ดราม่า "วัดใหม่พรหมพิราม" เปิดข้อกฎหมาย หมอปลา บุกวัดมีความผิดหรือไม่?

ดราม่า "วัดใหม่พรหมพิราม" เปิดข้อกฎหมาย หมอปลา บุกวัดมีความผิดหรือไม่?

จากประเด็นดราม่า "วัดใหม่พรหมพิราม" จ.พิษณุโลก ทนายเปิดข้อกฎหมาย หมอปลา บุกวัดมีความผิดหรือไม่ หรือเป็นความผิดฐานบุกรุกหรือไม่ เพียงใด?

ทนายพัฒน์ เปิดข้อกฎหมายจากประเด็นเรื่องที่ หมอปลา เดินทางไปที่ "วัดใหม่พรหมพิราม" จ.พิษณุโลก หลังเกิดประเด็นดราม่าจากการที่มีการขึ้นป้ายต่อต้าน หมอปลา ห้ามเข้าวัดจนกลายเป็นเรื่องโด่งดังในโลกโซเชียล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "หมอปลา" นำทีมบุก วัดใหม่พรหมพิราม ติดป้ายต้าน เจ้าอาวาสเสียงอ่อยขอ 3 วันสึก

 

ซึ่งเมื่อวานนี้ (5 พ.ค.2565) หมอปลา เดินทางไปที่ "วัดใหม่พรหมพิราม" จ.พิษณุโลก ได้เข้าพบกับพระครูธีรศาส กิตจาทร เจ้าอาวาส "วัดใหม่พรหมพิราม" และได้ตั้งโต๊ะพูดคุยกัน

 

จนกระทั่งทางเจ้าอาวาส "วัดใหม่พรหมพิราม" ก็ได้มีการยอมรับว่าเป็นคนสั่งทำป้ายมาติดจริง นอกจากนี้ยังยอมรับว่าเคยดื่มเหล้า ฉันหมูกระทะโดยมีการโทรสั่งมาฉันและเลี้ยงพระลูกวัดภายในวัดจริง ซึ่งเจ้าอาวาสก็ได้ขอเวลาตัดสินใจ 3 วันเพื่อรอทำการไต่สวนลงมติจากคณะสงฆ์และสำนักพุทธ เรื่องนี้ทางคณะสงฆ์จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องดังกล่าวต่อไปนั้น

 

ดราม่า \"วัดใหม่พรหมพิราม\" เปิดข้อกฎหมาย หมอปลา บุกวัดมีความผิดหรือไม่?

 

ประเด็นหมอปลาบุกวัดผิดไหม หรือเป็นความผิดฐานบุกรุกหรือไม่ เพียงใด?

 

เรื่องนี้ ทนายพัฒน์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเปิดข้อกฎหมายดังกล่าวโดยระบุว่า “วัด” ถือว่า เป็นสาธารณสถาน (สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ มาตรา 1(3) ประมวลกฎหมายอาญา) ที่บุคคลโดยทั่วไปสามารถเข้าไปได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาตผู้ใด

 

กุฏิ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" ดังนั้น กุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น จึงเป็น "เคหสถาน" ตามนัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(4) บุคคลอื่นเข้าไปไม่ได้ต้องได้รับอนุญาตก่อน (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536

 

 

ดังนั้น เมื่อวัดเป็นสาธารณสถาน การเข้าไปของหมอ ป. จึงน่าจะไม่ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 8 ความผิดฐานบุกรุก และการเข้าไปของหมอ ป. ก็ไม่ได้มีเจตนาชั่วร้ายแอบแฝง จึงไม่น่าจะมีความผิด

 

ประเด็นว่าผิดกฎหมายกับควรไม่ควร(มีมารยาท) หรือไม่ ต้องแยกออกจากกัน ทั้งนี้ ทุกอย่างอยู่ที่ศาลเป็นผู้ตัดสินว่าใครผิดหรือถูกเท่านั้น

 

CR เฟซบุ๊ก ทนายพัฒน์ ปรึกษาฟรี.0878133012