วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ผลประชุม ECB /ยอดค้าปลีกและดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ผลประชุม ECB /ยอดค้าปลีกและดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ

ทางเทคนิค คาด SET Index อ่อนตัว แนวรับ 1,529 จุด (เปิด Gap ไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.)/1,515 จุด แนวต้าน 1,540/1,545 จุด อิงรูปแบบดัชนีฯ ที่ยังคงอยู่ในทิศทางขาลงไปที่แนวรับ 1,506 จุด และมีสัญญาณยืนยันจากดัชนีฯ วานนี้หลุดทะลุแนวรับสาคัญ 1,540 จุด ลงมา

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ผลประชุม ECB /ยอดค้าปลีกและดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ

ประเด็นวันนี้ ไฮไลท์อยู่ที่ ผลประชุม ECB Meeting แม้ตลาดคาดว่าคณะกรรมการ ECB อาจคงดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรก หลังปรับขึ้นต่อเนื่อง 9 ครั้งติดต่อกัน (Figure 1) เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจEUมีความเสี่ยงเกิดภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจเติบโตต่ำ แต่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง) และอัตราเงินฟ้อกลับมาอยู่ในทิศทางขาลงแล้ว อย่างไรก็ดี หลายสถาบัน อาทิ Bloomberg, Krungthai COMPASS คาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ ECB Meeting ครั้งนี้อาจจะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้ง +0.25% (โอกาส 40%) เช่นกัน เนื่องจากระดับเงินเฟ้อ EU ปัจจุบัน 5.3%YoY ในเดือน ก.ค. ยังคงสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับกรอบเป้าหมายของEUที่ 2% ทั้งนี้ ตลาดจะให้ความสนใจในรายงานหลังประชุม เพราะอาจมีการส่งสัญญาณชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก

ส่วนปัจจัยอื่น ๆ จับตา US รายงานดัชนีผู้ผลิตเดือน ส.ค. (Figure 3) (Consensus คาด +0.4% MoM, +1.2% YoY สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. +0.3% MoM, +0.8% YoY) จากการปรับขึ้นของหมวดพลังงาน และรายงานยอดค้าปลีกเดือน ส.ค. (Figure 2) (Consensus คาด +0.2% MoM, +2.9% YoY ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. +0.7% MoM, +3.2% YoY) โดยเฉพาะยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. มีแนวโน้มปรับลดลง เพราะคาดว่า 20% ของประชาชนสหรัฐฯ ต้องกลับมาจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรก หลังรัฐบาลช่วยสนับสนุนตลอดในช่วงที่ผ่านมา เราคาดว่าแม้ต้นทุนเงินเฟ้อเร่งขึ้น แต่หากสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวชัดเจน จะทำให้เฟดมีโอกาสน้อยลงที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ค.

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นบวก ได้แก่ ADVANC (หุ้นปลอดภัยและปันผลต่อเนื่อง) AMATA (รับผลบวกจาก Tech War) EKH (รับผลบวกจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน)

 

Strategic daily picks

ADVANC    ปิด 219.00 บาท/แนวรับ 212.00 บาท แนวต้าน 226.00 บาท

บริษัทย่อย AWN รับโอนใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 700MHz จาก NT แถบความกว้าง 2x5 MHz ไปจนถึงสิ้นสุดใบอนุญาต (31 มี.ค. 2036) โดยชำระค่าตอบแทน 14,866 ล้านบาท รวมถึงการชำระค่าใบอนุญาตรายปีส่วนที่เหลือแก่ กสทช. (ประมาณ 1.8 พันล้านบาท/ปี) ขณะที่ ADVANC จะได้รับค่าบริการโรมมิ่ง และค่าเช่าใช้อุปกรณ์ สำหรับการจัดสร้างโครงข่ายบนคลื่นความถี่ 700MHz จำนวน 13,500 สถานีให้ NT ทั้งนี้ KTX ประเมินมูลค่าพื้นฐาน 12 เดือนข้างหน้าที่ 236 บาท อิงอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 4.4%

 

 

AMATA      ปิด 26.25 บาท/แนวรับ 24.80 บาท แนวต้าน 28.00 บาท

AMATA อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมที่จะนำบริษัท อมตะ สแทรทเทจิก โฮลดิ้ง 1 จำกัด (Spin Co.) เข้าจดทะเบียนใน SET ในปี 2024 โดยภายหลังจากการปรับโครงสร้างแล้วเสร็จ จะเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 30% ของทุนชำระแล้วของ Spin Co ส่วนภาพรวมผลการดำเนินงาน 2H23 คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะดีขึ้น โดยบริษัทจะทยอยรับรู้รายได้จากยอดขายที่ดินรอโอนในมือ (Backlog) อย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้น 2Q23 มี Backlog รวมมูลค่า 7.99 พันล้านบาท ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q23 และปี 2023 ที่ 434 ล้านบาท และ 2.0 พันล้านบาท พร้อมประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 28.25 บาท

 

EKH     ปิด 8.20 บาท/แนวรับ 7.95 บาท แนวต้าน 8.60 บาท

EKH เผยธุรกิจศูนย์ผู้มีบุตรยาก (IVF) เติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าหลักจากจีน ที่เข้ามารับบริการและปัจจุบันมีคนไข้ต่างชาติให้ความสนใจเข้ามารับคำปรึกษาแล้วกว่า 140 คู่ จากเป้าหมายทั้งปี 300 คู่ ทำให้คาดว่าในช่วงที่เหลือของปี 2023 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น และคาดสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ IVF จะเพิ่มเป็น 13% จากก่อนหน้านี้ที่ 8% ส่วนเป้ารายได้รวมปี 23 คาดเติบโตไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8-10% จากปีก่อน และผลการดำเนินงาน 3Q23 คาดจะดีกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการเข้าสู่ช่วง high season ของธุรกิจ Health Care ทำให้อัตราการเข้ารับรักษาและตรวจสุขภาพ รวมถึงอัตราการครองเตียงเกิน 100% จากการระบาดหลายโรค ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 254.75 ล้านบาท และประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 9.59 บาท

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ผลประชุม ECB /ยอดค้าปลีกและดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ