'ไซยาไนด์' คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน? เช็กอาการเมื่อพิษเข้าสู่ร่างกาย

'ไซยาไนด์' คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน? เช็กอาการเมื่อพิษเข้าสู่ร่างกาย

ล้วงลึก 'ไซยาไนด์' คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน? หากสูดดม - สัมผัส หรือกินเข้าไป เช็กอาการเมื่อพิษเข้าสู่ร่างกาย

จากกรณีข่าว นางสรารัตน์ หรือ 'แอม' ภรรยาตำรวจยศ 'รอง ผกก.' ที่ราชบุรี ถูกจับในข้อหา 'ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน' พร้อมของกลางขวด 'ไซยาไนด์' (Cyanide) ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่เจ้าหน้าที่เชื่อได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ น.ส.ศิริพร หรือ ก้อย อายุ 32 ปี ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท

 

ซึ่งจากการสืบสวนเชื่อว่าแอมน่าจะเป็นผู้นำไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย นำมาผสมใส่น้ำหรืออาหารให้ผู้ตายทานเพื่อหวังในทรัพย์สินมีค่าต่างๆ ทั้งนี้ยังพบความเชื่อมโยงการตายในลักษณะที่คล้ายกันอีกหลายศพ โดยแต่ละศพล้วนรู้จักกับแอม ในวันนี้ทีมข่าวจะพาไปล้วงลึกว่า 'ไซยาไนด์ คืออะไร' แล้วอันตรายมากแค่ไหน

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ไซยาไนด์ คืออะไร

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มี ไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก ใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น การชุบโลหะ การสังเคราะห์สารเคมี การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีในห้องปฏิบัติการ

สารประกอบกลุ่มที่เป็น เกลือไซยาไนด์ (Cyanide salts) มีหลายชนิด ที่พบบ่อย เช่น

  • โซเดียมไซยาไนด์ (Sodium cyanide)
  • โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide)

หรือพบในรูปเกลือชนิดอื่นๆ เช่น

  • แคลเซียมไซยาไนด์ (Calcium cyanide)
  • ไอโอดีนไซยาไนด์ (Iodine cyanide) เป็นต้น

เมื่อเกลือไซยาไนด์สัมผัสกับกรด หรือมีการเผาไหม้ของพลาสติกหรือผ้าสังเคราะห์ จะได้แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) เกิดขึ้น แก๊สชนิดนี้มีพิษอันตรายเช่นเดียวกับเกลือไซยาไนด์ แต่แพร่กระจายได้ง่ายกว่า เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ที่สูดควันไฟกรณีที่มีไฟไหม้ในอาคาร

 

นอกจากนี้ยังพบแหล่งของ ไซยาไนด์ในธรรมชาติ ได้จาก สารอะมิกดาลิน (Amygdalin) และ สารลินามาริน (Linamarin) ซึ่งพบได้ใน

  • เมล็ดแอพพริคอท (Apricot)
  • เชอรรี่ดำ (Black cherry)
  • หัวและใบของมันสำปะหลัง (Cassava)

ในประเทศไทยพบมีรายงาน 'พิษไซยาไนด์' เนื่องจากการกินมันสำปะหลังได้บ้างพอสมควร และบางรายถึงกับทำให้เสียชีวิต

 

\'ไซยาไนด์\' คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน? เช็กอาการเมื่อพิษเข้าสู่ร่างกาย

 

 

 

อันตรายของไซยาไนด์ (Cyanide)

ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์

- หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่างจะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้วจะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว

- หากสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที

 

กลไกการเกิดพิษของสารกลุ่มไซยาไนด์ นั้นเกิดจากไปจับกับ Cellular Cytochrome Oxidase ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจของเซลล์) เซลล์ของร่างกายจึงอยู่ในสภาพของ anoxia และเกิดภาวะ lactic acidosis (ภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก) ในที่สุด

 

\'ไซยาไนด์\' คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน? เช็กอาการเมื่อพิษเข้าสู่ร่างกาย

 

อาการเมื่อได้รับไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย

อาการไม่รุนแรง

  • กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
  • หายใจลำบาก
  • ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จางๆ
  • รู้สึกระคายเคืองคันๆ ที่จมูก คอ ปาก

อาการรุนแรง

  • คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
  • หายใจลำบาก
  • ชักหมดสติ
  • เสียชีวิต