เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ก. ทำตาม 9 ขั้นตอนง่ายๆ ครบจบ ทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ก. ทำตาม 9 ขั้นตอนง่ายๆ ครบจบ ทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์พาไปดูขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเรื่องง่ายขึ้นกันกับ 9 ขั้นตอนการเลือกตั้งทำอย่างไรให้ถูกต้อง บัตรไม่เสีย

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ที่จะถึงนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์พาไปดูขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเรื่องง่ายขึ้นกันกับ 9 ขั้นตอนการเลือกตั้งทำอย่างไรให้ถูกต้อง บัตรไม่เสีย และปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19 ไปดูกันเลย

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- เปิดชื่อคนดังการเมือง-บิ๊กข้าราชการ เข้าคูหาเลือกตั้งกทม. 22 พ.ค.65

- ไม่ไป "เลือกตั้งผู้ว่า กทม." อย่าลืม! แจ้งสาเหตุก่อน-หลัง 7 วัน ต้องทำอย่างไร

- ตรวจสอบผู้มีสิทธิ เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ที่นี่ ไม่มีชื่อ-ชื่อไม่ถูก เช็กเลย

 

ขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ประชาชนชาว กทม.เตรียมตัวให้พร้อม ตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพก่อนไปใช้สิทธิ ดูแลตัวเอง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตรวจ ATK ก่อนเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 

 

ขั้นตอนที่ 2 สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางไปใช้สิทธิ สวมหน้ากากฯตลอดเวลาที่อยู่ในกระบวนการการเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น

 

ขั้นตอนที่ 3 ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองโควิด-19 โดยตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าคูหาลงคะแนนเลือกตั้ง

 

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่ของตนเอง จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้งให้เรียบร้อย สามารถตรวจสอบได้ 2 วิธี

  • ตรวจสอบบัญชีรายชื่อหน้าสถานที่เลือกตั้ง หรือตรวจสอบผ่านหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • ตรวจสอบรายชื่อผ่านแอปฯ สมาร์ทโหวต (SMART VOTE) หรือเว็บไซต์ http://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/ (คลิกที่นี่)

 

ขั้นตอนที่ 5 ยื่นหลักฐานแสดงตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ ที่มีภาพถ่าย และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ


 

ขั้นตอนที่ 6 ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ และรับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ

 

ในกรณีที่ย้ายเขตที่อยู่ใหม่ จะได้รับบัตรเลือกตั้งที่เขตที่อยู่ใหม่เพียงใบเดียว คือ บัตรเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และจะต้องเดินทางไปยังเขตที่อยู่เดิมที่ได้ทำการเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

 

ขั้นตอนที่ 7 รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และหลักฐานการแสดงตัวตนคืนจากกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (บัตรสีน้ำตาล เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , บัตรสีชมพู เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร)

 

ขั้นตอนที่ 8 เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องให้เต็มช่อง โดยทำเครื่องหมาย ดังนี้

  • บัตรสีน้ำตาล เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกผู้สมัครได้ 1 คน เท่านั้น
  • บัตรสีชมพู เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สามารถเลือกผู้สมัครได้เขตละ 1 คน ในเขตของตนเท่านั้น
  • หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดให้กากบาทที่ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ให้เรียบร้อย

 

ขั้นตอนที่ 9 หย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบด้วยตนเอง โดยจะต้องสังเกตหีบบัตร และหย่อนให้ถูกประเภทด้วย

 

 

CR : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์