ยังคงต้องขออนุญาต

 

ลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชงแล้วเกือบ 1 ล้านคน

วันนี้ (26 มิ.ย.2565 )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รายงานสถิติการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" ณ เวลา 07.00 น. ระบุว่า

  • ลงทะเบียนจดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง 934,629 คน 
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 7905,574ใบ
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 29,055 ใบ
  • จำนวนเข้าใช้งาน 41,825,920 ครั้ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

10 ข้อคำแนะนำใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์

"ปลดล็อกกัญชา" กัญชง อะไรทำได้ ทำไม่ได้ ?

มหิดล ห้ามขาย-โฆษณา-บริโภค อาหาร-เครื่องดื่มที่ผสม "กัญชา-กัญชง" ในมหา'ลัย

"ลงทะเบียนกัญชา" จดแจ้งปลูกกัญชาในครัวเรือน ทำตามคลิปง่ายๆ ครบทุกขั้นตอน

ขั้นตอนลงทะเบียนปลูกกัญชากัญชงผ่าน แอพฯ "ปลูกกัญ"

 อย.ได้เปิดให้ประชาชนที่สนใจปลูกกัญชา กัญชง เข้าไปลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ที่แอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์  นับตั้งแต่มีการปลดล็อกให้สามารถกัญชา กัญชง ได้ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ยอดล่าสุด! ลงทะเบียนจดแจงปลูกกัญชาผ่านแอพฯ "ปลูกกัญ" แล้วเกือบ ล้านคน

วิธีลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำผ่าแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" มีดังนี้

  1. ลงทะเบียน
  2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
  3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ยังสามารถลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ได้ที่ เว็บไซต์  หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ call center โทร 1556 กด 3

ย้ำข้อควรระดับการนำกัญชาไปใช้

อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกคำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ โดยระบุ 10 ข้อ อ้างอิงจากคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (มกราคม 2564) ได้แก่

1.รักษาตามมาตรฐานการแพทย์ก่อน

2.ไม่ใช้หากอายุน้อย แนะนำอายุมากกว่า 25 ปี

3.ใช้กัญชาอัตราส่วน CBD : THC สูง

4.ไม่ใช้กัญชาสังเคราะห์

5.ไม่ใช้การสูบแบเผาไหม้

6.หากสูบ ไม่อัดควันเข้าปอด แล้วกลั้นไว้

7.ใช้อย่างระวัง ใช้บ่อยและเข้มข้นสูง เสี่ยงสูง

8.งดขับรถ ใช้เครื่องจักร ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

9.งดใช้ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวจิตเวช ตั้งครรภ์

10.หลีกเลี่ยงใช้ หากมีหลายปัจจัยเสี่ยง

 

ใครบ้าง? ที่ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี THC เป็นส่วนประกอบ

ทั้งนี้ คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (มกราคม 2564) ยัง ระบุ ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี THC เป็นส่วนประกอบ

1. ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ และ/ หรือสารที่ เป็นตัวทำละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด

2. ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease (angina, peripheral vascular disease, cerebrovascular disease และ arrhythmia) หรือ มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

 3. ผู้ที่เป็นโรคจิตมาก่อน หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน (concurrent active mood disorder) หรือ โรควิตกกังวล (anxiety disorder)

4. หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่ วางแผนจะตั้งครรภ์เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงพบ cannabinoids ในน้ำนมแม่ได้

 

ข้อควรระวังอื่นๆ

1. การสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจาก ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้น ผู้สั่งใช้ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการสั่ง ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา

2. ผู้ที่เป็นโรคตับ

 3. ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก

 4. ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines 5. ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอในสองกลุ่มนี้กระบวนการ metabolism ของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้น ในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ