Soft Power คืออะไร และ Soft Power ของไทย มีอะไรบ้าง

Soft Power คืออะไร และ Soft Power ของไทย มีอะไรบ้าง

ครบจบที่นี่ Soft Power คืออะไร และ Soft Power ของไทย มีอะไรบ้าง กระบวนการสร้าง หน่วยงานที่ทำอยู่

จากปรากฎการณ์ Soft Power ของไทย จากกระแส ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ กรณีศิลปินและแหล่งท่องเที่ยวของไทยมาก่อนหน้านี้ จนเกิดคำถามว่า Soft Power คืออะไร หลายสื่อและผู้รู้ต่างช่วยกันอธิบาย และ Soft Power มีอะไรบ้าง รวมไปถึง กระบวนการสร้าง Soft Power และ หน่วยงานที่ทำ Soft Power ซึ่งขอขยายความอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ 

1.Soft Power คืออะไร

ซอฟท์พาวเวอร์ (soft power) หรือ อำนาจอ่อน ศึกษาจากทฤษฎี จะความเข้าใจลักษณะอำนาจที่เกิดจากการสร้างความนิยม ซึ่งยังมีจุดบกพร่อง soft power เป็นทฤษฎีซึ่งก่อเกิดในสาขารัฐศาสตร์ นำเสนอโดยศาสตราจารย์ Joseph S. Nye, Jr. แห่ง Harvard University

Nye ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งเป้าการสร้างเครือข่ายยุคหลังสงครามเย็น จึงเอ่ยถึงการใช้อำนาจแบบใหม่สำหรับโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายผ่านกลไกผสมผสาน เช่น ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภาพลักษณ์ทางการเมือง และเสน่ห์วัฒนธรรม
Nye เชื่อว่า มันจะทำให้ทุกฝ่ายเปิดรับปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในระดับที่ลึกขึ้น อำนาจแบบนี้เรียกว่า soft power ต่างจากอำนาจทางทหาร หรือ การขู่เข็ญบังคับแม้แฝงเจตนาเดียวกัน แบบหนึ่งแค่ดูอ่อนโยน อีกแบบแข็งกร้าว เมื่อเกาหลีใต้อ้างว่า การส่งออกความบันเทิงเป็น soft power ความเข้าใจผู้คนก็เริ่มเปลี่ยนไป หลายคนมอง soft power ประหนึ่งการสร้างความนิยมเพื่อผลทางการค้า มุมมองนี้ไม่ผิด แต่ก็ไม่ครบถ้วน จริง ๆ แล้ว soft power คืออำนาจที่ต้องอาศัยกระบวนการจัดการและตอบสนองต่อภาคการเมือง หากพิจารณาองค์ประกอบตลอดกระบวนการ จะเห็นว่า soft power เป็นมากกว่าการส่งเสริมเศรษฐกิจผ่านความบันเทิง (ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, 2565)

1.2 ซอฟท์พาวเวอร์ โมเดล 4A 2R

ขยายรายละเอียด soft power แบ่งกระบวนการทางอำนาจออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งผู้ใช้อำนาจและผู้รับอำนาจ ในฝั่งผู้ใช้อำนาจ องค์ประกอบตามหลัก 4A คือตัวขับเคลื่อน ฝั่งผู้รับอำนาจ องค์ประกอบจะต่างออกไปด้วยหลัก 2R 

กระบวนการ 4A

1.2.1 Agenda    วาระของประเทศ มักแบ่งเป็นวาระลับและวาระสาธารณะ - ตัวอย่าง หากยกกรณีสหรัฐฯ ขึ้นมา จะพบว่า วาระสาธารณะคือการขยายเครือข่ายโลกาภิวัตน์ แต่วาระลับเป็นเรื่องความมั่นคงทางทหาร พลังงาน และการเมือง

1.2.2 Actor    ผู้เล่นทางอำนาจ ได้แก่ รัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร ฯลฯ - ตัวอย่าง ในกรณีของสหรัฐฯ ช่องทางจำนวนมากถูกนำมาใช้เพื่อภารกิจ soft power หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมฮอลลีวูดซึ่งอาศัยผู้เล่น 3 ฝ่าย ได้แก่ นายทุนภาพยนตร์ ผู้ผลิต และรัฐบาล

1.2.3 Asset    ทุนทางอำนาจ เช่น เสน่ห์วัฒนธรรม การศึกษา ความช่วยเหลือ ฯลฯ ในเวลาเดียวกัน Asset ก็หมายถึงทุนที่เป็นเม็ดเงินด้วย - ตัวอย่าง กรณีฮอลลีวูดบ่งชี้ว่า ทุนของสหรัฐฯ คือวัฒนธรรมภาพยนตร์ซึ่งมีลักษณะเด่นตรงที่เน้นการผลิตชิ้นงานเพื่อจับใจผู้ชม อัดแน่นด้วยคุณภาพความสนุกซึ่งเกิดจากจินตนาการ ทักษะการเล่าเรื่อง เทคโนโลยี และงบผลิตขั้นสูง แต่งานแทบทุกชิ้นจะเร่งเร้าให้ผู้ชมเห็นพ้องกับสหรัฐฯ ยกย่องสหรัฐฯ และอาจถึงขั้นตอบรับกระบวนการอเมริกานุวัตร หรือ เปลี่ยนทัศนะพฤติกรรมตนเองให้เป็นอเมริกัน

1.2.4 Action    ปฏิบัติการ หรือ ยุทธศาสตร์ที่จะช่วยให้เกิดการใช้อำนาจตามความคาดหวัง - ตัวอย่าง ปฏิบัติการทั้งหมดต้องเป็นไปเพื่อประกันคุณภาพงานและปฏิกิริยาตอบรับเชิงบวกจากชาติเป้าหมาย นายทุนฮอลลีวูดสนับสนุนเม็ดเงิน ผู้ผลิตพัฒนาทักษะการสื่อสาร เทคนิค และสร้างเนื้องานให้ทรงพลัง รัฐบาลให้คำแนะนำเรื่องเนื้อหาภาพยนตร์ ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ประกอบฉาก/ประกอบการแสดง ผลักดันให้หน่วยงานสหรัฐฯ ในต่างประเทศค้นคว้าข้อมูลทางการตลาดและเข้าหาผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่จะอำนวยการฉายภาพยนตร์ฮอลลีวูด
 

กระบวนการ 2R

1.2.5 Reaction ปฏิกิริยาตอบรับ อาจจะอยู่ในรูปของการบริโภค การให้ความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายสนับสนุนผู้ใช้อำนาจ - ตัวอย่าง หากยกตัวอย่างประเทศไทย การตอบรับภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นไปด้วยดีเสมอ อัตราการบริโภคแต่ละปีเกินกว่า 80% ขณะที่ภาพยนตร์ไทยกลับไม่เป็นที่นิยม การตอบรับฮอลลีวูดยังเห็นได้จากภาคการฉายซึ่งมักเปิดโรงให้แก่งานฮอลลีวูดไม่ต่ำกว่า 75% ของรอบฉายทั้งหมด รวมทั้งเครือข่ายแฟนภาพยนตร์และกลุ่มนักวิจารณ์ที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมการชมงานจากฮอลลีวูดเป็นการเฉพาะ หมายความว่า ฮอลลีวูดได้รับความร่วมมือจากคนไทยในวงกว้างอันเป็นผลมาจากความพึงพอใจเนื้องานร่วมกับแผนการรณรงค์จากต่างประเทศ

1.2.6 Result ผลการตอบรับอำนาจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐ เอกชน หรือ ประชาชน - ตัวอย่าง เมื่องานฮอลลีวูดได้รับการตอบรับเข้มข้น สิ่งที่ตามมาคือโลกทัศน์แบบอเมริกันซึ่งฝั่งรากลึกในสังคมไทย คนไทยจึงเชื่อในเศรษฐกิจเสรี เชื่อในความชอบธรรมของกองทัพสหรัฐฯ และพร้อมคล้อยตามสหรัฐฯ ในการขยับย่างแต่ละครั้ง

ดังนั้น soft power จึงเป็นเรื่องของการจัดการอำนาจอย่างมียุทธวิธีและอาศัยวาระนำทาง สูตรความเข้าใจแบบ 4A 2R ชี้ให้เห็นว่า soft power จะประสบความสำเร็จเมื่อพร้อมด้วย 1.วาระที่จูงใจ 2.ความร่วมมือจากทุกฝ่าย 3.ทรัพยากรทางอำนาจที่มีพลังในการโน้มน้าวและเข้าถึงผู้คน และ 4. การจัดการเพื่อให้มั่นใจว่า soft power จะบังเกิดผลในชาติเป้าหมายโดยรวมเรื่องของความพยายามสร้างปฏิกิริยาตอบรับในชาติเป้าหมายให้มากที่สุด (ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, 2565)

2. Soft Power ของไทย

นโยบายต่อเนื่องในการสนับสนุน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม 5 F ที่เป็น Soft Power ของไทยให้กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย
2.1 อาหาร (Food)
2.2 ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film)
2.3 การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion)
2.4 ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting)  
2.5 เทศกาลประเพณีไทย (Festival) 
ทั้งนี้ เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นรากฐานที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม สะท้อนผ่านอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิง เพลง ภาพยนตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว กลายเป็น Soft Power ของไทย ให้ที่เป็นที่รู้จักและได้รับการชื่นชมจากคนทั่วโลก หากพลังและศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ที่ประกอบด้วยศิลปินไทย ที่มีความสามารถ ทีมงานบุคลากรเบื้องหลังที่มีทักษะและเชี่ยวชาญ และการสนับสนุนของภาครัฐ จะเป็นการสร้างโอกาสและช่องทางใหม่ๆ ผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ Soft Power กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย (ธนกร วังบุญคงชนะ, 2565)

3. กระบวนการสร้าง Soft Power

3.1 การขับเคลื่อน การส่งเสริมและผลักดัน Soft Power ของรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ ส่งออกสินค้าใน 4 หมวดสำคัญ ได้แก่ อาหาร ดิจิทัลคอนเทนต์สุขภาพความงาม และสินค้าอัตลักษณ์ไทย การจัดทำมาตรการเชิงรุกผลักดันการส่งออกผลไม้การผลักดันการค้าชายแดน ซึ่งมีคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอาเซียน ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.2 การส่งเสริมสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล โอทอปพรีเมียมโกอินเตอร์ (OTOP Premium Go Inter) โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างความยั่งยืนในตลาดสากลภายใต้การใช้ประโยชน์จากโอกาส สิ่งของ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ที่นานาประเทศกำลังให้ความสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้โลกเน้นการผลิตสินค้าที่เกิดคาร์บอนต่ำและไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโอกาสในการผลักดันสินค้าระดับท้องถิ่นไทยให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในตลาดนานาชาติได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

3.3 การท่องเที่ยว ททท.ทำในหลายด้านอยู่แล้ว ล่าสุดชู Soft Power ในกระแส “ซีรีส์วายไทย” หนึ่งในพลังแห่ง Soft Power ดังไกลไปทั่วโลก แม้แต่ “สาววายญี่ปุ่น” ผู้จุดพลุวัฒนธรรมย่อย หรือ ซับคัลเจอร์ (Subculture) นี้ส่งออกข้ามพรมแดน ในตลาดญี่ปุ่น ซีรีส์วายไทยถือว่ามาแรงเป็นอันดับ 1 ท่ามกลางการแข่งขันของซีรีส์วายจากทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก ทั้งของญี่ปุ่นเอง รวมถึงเกาหลี และไต้หวัน (พรไพลิน จุลพันธ์, 2565)

4. หน่วยงานที่ทำ Soft Power

ช่วงที่ผ่านมา คงทราบกันดีว่าหลายหน่วยงานรัฐ ต่างทำหน้าที่ในการส่งเสริม Soft Power ของไทยในเรื่องของอาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion)  ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting)  
เทศกาลประเพณีไทย (Festival) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งหน่วยงานที่รุกด้านต่างประเทศ อย่างกระทรวงการต่างประเทศ ผ่าน มูลนิธิไทย เอาจุดเด่นของไทยคือคุณลักษณะและเอกลักษณ์ของคนไทยใน 3 ด้าน ได้แก่ความเคารพที่มีต่อผู้อื่น (RESPECT) ความมีเมตตากรุณา (COMPASSION) และความพร้อมในการเปิดรับสิ่งต่าง ๆ (OPENESS) มูลนิธิไทยจะนำเสนอปัจจัยสำคัญที่เป็นที่มาของคุณลักษณะเด่นทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ทั้งในรูปแบบการให้ข้อมูลผ่านสื่อทุกแขนงเป็นภาษาอังกฤษ (โดยมีดำริจะทำเป็นภาษาไทยด้วยต่อไป) พร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่จะเข้าถึงชาวต่างชาติโดยตรง เพื่อให้รู้จัก เข้าใจ และนิยมไทยยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการอยู่ใน 4 ด้าน คือ

4.1 การเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม (Culture & Heritage)

วัฒนธรรมไทยเป็นเบ้าหลอมสำคัญของคุณลักษณะเด่นของความเป็นไทยและคนไทย บ่งบอก
ที่มาของคุณสมบัติและอุปนิสัยอ่อนโยน อ่อนน้อม ถ่อมตน ความละเมียดละไม ใส่ใจในรายละเอียด ของคนไทย รวมถึงศิลปะในมวยไทย เอกลักษณ์เหล่านี้ควรได้รับการเผยแพร่ให้แพร่หลายยิ่งขึ้นในต่าง ประเทศ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่สร้างเกียรติภูมิให้กับความเป็นไทยและคนไทย ศิลปวัฒนธรรมหลัก ที่จะเผยแพร่แบ่งเป็น ๗ หมวดหมู่ ได้แก่

  • ศิลปะและหัตถกรรมไทย (Artistry and Craftsmanship)
  • ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and Dramatic Arts)
  • ธรรมเนียมและเทศกาล (Traditions and Festivals)
  • วรรณศิลป์และนิทานพื้นบ้าน (Literature and Folklore)
  • ภูมิปัญญา (Local Wisdoms)
  • อาหารไทย (Thai Food)
  • มวยไทย (Muay Thai)
  •  โครงการแลกเปลี่ยน (Exchange Programs)

การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติอันจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี มิตรภาพระหว่างคนโดยตรง เป็นช่องทางให้ชาวต่างชาติรู้จักความเป็นไทยที่ลึกซึ้งขึ้น ขณะที่คนไทยก็จะได้รู้จักและเข้าใจชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เกิดเครือข่ายระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในกลุ่มวัยต่าง ๆ ทั้งยังจะเปิดช่องทางที่นำไปสู่บรรยากาศและโอกาสของความร่วมมือและการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป ลักษณะโครงการมีหลากหลาย อาทิเช่น

  1. การให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างประเทศมาศึกษาในประเทศไทย
  2. การเชิญเยาวชนต่างประเทศมาเข้าค่ายในประเทศไทย
  3. การส่งอาสาสมัครไทยไปยังประเทศต่าง ๆ
  4. การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยแก่ชาวต่างชาติในประเทศไทย เช่น 

คณะทูต นักศึกษาต่างชาติ ผู้รับทุนจากต่างประเทศ นักธุรกิจจากต่างประเทศ โดยมีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ จากฝ่ายไทยเข้าร่วมโครงการด้วย

4.2 การสอนภาษาไทยออนไลน์ด้วยภาษาต่าง ๆ (Thai Language Courses)

ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากขึ้นในรูปของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน กอปรกับสื่อรายการบันเทิงภาพยนตร์และละครไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นทั้งผ่านทางโทรทัศน์ และช่องทางอื่น ๆ เช่น ยูทูป ทำให้มีผู้สนใจเรียนภาษาไทยมากขึ้น การรู้จักภาษาไทยจะช่วยให้ชาวต่างชาติเข้าถึงมิติต่าง ๆ ของความเป็นไทยได้ลึกซึ้งขึ้น และน่าจะนำไปสู่ความนิยมไทยได้เพิ่มขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาไทยขึ้นบนเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของมูลนิธิไทยยังจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจแต่ขาดช่องทางหรือโอกาส สามารถเรียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี การพัฒนาสื่อการสอนภาษาไทยดังกล่าวขณะนี้ก้าวหน้าไปด้วยดีทั้งภาษาอังกฤษ เกาหลี เยอรมัน เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สเปน อาหรับ และอินโดนีเซียโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาษาเขมรและลาวโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และภาษาเมียนมาโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ ในขั้นเริ่มต้นจะสอนภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจาวันในสถานการณ์ต่าง ๆ

4.3 การพัฒนาด้านจิตใจ (Spiritual Values)

พระพุทธศาสนาเป็นอีกรากฐานที่สาคัญที่ก่อคุณลักษณะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของความ เป็นไทยที่บ่มเพาะความมีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์ ในด้านนี้จะเป็นการนาเสนอพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จากขั้นพื้นฐานไปสู่รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับการให้ข้อมูล ข้อแนะนำ และวิธีปฏิบัติในการทำสมาธิที่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับของคนในวัยต่าง ๆ ในนานาประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากขณะนี้ที่มีพระพุทธศาสนาแล้ว ในอนาคตอาจมีศาสนาสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่คนไทยให้การนับถือเช่นกันและต่างอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างกลมกลืน สะท้อนถึงความเปิดกว้าง การยอมรับ และความเคารพต่อความแตกต่างทางความเชื่อของคนในสังคม

มูลนิธิไทยจะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ โดยแปลหรือเรียบเรียงขึ้นจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับและอ้างอิงได้ เช่น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากร หรือจากศิลปินโดยตรง เช่นเดียวกับเนื้อหาในด้านพระพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น ๆ ก็จะมาจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ โดยนำเสนอในรูปแบบของบทความ E-book คลิปวีดิทัศน์ เป็นต้น ผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิไทย และสื่อสังคมออนไลน์หลัก ๆ ทั้งหมด และจะใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรงด้วย

การนำเสนอจุดเด่นและเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและของคนไทยให้เป็น  ที่ประจักษ์ยิ่งขึ้น โดยทำอย่างต่อเนื่อง ในกรอบการทูตสาธารณะที่เน้นประชาชนชาวต่างประเทศเป็นเป้าหมาย จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ความนิยม และการยอมรับในคนไทย ทำให้ประเทศและคนไทยมีเกียรติภูมิมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิไทย ก่อตั้งโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านการทูตสาธารณะ (Public Diplomacy) เพื่อสร้างความนิยมไทยในระดับประชาชนในต่างประเทศและในกลุ่มชาวต่างประเทศในประเทศไทย โดยการเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและของคนไทย พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างชาติกับคนไทยผ่านโครงการอบรมและโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ เพื่อสร้างมิตรภาพ ทัศนคติที่ดี ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่ความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป

คณะกรรมการมูลนิธิไทย เป็นผู้กำหนดนโยบาย ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธาน กรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงของกระทรวงต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนระดับสูงจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งภาคเอกชน โดยมีนายธฤต จรุงวัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูต เป็นเลขาธิการมูลนิธิไทย


ทั้งนี้ ผู้เขียนจะรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ soft power ของไทย อย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย เพื่อให้เห็นความคืบหน้าและพัฒนาประเทศด้วยองค์ความรู้

บทความและข่าวที่เกี่ยวข้อง
soft power ของไทย? ความหมาย ความจริงและความฝัน
Soft Power ของไทย ผลงานของใคร?
soft power ของไทย