ผู้บริโภคอาเซียนครองแชมป์ 'เปิดรับ' อนาคตขับเคลื่อนด้วย 'ดิจิทัล'

ผู้บริโภคอาเซียนครองแชมป์ 'เปิดรับ' อนาคตขับเคลื่อนด้วย 'ดิจิทัล'

ผลสำรวจของ VMware Digital Frontiers 4.0 สะท้อนว่า ในโลกที่เต็มไปด้วยความต้องการเทคโนโลยีมากขึ้น ผู้บริโภคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)เปิดรับอนาคตที่ขับเคลื่อนดิจิทัลมากที่สุด และต้องการประสบการณ์ดิจิทัลที่มากขึ้นและใช้ประโยชน์ของแอปพลิเคชันใหม่ๆ เช่น Metaverse

ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และการรวมข้อมูลทางดิจิทัลยังคงเป็นข้อกังวลหลักของผู้บริโภคทั่วโลก วีเอ็มแวร์ ผู้นำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เผยแพร่รายงานประจำปีเพื่อติดตามความเชื่อมั่นและความกังวลต่อประสบการณ์ดิจิทัลของผู้บริโภคทั่วโลก

การสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล Digital Gap ที่กว้างขึ้นระหว่างส่วนที่เข้าใจดิจิทัลกับส่วนที่อ่อนแอกว่าของสังคม และความคาดหวังของบทบาทของธุรกิจในการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้บริโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์จากพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสังคม

ผู้บริโภคอาเซียนครองแชมป์ \'เปิดรับ\' อนาคตขับเคลื่อนด้วย \'ดิจิทัล\'

“พอล ไซมอส” รองประธานและกรรมการผู้จัดการ VMware ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี กล่าวว่า ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ไม่ใช่แค่เกณฑ์ทางธุรกิจ แต่ได้กลายมาเป็นปรัชญาทางธุรกิจ องค์กรต้องเปิดใช้งานนวัตกรรมดิจิทัลเอง ขณะที่มอบความอิสระและสร้างความมั่นใจให้กับนักพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และควบคุมธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนการเติบโต

"เมื่อเราเข้าสู่ทศวรรษหน้าจากการได้เห็นนวัตกรรมที่กระทบในอุตสาหกรรมและประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการนำเสนอข้อเสนอดิจิทัลที่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ปลายทางที่ดำเนินงานได้ราบรื่นเช่นกัน”

ผู้บริโภคอาเซียนครองแชมป์ \'เปิดรับ\' อนาคตขับเคลื่อนด้วย \'ดิจิทัล\'

ทั้งนี้ ผลสำรวจ ระบุว่า ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 โดยมากกว่าสามในสี่ หรือ 76.2% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่า เทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าเป็นอุปสรรคต่อผู้คนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

นอกจากนี้ ผู้บริโภคในอาเซียน ยังเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดย 77% ของผู้บริโภคในอาเซียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบของการทำงานและไลฟ์สไตล์ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่เกาหลีและญี่ปุ่นอยู่ที่ 66.5% และ 48% ตามลำดับ

เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่ตื่นเต้นและพร้อมสำหรับดิจิทัลมากที่สุด รองลงมาคือผู้บริโภคส่วนที่เหลือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเปิดรับประสบการณ์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในชีวิต สิ่งนี้ทำให้ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ใช้ดิจิทัลในไลฟ์สไตล์อย่างก้าวกระโดด ทิ้งห่างจากผู้บริโภคในภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน

ความตื่นเต้นใช้ TechและMetaverse

ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังตื่นเต้นมากที่สุดที่จะเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดย 51% แสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับประสบการณ์เรื่องการใช้ “หุ่นยนต์” เพื่อการดูแลสุขภาพและจัดการเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ แซงหน้าคู่แข่งทั่วโลก โดยหนึ่งในสี่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะยอมให้ศัลยแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิทำการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ที่ควบคุมจากคอนโซล แทนที่จะทำด้วยตัวเอง

40% ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า Metaverse จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งมากกว่า 10% จาก (27%) ค่าเฉลี่ยโลก น่าแปลกที่ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (36%) ยังแสดงความกระตือรือร้นต่อการใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงทุกวันในการเข้าถึง Metaverse มากกว่าโลกจริง

เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเป็นข้อกังวลหลักสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ เช่น สิงคโปร์ รู้สึกว่าพวกเขาไม่รู้ว่าข้อมูลของพวกเขาถูกนำไปใช้อย่างไร และใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ มาเลเซีย กลัวการสูญเสียความเป็นส่วนตัวหรือถูกแฮก โดยองค์กรที่เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุด ด้านผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยมีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับการถูกองค์กรติดตามบนอุปกรณ์ส่วนตัว

ช่องว่างดิจิทัลกว้างขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็วยังสร้างความกังวลให้กับช่องว่างทางดิจิทัลที่กว้างขึ้น 67% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กังวลว่า ญาติผู้ใหญ่ของพวกเขาตามไม่ทันโลกดิจิทัลใหม่ โดยสิงคโปร์ และไทย กังวลมากที่สุด และญี่ปุ่นกังวลน้อยที่สุด

ส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยว่า ต้องปรับปรุงการเข้าถึงและสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ชนบทเพื่อสร้างสังคมดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซีย ตามด้วยฟิลิปปินส์ และไทย ในการปลดล็อกศักยภาพของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ รัฐบาลและองค์กรต่างๆ จะต้องวางกลยุทธ์ในความพยายามอย่างเท่าเทียมต่อชุมชนที่ด้อยโอกาสเพื่อนำ digital-first world มาสู่ความเป็นจริง