ขนส่ง เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" รถยนต์ เกิน 7 ปี มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี จริงหรือ?

ขนส่ง เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" รถยนต์ เกิน 7 ปี มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี จริงหรือ?

กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" สำหรับรถยนต์ใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ให้เจ้าของรถเข้าถึงบริการ "ชำระภาษีรถประจำปี" ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลบนสื่อโซเชียลเรื่อง กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" สำหรับรถยนต์ใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

กรมการขนส่งทางบก มีบริการรับ "ชำระภาษีรถประจำปี" หลากหลายช่องทางที่อำนวยความสะดวกประชาชนที่ไม่ต้องเดินทางมาสำนักงานขนส่ง เช่น

ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเจ้าของรถสามารถเข้าถึงบริการ "ชำระภาษีรถประจำปี" ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อีกทั้ง ปัจจุบันยังได้พัฒนาช่องทาง ชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ ให้รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ทุกอายุการใช้งานแล้ว โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพ (ตรอ.) ให้เรียบร้อยก่อน

ขนส่ง เปิดให้ต่อ \"ภาษีออนไลน์\" รถยนต์ เกิน 7 ปี มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี จริงหรือ?

ดำเนินการชำระภาษีรถออนไลน์ ที่เว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน ส่วนการชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราว เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก

อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกช่องทางรับเครื่องหมายการเสียภาษีได้ทั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งจะได้รับภายใน 5 วันทำการ หรือสำหรับผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีได้ด้วยตนเองที่ตู้ Kiosk ที่ติดตั้งในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 ได้อีกหนึ่งช่องทาง ส่วนรถที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีสามารถดำเนินการได้ทันที

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ กระทรวงคมนาคม หรือโทร. 1356