รู้ไว้ก่อนสาย!! ตรวจภายใน-ตรวจ HPV DNA ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

รู้ไว้ก่อนสาย!! ตรวจภายใน-ตรวจ HPV DNA ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

ข้อมูลจาก The Global Cancer OBservatory (GCO)2020 International Agency for Research on Cancer (IARC)ได้รายงานสถานการณ์ภาพรวมมะเร็งนรีเวชในประเทศไทยจากอดีตสู่ในปัจจุบัน  พบว่า อุบัติการณ์โรคมะเร็งในหญิงไทย วันละ 159 คนต่อประชากร 100,000 คน (อันดับที่ 15 ของทวีปเอเชีย)

Key Point :

  • ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์มีโอกาสติดเชื้อ HPV อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และมีสูงถึง 80%
  • ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ พบ 9,158 ต่อปี และมีการตายประมาณ 4,705 ราย 
  • ปี 2050 ตั้งเป้าประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลง 3.5 แสนคน
  • ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองสม่ำเสมอ อย่ารอให้มีอาการ  หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

โดย 5 มะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทย ได้แก่  มะเร็งเต้านม 34.23 มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 13.3 มะเร็งตับและท่อน้ำดี 12.2 มะเร็งปอด 11.5  และมะเร็งปากมดลูก 11.1

ทั้งนี้ มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ พบ 9,158 ต่อปี และมีการตายประมาณ 4,705 ราย เนื่องจากเวลาตรวจพบมะเร็งปากมดลูกจะพบในระยะที่ 3และระยะที่ 4  

ผศ.นพ. ณัฐวุฒิ กันตถาวร สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช หัวหน้างานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้สัมภาษณ์ในประเด็น “Women's Health in Thailand - What Can Be Done to Provide Better Care for Women to Achieve Elimination of Cervical Cancer: เหลียวหลังแลหน้าเพื่อหาวิธี พิชิตภารกิจกำจัดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย” ว่า

โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus)ซึ่งเชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มี 14 สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะสายพันธุ์16 และสายพันธุ์ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 70% และผู้หญิงที่ติดเชื้อ HPV 2 สายพันธุ์ดังกล่าวมีความเสี่ยงในการพัฒนารอยโรคมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 35 เท่า

รู้ไว้ก่อนสาย!! ตรวจภายใน-ตรวจ HPV DNA ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สายด่วน สปสช. 1330 ขยายบริการเชิงรุกโทรแจ้งสิทธิ "คัดกรองมะเร็งปากมดลูก"

รัฐบาลโทรชวนหญิงไทยคัดกรอง "มะเร็งปากมดลูก" ผ่านสายด่วน สปสช.1330

ตรวจคัดกรอง "มะเร็งปากมดลูก" ด้วยวิธี HPV DNA test ฟรี 9-10 ธ.ค.นี้

"ตกขาว" สัญญาณเตือนภัยร้าย ชื่อว่า "มะเร็ง"

 

ผู้หญิงหนึ่งคนมีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสติดเชื้อ HPV

“เชื้อ HPV ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้หญิงหนึ่งคนที่มีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสติดเชื้อ HPV อย่างน้อย หนึ่งครั้งในชีวิตมีสูงถึง 80%โดยการมีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียวก็อาจเสี่ยงติดเชื้อไวรัสนี้ได้ และมากกว่า 99% ของคนไข้มะเร็งปากมดลูกมาจากติดเชื้อ HPV ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  การติดเชื้อ HPV โดยปกติ 95% สามารถติดและหายเองได้ภายใน 2 ปี  แต่หากไม่หายจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อ และนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ มะเร็งปากมดลูก มีระยะก่อนมะเร็ง ที่ทำให้เกิดการตรวจพบได้  ดังนั้น มะเร็งปากมดลูกหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ โดยไม่ต้องตัดมดลูก”ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว  

รู้ไว้ก่อนสาย!! ตรวจภายใน-ตรวจ HPV DNA ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

มะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถป้องกัน และรักษาได้หากตรวจพบแต่เนินๆ ซึ่งสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus (เชื้อฮิวแมน ปาปิลโลมา ไวรัส) โดยมาตรการที่มีประสิทธิผลสูงและคุ้มทุนในการกำจัดมะเร็งปากมดลูก เป็นที่ยอมรับในสากล ได้แก่

1.การฉีดวัคซีนในช่วงวัยที่เหมาะสม ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กผู้หญิงอายุ 5 ขวบ หรือ 11 ปี 

2.การตรวจคัดกรองที่มีคุณภาพเป็นประจำ 

3. การตรวจพบว่าติดเชื้อแต่เนิ่นๆ และทำการรักษา 

"มะเร็งปากมดลูกใช้เวลา 15-20 ปี ในการพัฒนารอยโรค ดังนั้น จึงมีเวลาในการรักษาก่อนลุกลาม" ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว  

 

ปี 2050 ตั้งเป้าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลง 3.5 แสนคน

ในบริบทสากลนั้น ในปี 2020 การประชุมสมัชชาอนามัยโลก(WHA) นำกลยุทธ์สากลมาใช้เพื่อกระตุ้นการกำจัดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นครั้งแรกที่ประชาคมโลกมีพันธกิจร่วมกันในการพิชิตภารกิจกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2030 จะสามารถรับวัคซีนได้ 90% แต่ในความเป็นจริง 3 ปีที่ผ่านมาทำได้เพียง 12% ต้องมีการฉีดวัคซีนในช่วงวัยที่เหมาะสม 70% แต่ตัวเลขจริงได้เพียง 36% 

อย่างไรก็ตาม ผลที่คาดว่าจะได้รับในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในปี 2050 คือ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลง 3.5 แสนคน และอัตราผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกลดลง 5 ล้านราย

ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ตรวจพบไวรักษาได้ 

การติดเชื้อ HPV ติดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้เกี่ยวกับพันธุกรรม ดังนั้น หากมีแม่เป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเป็น แต่ทั้งนี้ การมีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียว ก็อาจเสี่ยงติดเชื้อได้

ทั้งนี้ สำหรับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกมี 2 วิธี คือ

1.การฉีดวัคซีน HPV

2.การตรวจคัดกรอง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่

2.1การตรวจคัดกรองแบบ PAP Smear

  • เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีทางเซลล์วิทยาโดยดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่มะเร็ง
  • แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูก เพื่อส่งไปตรวจสอบในห้องปฎิบัติการเพื่อหาเซลล์ที่ผิกปกติผ่านกล้องจุลทรรศน์ และต้องตรวจทุกปี 
  • การตรวจแบบ PAP SMEAR จึงไม่ใช่การตรวจหาเชื้อ HPV และจะมีความไวในการตรวจเจอโรค 53%
  • ตรวจทุกปี  เป็นการความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ความไวในการตรวจพบ 53%
  • เป็นการตรวจทุกๆ ปี 

2.2 การตรวจแบบ HPV DNA Test   

  • เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตรวจถึงระดับ DNA เพื่อหาเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อระบุหาความเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือภาวะก่อนมะเร็งในสตรี
  • มีการเก็บตัวอย่างแบบเดียวกันกับการตรวจแบบ PAP SMEAR แต่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในห้องปฎิบัติการ เพื่อระบุหาเชื้อ HPV จาก DNA ของเชื้อโดยตรง สามารถเส้นระยะการตรวจได้ถึง 5 ปี
  • หากผลตรวจไม่พบเชื้อ เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูง เพื่อระบุถึงความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกและมีความไวในการตรวจเจอโรค  92% 
  •  เป็นการตรวจทุกๆ 5 ปี 

รู้ไว้ก่อนสาย!! ตรวจภายใน-ตรวจ HPV DNA ห่างไกล "มะเร็งปากมดลูก"

ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าปัจจุบัน 'มะเร็งปากมดลูก' ไม่ใช่ปัญหาของประเทศที่เจริญแล้ว เพราะในประเทศที่เจริญแล้วจะพบปัญหาโรคนี้น้อยมาก แต่กลับกันกับพบมาในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งในอดีตประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมาก แต่ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น พบผู้ป่วยน้อยลง เนื่องจากมีการตรวจคัดกรอง และการฉีดวัคซีนมีมากขึ้น

"อดีตเวลาเป็นมะเร็งปากมดลูดจะทำให้เสียชีวิต แต่ขณะนี้ถ้าตรวจพบเจอระยะหนึ่งโอกาสรอด 90% แต่ถ้าระยะสาม จะโอกาสรอด 50:50"ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ระบบสุขภาพของไทยมีความครอบคลุม สามารถทำให้เข้าถึงได้การรักษาได้ แต่ความไม่เท่าเทียมคือการรักษาพยาบาล เนื่องจากระบบสุขภาพมีปัญหาในเขตชุมชนเมืองเยอะมาก ซึ่งเรื่องการดูแลสุขภาพคนในต่างจังหวัดกลับมีโอกาสเข้าถึงการรักษาในบางโรคได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจ Women’s Health APAC Survey    ซึ่งเป็นแบบสำรวจความเข้าใจของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ในการตระหนักรู้ มุมมอง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในเรื่องของสุขภาพสตรี โดยบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ เอเชีย แปซิฟิก  พบว่า

61% มองว่าพวกเธอค่อนข้างมีความรู้ ความเข้าใจในโรคมะเร็งปากมดลูก

39% มองว่า พวกเธอแทนจะไม่รู้ ไม่เข้าใจในโรคมะเร็งปากมดลูกเลย

83% มองว่าพวกเธอมั่นใจว่าได้รับการรักษา หากป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก

66% มั่นใจการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างเหมาะสม

21% ไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองฯได้อย่างเหมาะสม 

57% ระบบเฮลต์แคร์ของไทย มีความเท่าเทียมในการรักษาผู้หญิง

"การตรวจคัดกรองด้วย HPV DNA Self-Sampling Test ก็ถือเป็นอีก 1 ทางเลือกในการตรวจหาเชื้อ HPV ที่ให้ผู้หญิงสามารถเก็บส่งตรวจได้ด้วยตัวเอง ลดปัญหาความกังวลใจจากการเขินอายแพทย์ และกลัวเจ็บได้ ซึ่งการตรวจพบเชื้อ HPV ได้เร็ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้  เพราะจะรักษาได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจภายในและการตรวจคัดกรอง ยังเป็นมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้หญิงทุกคนควรได้รับ"ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว

เช็กอาการ ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้นั้น เกิดจาก

  • การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลายาวนาน
  • การตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคน
  • ภูมิคุ้มกันไม่ดี
  • การละเลยไม่ไปตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ส่วนอาการของมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • จะมีอาการต่อเมื่อเป็นก้อน
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • มีเลือดออกในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว
  • มีตกขาว ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด ซึ่งเกิดจากมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง

"หลักการคือ ถ้าเลือดออก ตรวจภายใน อย่ารอให้มีอาการ ควรตรวจคัดกรองสม่ำเสมอ  และควรจะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง  ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งผู้หญิงถ้าไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ขอให้เริ่มตรวจอายุ 30 ปี แต่หากมีความผิดปกติขอให้มาตรวจ และถ้าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ให้เริ่มตรวจตอนอายุ 25 ปี "ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว