เปิดใจ 'ทันตแพทย์' อาสา ฉีดวัคซีนโควิด-19

เปิดใจ 'ทันตแพทย์' อาสา ฉีดวัคซีนโควิด-19

ด้วยจำนวนของผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ 'บุคลากรทางการแพทย์'ต้องทำงานอย่างหนัก ทีม 'หมอฟัน' จึงได้ร่วมกลุ่มกันเพื่อทำ 'งานอาสา'

การเป็น ‘หมออาสา’ ในสถานการณ์โควิด 19 ในระยะเวลา 1 เดือน ทำให้ หมอมิยู-ทพญ.ชรินญา กาญจนเสวี ทันตแพทย์ประจำ โรงพยาบาลเจ้าพระยา วัย 31 ปี หนึ่งในสมาชิก‘หมออาสา’ทันตแพทย์ กลุ่มของทันตแพทย์ที่รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือดูแล 'ผู้ป่วยโควิด 19' รวมถึงการลงพื้นที่คัดกรอง 'ผู้ป่วยโควิด 19' เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ และพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์

ได้เห็นมุมมองการทำงานได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มา 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' แต่มีความกังวล และคนที่เตรียมพร้อมมาดี ขณะที่สิ่งที่เห็นชัดเจน คือคนไทยอยากฉีดวัคซีนจำนวนมาก และมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด 19 มากมาย

  • 'หมออาสา' ช่วยเหลือ'ผู้ป่วยโควิด 19'แบ่งเบาภาระงาน

'บุคลากรทางการแพทย์' หรือที่ใครๆ เรียกว่าด่านหน้านั้น ดูจะเป็นกลุ่มที่รับบทหนัก เหน็ดเหนื่อย และแบกภาระมากที่สุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยิ่งการระบาดในระลอก 3 ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ วันละ 2,000 กว่าคน บางวันขึ้นไปถึง 3,000-4,000 คน ส่งผลให้'บุคลากรทางการแพทย์' ต้องทำงานมากขึ้น อีกทั้ง'บุคลากรทางการแพทย์' บางกลุ่มยังติดเชื้อโควิด 19 ทำให้ต้องหยุดกักตัว 14 วัน หยุดพักงาน ด้วย จำนวน'บุคลากรทางการแพทย์' ที่มีจำนวนจำกัดอยู่แล้วส่งผลให้น้อยเข้าไปอีก

162416176782

หมอมิยู เล่าวว่า การมาเป็น ‘หมออาสา’เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ หมอมิยู อยากทำ และมีความสุขที่จะได้ทำ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้งานของ ทันตแพทย์ ลดลงอย่างชัดเจน เพราะไม่สามารถทำงานบริการทันตกรรมที่มีละอองฟุ้งกระจาย คือ ต้องมีการกรอฟันจนเกิดละอองน้ำในระหว่างการรักษา เช่น การขูดหินปูน หรือการรักษาฟันต่างๆ เมื่อเวลางานประจำลดน้อยลง

  • ลงพื้นที่ตรวจโควิด ควบคู่ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19'ให้ประชาชน

ในขณะที่ หมอมิยู สามารถฉีดยาได้ และทำการตรวจโควิดแบบแหย่จมูก (แบบ Swab หรือ PCR) ได้ จึงสมัครเป็น‘หมออาสา’ ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์

จนกระทั่งมีรุ่นพี่ทันตแพทย์ ศิริราชพยาบาล ได้รับแจ้งว่าขาดทีมตรวจโควิดแบบแหย่จมูกเนื่องจากบางคนต้องตรวจ Swab ผู้ป่วยที่เข้ามาในแต่ละโรงพยาบาล และบางคนต้องลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อคัดกรองผู้ป่วยอีกด้วย 'ทีมทันตแพทย์อาสา' จึงเกิดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโควิด -19 

162416179249

ปัจจุบัน หมอมิยู ลงพื้นที่ชุมชน ไซต์งาน ไซต์ก่อสร้าง เพื่อตรวจโควิด 19 ควบคู่กับการเป็นหมอ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19'โดยจะประจำที่ศูนย์ฉีดวัคซีนแถวลาดพร้าว และศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ

       

  • กทม.มีผู้ป่วยรายใหม่มาก คาดมีพื้นที่แออัดมาก

“มาเป็นหมออาสาเมื่อการระบาดโควิดระลอก 3 ซึ่งมีป่วยโควิดรายใหม่จำนวนมาก และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าคัดกรองผู้ป่วย ให้บริการตรวจโควิด 19 มีจำนวนจำกัด หมอและพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หมอทันตแพทย์ด้วยกัน จึงร่วมกลุ่มและเป็นหมออาสาสมัครในการลงพื้นที่ตรวจต่างๆ จากการลงพื้นที่ ทำให้เห็นว่าการระบาดโควิดระลอก 3 โดยเฉพาะในกทม. ที่มีผู้ป่วยรายใหม่จำนวนมาก” หมอมิยู กล่าว

พื้นที่กทม.มีพื้นที่แออัดมาก ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนแออัด หรือไซต์งาน ไซต์ก่อสร้างต่างๆ ซึ่งบางไซต์งานเป็นพื้นที่เล็กแต่กลับมีพนักงาน มีแรงงานมากกว่า 2,600 คน และพบผู้ป่วยโควิด 30% นั่นคือ เดินมา 100 คน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 30 คน เพราะการใช้ชีวิตแม้ว่าทุกคนใส่หน้ากากอนามัย มีการจัดแบ่งโซนคนงาน แต่ด้วยความแออัดการแพร่ระบาดจากคนใกล้ชิดเกิดขึ้นได้ง่าย

162416181613

การมาเป็น‘หมออาสา’ทำให้เห็นภาพของ 'บุคลากรทางการแพทย์' ที่ต้องทำงานอย่างหนัก 

  • ชวน'บุคลากรทางการแพทย์'มาร่วมเป็น'หมออาสา'

หมอมิยู บอกว่า อยากให้หมอและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ช่วงนี้มีงานประจำน้อย ให้มาเป็น‘หมออาสา’สมัครช่วย 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' เพราะเชื่อว่าหากมีวัคซีนเข้ามา มีประชาชนจำนวนมากที่ต้องการ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' และหาก'ฉีดวัคซีนโควิด 19' ไม่เป็นมีแพทย์ และพยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญพร้อมสอนให้ เพื่อช่วยลดภาระของทีมแพทย์ พยาบาล และช่วยป้องกันโควิด 19 

"ขณะเดียวกันอยากให้ประชาชนทุกคน'ฉีดวัคซีนโควิด 19' เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค และความรุนแรงของโรคที่ทุกคนจะได้รับ  เพราะการฉีดวัคซีน เป็นทางออก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ในการการหยุดการแพร่ระบาดโควิด 19 ได้ "หมอมิยู กล่าว

162416183235

อย่างไรก็ตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ'วัคซีนโควิด 19' เป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การฉีดวัคซีนจะมีผลข้างเคียง แต่ 'วัคซีนโควิด 19' ทั้ง ซิโนแวค 'Sinovac' และแอสตร้าเซนเนก้า'AstraZeneca' เป็นวัคซีนใหม่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน อาจทำให้ไม่แน่ชัดของผลข้างเคียงที่ทุกคนจะได้รับ

  • ย้ำหลัง'ฉีดวัคซีนโควิด 19'ทุกคนต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรค

อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีด 'AstraZeneca' หรือ 'Sinovac' อย่างมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ท้องเสีย หรือง่วง อาการเหล่านี้จะที่ไม่รุนแรง แต่หากมีไข้ติดต่อกันเกิน 2 วัน มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออก อาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้กับทุกคน หลัง'ฉีดวัคซีนโควิด 19' ขอให้ทุกคน รวมถึงคนใกล้ชิดต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด 

162416185293

"ส่วนการเตรียมพร้อม'ฉีดวัคซีนโควิด 19' นั้น ไม่อยากให้ทุกคนกังวลมากเกินไป และใช้ชีวิตอย่างไรให้ใช้ชีวิตปกติ ยกเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ ควรงดดื่ม ส่วนกาแฟ ยาต่างๆที่ทานเป็นประจำยังคงสามารถทานได้ รวมถึงการออกกำลังกายไม่ควรหักโหมในการออกกำลังกาย และที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดังนั้น การ'ฉีดวัคซีนโควิด 19' ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เป็นผู้ป่วยโควิดน่ากลัวมากกว่า” หมอมิยู กล่าว

 นอกจากการ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' แล้ว  ประชาชนทุกคนควรปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ไม่ว่าจะเป็น การสวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า การล้างมือบ่อยๆ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด ซึ่งถ้าทุกคน'ฉีดวัคซีนโควิด 19' และปฎิบัติดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เชื่อว่าไม่ช้านานประเทศไทยจะกลับมาใช้ชีวิตได้ดั่งเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เปิด 7 วัคซีน 'เกาหลีใต้' ไฟเขียว ต่างชาติฉีดแล้ว มาได้ ไม่กักตัว

                      ค้นหาคำตอบ 'วัคซีนโควิด'ชนิดไหน? ป้องกัน'สายพันธุ์เดลต้า' ได้

                     เปิดแผนกระจายวัคซีนโควิด-19 เดือนมิถุนายน