"ฝีดาษลิง" เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อ เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต ฝีดาษลิงในไทย

"ฝีดาษลิง" เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อ เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต ฝีดาษลิงในไทย

"ฝีดาษลิง" กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อจากทั่วโลก จากข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค.2565 เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต "ฝีดาษลิงในไทย"

(31 พ.ค.2565) อัปเดตโรค "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุดมีการยืนยันว่ายังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทย เช็ก 4 อาการที่พบมากที่สุด ขณะที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค.2565 พบผู้ป่วยจากทั่วโลกรวมแล้ว 494 ราย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "ฝีดาษลิงในไทย" ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย 12 ราย

- "ฝีดาษลิง" เทียบการติดต่อกับโควิด-19 คนทั่วไปควรฉีดวัคซีนหรือยัง?

- "ฝีดาษลิง" คนเกิดหลังปี 2523 เสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆจริงหรือไม่ มีคำตอบ

 

สำหรับโรค "ฝีดาษลิง" (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค.2565) เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ขณะนี้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางจากต่างประเทศ ที่พบผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด ส่วนสถานการณ์ "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุดยังไม่พบผู้ป่วยยืนยันแต่อย่างใด

 

ส่วนสถานการณ์โรค "ฝีดาษลิง" ทั่วโลกล่าสุดพบรายงานผู้ป่วยทั่วโลก 494 ราย โดยการระบาดยังคงเป็นการติดต่อจากคนสู่คน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชายและกลุ่ม MSM 

 

4 อาการที่พบมากที่สุดมี ดังนี้

1.ผื่น ตุ่ม หนอง 99% แบ่งเป็น อวัยวะเพศ 38% , ปาก 18% และ ทวารหนัก 1% 

2.ไข้ 28%

3.ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ปวดกล้ามเนื้อ 1% 

4.อาการอื่นๆ

 

\"ฝีดาษลิง\" เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อ เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต ฝีดาษลิงในไทย

 

\"ฝีดาษลิง\" เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อ เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต ฝีดาษลิงในไทย

 

 

 

 

โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae พบได้ในสัตว์หลายชนิด ไม่ใช่แค่ลิง ซึ่งยังพบได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก หนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก 

 

การติดต่อจากสัตว์สู่คน 

  • สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง
  • ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน
  • กินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ

 

การติดต่อจากคนสู่คน

  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางสารคัดหลั่งทางเดินหายใจจากผิวหนังที่เป็นตุ่ม 
  • มีอาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคเองได้