“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

ฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ เฉดสีพาสเทลมากขนาดนี้ (60 เฉดสี) ค่อนข้างหายาก เพราะใช้ทั้งเวลาและความพิถีพิถัน นี่คือผลิตภัณฑ์แบรนด์ Jutatip อีกงานคราฟท์ที่ได้รับรางวัลจากญี่ปุ่น ปี 2021

ถ้าได้เห็นกระบวนการตั้งแต่เก็บดอกฝ้ายมาย้อมใบไม้ ใบคราม และทอผ้าจากกี่มือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวอีสาน นำมาผสมผสานกับประสบการณ์การทำงานย้อมผ้าของ จุฑาทิพ ไชยสุระ เจ้าของแบรนด์ Jutatip ที่สามารถย้อมฝ้ายได้ถึง  60 เฉดสี

นั่นหมายถึงต้องพิถีพิถัน ละเอียด และเฝ้าสังเกตธรรมชาติ...

ในแต่ละฤดูกาล ร้อน แล้ง ฝน ใบไม้ชนิดเดียวกันจะให้สีไม่เหมือนกัน เธอเฝ้าดู จนรู้ว่า สีขาวได้มาจากสีธรรมชาติจากฝ้าย ,สีครีมได้มาจากการย้อมแก่นฝาง 1 รอบ, สีน้ำตาลอ่อน ได้มาจากการย้อมด้วยเปลือกประดู่ 3 รอบ ,สีเขียวอ่อนได้มาจากการย้อมใบสมอ แล้วซ้ำด้วยคราม 1 รอบ และสีน้ำเงินได้มาจากการย้อมด้วยคราม 5 รอบ ฯลฯ

เพราะความใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Jutatip ได้รางวัล Good Design Award จากญี่ปุ่น เมื่อปี 2021

รางวัลที่ไม่ได้มองแค่ความสวยงาม แต่นักออกแบบเห็นว่า สีของฝ้ายที่เธอนำมาย้อมครามและใบไม้แต่ละฤดูกาล เธอสามารถผสมสีได้อย่างสวยงามกว่า 60 เฉดสี

“ต้นไม้ต้นเดียวกันในฤดูฝนและฤดูร้อน ก็ให้สีไม่เหมือนกัน "จุฑาทิพ เล่า เพราะเวลาผู้บริโภคคนไทยถามราคา มักจะบอกว่า ผลิตภัณฑ์ของเธอราคาแพง

ถ้าได้เห็นกระบวนการ ก็จะรู้ว่า ไม่ได้ทำง่ายๆ มีขั้นตอนรายละเอียดมากมาย

“ไม่ว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา ที่นาริตะ โตเกียว งานบ้านและสวน ไอคอนสยาม หรือซื้อที่บ้านในจังหวัดขอนแก่น เราขายราคาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าซื้อที่บ้านราคาถูกกว่า ถ้าเราขายถูกกว่า ในห้างสรรพสินค้าก็จะไม่ได้ขาย”

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

เริ่มจากไม่อยากให้คนทอผ้าหายไป

ก่อนจะมาทำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายสีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip เธอคนนี้เป็นเจ้าของร้านและทำจิวเวลรี่ ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ เมื่อแต่งงานย้ายไปอยู่ขอนแก่น เธอจึงมีอาชีพที่สอง

 “ตอนไปเที่ยวชุมชนเห็นว่า งานหัตถกรรมกำลังจะสูญหาย แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง คนขอนแก่นทอผ้าไหมเก่งมาก ผ้ามัดหมี่มีชื่อเสียงระดับโลก

ฝ้ายเข็นมือก็เหลือไม่กี่ชุมชน คนอีสานจะปั่นดอกฝ้ายให้เป็นเส้นๆ ด้วยมือ สิบปีที่แล้วมีไม่กี่หมู่บ้านที่ทำฝ้ายเข็นมือได้ เราก็อยากรื้อฟื้น

กระทั่งมีโอกาสเข้าโครงการเดินทางไปญี่ปุ่น จึงรู้ว่าฝ้ายตัวนี้ คนญี่ปุ่นชอบมาก แต่ตอนนั้นยังไม่มีช่องทางในชุมชน ก็เลยคิดว่าต่อไปจะทำแบรนด์  ใช้เวลา 5 ปีเปิดตลาดในญี่ปุ่นและทำงานกับชุมชนในอีสาน "

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

Jutatip กับเฉดสีที่ไม่ค่อยมีคนทำ

ก่อนหน้านี้กลุ่มแม่บ้านทอมือฝ้ายที่เธอเข้าไปสนับสนุนและรับซื้อผ้าในอีสาน ทำแค่เฉดสีหลักคือ น้ำตาล เหลือง ชมพู และน้ำเงิน ไม่ค่อยยอมทำเฉดสีพาสเทล 

“เมื่อเรียนรู้มาจากชุมชนแล้ว เราก็ลองผสมสีธรรมชาติตามสูตรของเราเอง ทำจนดีไซเนอร์แต่ละโครงการ การันตีว่า แบรนด์ Jutatip ทำได้มากเฉดสี

แรกๆ ก็ลำบากในการสื่อสารกับแม่บ้านในชุมชน เราจึงซื้อกี่เล็กๆ ญี่ปุ่นมาทอผ้าลายที่อยากได้ แล้วทำต้นแบบให้ดู เราบันทึกข้อมูลว่า ถ้าจะทำสีจากต้นครามแบบไหน ต้องใส่ใบไม้ชนิดไหน สีเหลืองอมเขียว ใช้ใบมะม่วงผสมคราม 

นอกจากทำผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายรูปแบบต่างๆ เธอยังนำฝ้ายที่เกิดจากการทดลอง และไม่ได้ใช้แล้วมาปั่นเป็นม้วนๆ ขาย และเป็นสินค้าขายดีอันดับแรกๆ ”

หลายอย่างเธอเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นและคนทอผ้าในอีสาน โดยทำงานร่วมกับ 6 จังหวัดในภาคอีสาน ฟื้นการทอผ้าย้อมคราม ย้อมใบไม้ ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอีสานและญี่ปุ่น อาศัยว่าเคยร่วมงานกับนักออกแบบระดับประเทศ และเซนเซชาวญี่ปุ่น จึงสามารถสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้ 

“จากที่กี่ทอผ้าเคยถูกทิ้งร้าง บางบ้านเอาไปทำฟืน เราชวนให้ซ่อมกี่ทอผ้ากลับมาใช้ใหม่ ตอนนี้มีช่างทอผ้า 20-30 คน พอทอเสร็จก็นำผ้าม้วนๆ มาให้เรา แล้วเรานำไปให้นักออกแบบดีไซน์ออกมา”

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก การเดินทางไปดูงานในญี่ปุ่นหลายครั้ง จุฑาทิพ บอกว่า พื้นที่ทำงานของคนญี่ปุ่นที่เรียกว่าโรงงาน เล็กกว่าบ้านจัดสรรของเรา ก็นำแนวคิดนี้มาใช้ เอาพื้นที่ข้างบ้าน กว้าง 4 เมตรยาว 12 เมตรมาทำโรงย้อมคราม

"เราไม่ใช้นโยบายขายของได้ก่อน ค่อยเอาเงินให้ชุมชน เมื่อแม่ๆ เอางานมาส่ง เราจ่ายเงินให้เลย”

นอกจากนี้ จุฑาทิพ ยังมีไอเดียใหม่ๆ คิดลวดลายจากเศษฝ้ายเหลือใช้ตามกี่ทอผ้า และเส้นฝ้ายที่ช่างทอผ้าค้างไว้ในอักทอผ้า เธอให้ช่างทอใช้วิธีสอดเส้นฝ้ายแบบยาวบ้าง สั้นบ้าง ทอห่างๆ ทอถี่ๆ บ้าง จนเกิดลายผ้าที่เรียกว่า “หนอนหนวด”

การทอผ้าลายหนอนหนวด มาจากการตัดเศษฝ้าย คนทอต้องสอดเส้นฝ้ายเพื่อทอ ซึ่งทอได้วันละประมาณ 60 เซนติเมตร

“ฝ้ายทอมือ”สีธรรมชาติแบรนด์ Jutatip  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นแล้วจะหลงรัก

เหมือนเช่นที่กล่าว ทำไมผลิตภัณฑ์แบรนด์นี้ ราคาสูง ...

เธอยกตัวอย่างว่า กว่าจะได้หมวกเส้นฝ้ายเข็นมือสักใบ ต้องเด็ดดอกฝ้ายมาทำให้เป็นเส้นด้ายเล็กๆด้วยมือ ใช้เวลาเป็นวันๆ ทำได้ไม่ถึงหนึ่งกิโลกรัม แล้วถึงนำเส้นฝ้ายมาทำความสะอาดเพื่อย้อมสี

“การย้อมสีที่สกัดออกมาจากธรรมชาติต้องใจเย็นและอดทน หมวกใบนี้สกัดสีจากธรรมชาติทั้งหมด 7 สี

และผลิตภัณฑ์หลายชิ้นผ่านการทอด้วยกี่โบราณ เทคนิคสองตะกรอ เนื่องจากเส้นยืนเป็นฝ้ายเข็นมือ เวลาขึ้นกี่ทอผ้าจะทำให้ขาดง่าย จึงนำเส้นฝ้ายมาชุบน้ำข้าวก่อน เพื่อให้เส้นเหนียวขึ้น ช่างทองานฝ้ายเข็นหายาก เพราะคนทอต้องมีความอดทนกับเส้นยืนที่ขาดบ่อยๆ"

...................

หากใครอยากรู้ว่า การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติแบบจุฑาทิพ ยากแค่ไหน ลองไปเวิร์คชอปได้ ดูรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ค  JUTATIP