ผู้บริหารไทย​'กล้าขบถ ขนบเดิม' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

ผู้บริหารไทย​'กล้าขบถ ขนบเดิม' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

ความท้าทายของผู้นำยุคนี้ ไม่ใช่แค่การนำพาองค์กรให้พร้อมก้าวไปให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกใบเดิมที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่ในยุคที่แลนด์สเคปในโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงแบบติดสปีด แถมยังต้องรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

ผู้นำที่แข็งแกร่ง ต้องมองเห็นโอกาส และความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรเดินไปข้างหน้า​ได้โดยไม่หลงทาง และสามารถพิชิตเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต่อให้ระหว่างทางจะพบเจอกับอุปสรรคก็ตาม คำถาม คือ เราจะเป็นผู้นำแบบนั้นได้อย่างไร?  

เพื่อหาคำตอบดังกล่าว SEAC ผู้นำด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงได้จัดงาน 'Breaking The Mold กล้าขบถ ขนบเดิม' งานเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดที่ผู้บริหารได้จากโครงการ Leading in a Disruptive World หรือ LDW รุ่นที่ 5 ซึ่ง SEAC ร่วมกับ The Stanford Center for Professional Development มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ออกแบบหลักสูตรระดับเวิลด์คลาส เพื่อตอบโจทย์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง และเจ้าของธุรกิจนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ได้จริงและนำพาองค์กรของตนสู่ความสำเร็จ

โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ มาเป็นตัวแทนบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเคล็ดวิชาที่ได้ เพื่อนำไปต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมในองค์กรของแต่ละท่าน ซึ่งมีทั้งธุรกิจครอบครัว องค์กรยักษ์ใหญ่ ตลอดจนมหาวิทยาลัย​ของไทย 

ผู้บริหารไทย​\'กล้าขบถ ขนบเดิม\' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

องค์กรต้องเซ็กซี่ ดึงดูดคนทำงาน เลือกคนตรงสเปค ตอบโจทย์ใช้ชีวิต

'HR' ยุคใหม่ เร่งเฟ้นหา คนทักษะไอที ตอบโจทย์องค์กร

"สยามพิวรรธน์" เสริมทัพผู้นำ HR รุ่นใหม่ ขับเคลื่อนองค์กรแห่งผู้นำความคิด

เปลี่ยนโฉม HR สู่ Digital HR ผ่านมุมมอง“ดวงพร” จ๊อบส์ ดีบี

 

‘อยากดีที่สุดในทุกเรื่อง’ ต้องดูทรัพยากร และเป้าหมายใหญ่ 

การตั้งเป้าหมายที่จะเป็น No.1 คือหมุดหมายใหญ่ที่ทุกองค์กรฝันจะไปให้ถึง หลายบริษัทพยายามทุกวิถีทางทำหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งเป้าหมายเก่า และคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ ๆ เข้ามาเสริมทัพ เพื่อพาองค์กรทะยานไปข้างหน้าจนกลายเป็นว่าองค์กรกำลังลุยทุกจุด

ศันสนา สุขะนันท์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย สายงานทรัพยากรบุคคล กล่าวว่าสิ่งที่คิดว่าจะนำมาต่อยอด คือ บางครั้งองค์กรลืมกลับมาดูว่าทรัพยากร (Resource) ซึ่งอาจจะหมายถึง เวลา คน และเงินทุน เพียงพอหรือตอบโจทย์เป้าหมายใหญ่ขององค์กรหรือไม่ แน่นอนว่าเรามาพร้อมความตั้งใจที่จะเป็นที่หนึ่งในทุกเรื่อง

ผู้บริหารไทย​\'กล้าขบถ ขนบเดิม\' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

ก่อนหน้านี้ ฝั่ง HR อยากพัฒนาบุคลากรให้รองรับความต้องการดังกล่าว จึงผุดไอเดียใหม่ๆ กลยุทธ์งามๆ แตกแยกย่อยออกมาซ้อนทับกันเยอะจนพนักงานรับไม่ไหว และยังเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นอีกด้วยในฐานะผู้บริหาร ต้องกลับมาใช้เวลามองภาพรวมใหญ่ขึ้น ว่าจะจัดสรรอย่างไร ทำไปเพื่ออะไร เป้าหมายต้องชัด ขณะเดียวกันเราต้องคิดถึงผู้นำองค์กรในอนาคต ที่พร้อมจะมานำองค์กร ไม่ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามเราต้องสร้าง Future Leader ที่คิดเป็น คิดต่อ และเกิดการ Apply 

 

AI มาแน่ แต่ไม่ได้มาแทนในทุกเรื่อง 

ทุกบทเรียนที่ได้เรียนเหมือนการต่อจุดที่สามารถเชื่อมโยงกันเป็นภาพใหญ่ เพื่อนำไปปรับใช้ในโลกการทำงานจริง เพราะในบทเรียนของ LDW ค่อนข้างครอบคลุม หลักสูตรมีการปูพื้นฐาน ตั้งแต่แนวคิด​ไปจนถึงเทคนิคในการนำแต่ละความรู้ไปปรับใช้รวมไปถึงมายด์เซ็ท

นอกจากนี้ ทาง SEAC ยังช่วย unpack เพื่อ connect the dot ทำให้ผู้เรียนได้ตกผลึกว่า จะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดอย่างไร สามารถนำมาร้อยเรียงเข้ากับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ทันที ข้อคิดที่ได้คือ เราต้องหวนกลับมานึกถึงจุดที่เราเป็น สิ่งที่เรามี ดูว่าสิ่งที่กำลังทำนั้นทำไปทำไม จุดมุ่งหมาย อยู่ตรงไหนซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานที่เฉียบคมมากขึ้นในท้ายที่สุด

กระแสข่าว AI แย่งงานมนุษย์เป็นที่พูดถึงในช่วงหลายปีมานี้ และทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีการเปิดตัว ChatGPT บริการแชทบอทออนไลน์ที่ตอบได้ (เกือบ) ทุกคำถาม ช่วยวางแผนได้ทุกเรื่อง ทำคนไม่น้อยแตกตื่นกับยุค Digital Disruption ที่จะพรากสิ่งที่มนุษย์เคยทำไปเป็นของหุ่นยนต์ไร้ชีวิต

ผู้บริหารไทย​\'กล้าขบถ ขนบเดิม\' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

เรืองชาย สุพรรณพงศ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการองค์กร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ซึ่งมีโอกาสเข้าร่วมโครงการมาแล้ว 2 รุ่น กล่าวว่าอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป โดยในช่วงหลายปีก่อน Digital Disruption ทำให้บริษัทดำเนินงานไปพร้อมกับความกลัว เราต้องไม่ช้าต้องไม่ล้ำหน้าน้อยกว่าคนอื่น ต้อง Scale Up และเข้าถึงคนได้มาก เราสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ใช้เทคโนโลยีพัฒนาสิ่งที่เหนือกว่า ผ่านการใช้กำลังคนเพียงหยิบมือที่ทำพร้อมกันหลายหน้าที่ จนถึงจุดหนึ่งที่พนักงาน Burn out ไปต่อไม่ไหว  

ในคลาสเรียน LDW ที่สแตนฟอร์ดครั้งนี้ ผมประหลาดใจมากที่ไม่มีใครพูดถึงแนวทางเก่าๆ แบบที่เคยคิด นอกจากนั้น Professor ทุกคนพูดถึงเรื่อง AI กับ ChatGPT แต่ไม่มีใครพูดเรื่อง Blockchain เลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้เรามองว่ามันเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก AI คือสิ่งที่เมื่อองค์กรใดก็ตามนำมาใช้ควบคู่กับการพัฒนากลยุทธ์ได้อย่างสอดคล้องจะสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างดี 

แต่ AI มีจุดอ่อนตรงที่ไม่มีทักษะ 0-1 คือการนำ Data มาแยกย่อยจัดเรียง และคาดการณ์ด้วยอารมณ์ได้เหมือนมนุษย์ ฉะนั้นเส้นทางที่องค์กรต้องเดินหน้าไปคือการสร้างคนให้มีทักษะ 0-1 รวมถึงเรียนรู้ว่า AI ที่เปิดให้ใช้ในปัจจุบัน มี Tools อะไรที่นำมาประยุกต์กับการทำงานของเราได้บ้าง และส่งเสริมให้คนในองค์กรใช้งานให้เป็น ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากจะประหยัดเวลา ยังเพิ่ม Capability ให้องค์กรได้อีกด้วย

กล้าคิดนอกกรอบ สู่การ Reframe องค์กรที่เหนือกว่า 

หลักสูตร LDW คาดหวังให้ผู้เข้าร่วมนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อ Reframing หรือ ปรับโครงสร้างองค์กรให้ดีที่สุดสำหรับตนเอง

ผศ.นพ.บุญชัย หวังศุภดิลก รองคณบดีฝ่ายเวชสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าอย่าติดกับดักในภาพเดิม คุณต้อง Reframe ตัวเองให้ได้ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ก็เป็นโรงพยาบาลหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายในการทำเพื่อสังคม เช่นเดียวกับสถาบันการแพทย์อื่นๆ แต่ในโลกยุคใหม่เราอยากให้คนมองโรงพยาบาลในมุมใหม่ที่ก็มีความเป็นธุรกิจเช่นกัน

ผู้บริหารไทย​\'กล้าขบถ ขนบเดิม\' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีแผนที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับ Medical Tourism นั่นเป็นเหตุผลที่ผม และอาจารย์แพทย์อีกหลายๆ ท่านเข้าร่วมกับ LDW เพื่อเรียนรู้เรื่องธุรกิจ นำกลยุทธ์ที่ได้ไปปรับใช้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง เรามองว่าผู้บริหารโรงพยาบาลในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องเป็นหมออย่างเดียว แต่จะดีกว่าไหม หากเป็นคนที่มีลักษณะของผู้ประกอบการมากกว่า กล้าที่จะนำโมเดลธุรกิจขององค์กรอื่นๆมาปรับใช้

เหมือนอย่างคีย์เวิร์ดหนึ่งที่ Professor ได้บอกว่า 'การรีเฟรมองค์กร ไม่มีกรอบตายตัว'ในอนาคตโรงพยาบาลอาจจะเด่นทั้งด้านการรักษา และมีบริการที่ดีเลิศระดับเดียวกับโรงแรมห้าดาวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตนเองก็เป็นไปได้ สำคัญคือ หากเราเป็นทางลัดใดก็ตามที่มันจะช่วยนำพาเราไปยังโอกาสการเติบโตที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่น่าลอง

ผู้บริหารไทย​\'กล้าขบถ ขนบเดิม\' ต่อจิ๊กซอว์ความรู้สู่การปรับใช้จริง 

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งซีแอค กล่าวถึงหัวใจสำคัญของการเรียนรู้และการจัดงานเสวนาครั้งนี้ในฐานะผู้นำไว้ด้วยว่า ขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ Knowledge Economy ความรู้สามารถหาได้จากหลายแหล่ง ทั้งอินเทอร์เน็ต หนังสือ ทั้งฟรี และไม่ฟรี แต่ซีแอคเชื่อว่า ไม่มีแหล่งความรู้ใดที่จะให้คุณค่าไปได้ดีกว่ามนุษย์ ด้วยกันเอง เพราะการได้ฟังประสบการณ์ รวมถึงรับอาหารสมองจากปากของคนที่ผ่านการลงสนามมาด้วยตนเอง เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ และนำมาย่อยให้เราฟัง จะได้มุมมองที่ลึกซึ้งถึงแก่น  

ในฐานะผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ เรามีหน้าที่ในการนำเรื่องยากๆ มาย่อยเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อส่งต่อไปยังพนักงาน เรียนรู้ที่จะ Improvise รับมือทุกตัวแปรที่ผ่านเข้ามาเป็นตัวอย่างให้กับบุคลากร หรือก็คือการปรับเปลี่ยนที่เริ่มจาก Top to Down เป็นหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ยั่งยืน และซีแอคเชื่อว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำธุรกิจ หรือการเรียนรู้ในยุคใหม่นี้ คือ การเรียนรู้ที่นำไปสู่การปรับใช้ได้จริง เพื่อสร้างความสำเร็จและผลลัพธ์ที่แตกต่างพร้อมรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคหลังโควิด-19 

สำหรับผู้บริหารที่สนใจเตรียมความพร้อมรับมือและต่อยอดโอกาสทางธุรกิจไปกับโปรแกรม Leading in a Disruptive World รุ่นที่ 6 สามารถติดต่อและสอบถามรายละเอียดได้ที่เพจ https://www.facebook.com/seasiacenter และเว็บไซต์ https://seasiacenter.com