คลังสินค้าโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์ห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง!

คลังสินค้าโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์ห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง!

คลังสินค้าสำเร็จรูปโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์อุตสาหกรรมห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง! ท่ามกลางการบริโภคทั่วโลกที่ลดลง และความไม่แน่นอนที่ขยายเป็นวงกว้างช่วงครึ่งหลังปี 2566 ส่งผลกระทบธุรกิจโลจิสติกส์ และคลังสินค้าชะลอตัว

KEY

POINTS

  • ครึ่งหลังปี2566 ธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้าชะลอตัว
  • ไทยยังคงมีบทบาทในตลาดคลังสินค้าโดยเฉพาะโซนอีอีซี
  • ดีมานด์ห้องเย็น สินค้าอันตราย ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนพุ่ง 

คลังสินค้าสำเร็จรูปโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์อุตสาหกรรมห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง! ท่ามกลางการบริโภคทั่วโลกที่ลดลง และความไม่แน่นอนที่ขยายเป็นวงกว้างช่วงครึ่งหลังปี 2566 ส่งผลกระทบธุรกิจโลจิสติกส์ และคลังสินค้าชะลอตัว

ท่ามกลางการบริโภคทั่วโลกที่ลดลง และความไม่แน่นอนที่ขยายเป็นวงกว้างช่วงครึ่งหลังปี 2566 ส่งผลกระทบธุรกิจโลจิสติกส์ และคลังสินค้าชะลอตัว! สะท้อนจากอัตราการครอบครองลดลง การดูดซับติดลบ 31,800 ตร.ม. เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในรอบ 5 ปี ขณะที่พื้นที่ครอบครองอยู่ที่ 4.81 ล้าน ตร.ม.

 มาร์คัส เบอร์เทนชอว์  กรรมการบริหาร หัวหน้าฝ่าย Occupier Strategy & Solutions ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันอุปทานรวมของคลังสินค้าสำเร็จรูปแตะ 5.7 ล้าน ตร.ม. เพิ่มขึ้น 169,000 ตร.ม. เทียบครึ่งปีก่อน เพิ่มขึ้น 3.1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี และ 6.3% ปีต่อปี อุปทานใหม่ ได้แก่ คลังสินค้าเคอาร์ และอัลฟ่า แหลมฉบัง ชลบุรี, เฟรเซอร์ บางนา 2 ฉะเชิงเทรา, อีเอสอาร์ เอเชีย สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ และอัลฟ่า รังสิต-พหลโยธิน กม.33 ปทุมธานี

 อุปทานที่เพิ่มขึ้นมาจากการขยายโครงการที่มีอยู่ เช่น คลังสินค้าเคอาร์-บ่อวิน ชลบุรี และบิลด์เวลล์ ของอาร์บีเอฟ ปทุมธานี

การกระจายตัวของคลังสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 เขตหลัก ได้แก่ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (BMR) มีส่วนแบ่งตลาดมากสุด 45% ของอุปทานคลังสินค้าทั้งหมด 41% อยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ

คลังสินค้าโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์ห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง!

ขณะที่อุปทานเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 38% ของอุปทานคลังสินค้าโดยรวม โดยชลบุรีขึ้นนำ มีส่วนแบ่ง 25% ฉะเชิงเทรา 10% ส่วนเขตภาคกลาง อยุธยา เป็นศูนย์กลางการขนส่งภายในประเทศที่สำคัญคิดเป็น 13% ของพื้นที่คลังสินค้ารองลงมาคือปทุมธานี 4%


 

ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อุปทานทุกเขตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ให้เช่าสุทธิในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้น 1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี แตะ 2.52 ล้าน ตร.ม. เขตอีอีซี ขยายตัวมากสุดในครึ่งปีนี้ ที่ 4.4% แตะ 2.16 ล้าน ตร.ม. ส่วนเขตภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 3.8% ครึ่งปีต่อครึ่งปี รวมพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด 944,700 ตร.ม.

อุปทานรวมของพื้นที่ให้เช่าที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567 อยู่ที่ 413,900 ตร.ม. ประกอบด้วย 218,100 ตร.ม. ในครึ่งปีแรก และ 195,800 ตร.ม. ในครึ่งปีหลัง พื้นที่ในอนาคตคิดเป็น 7% ของอุปทานปัจจุบัน ประมาณ 70% ของอุปทานในอนาคตตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซี รองลงมา คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 25% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการโยกย้ายพื้นที่เช่ามายังอีอีซี  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการครอบครองในเขตอื่นๆ

“แม้จำนวนพื้นที่เช่าลดลงเล็กน้อย แต่ในบางอุตสาหกรรม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) และยานยนต์ ยังคงเป็นผู้เช่ารายสำคัญที่ต้องการคลังสินค้าสำเร็จรูปที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความคล่องตัวรวมทั้งการขยายตัวในอีคอมเมิร์ซ แม้ว่าความต้องการพื้นที่จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนช่วงโควิด”

ประเทศไทย มีบทบาทในตลาดคลังสินค้ามากที่สุด โดยได้แรงสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ ตามมาด้วยบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมของไทยมานาน อันดับสาม บริษัทจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศที่ส่งผลกระทบวงกว้าง

ผู้ประกอบการเริ่มหันมาขยายธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจคลังสินค้าแบบดั้งเดิมสู่บริการเฉพาะทาง เช่น ห้องเย็น คลังสินค้าอันตราย ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วน (EV) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต