อัปเดต Soft Power ภาพยนตร์ไทย ผู้กำกับฯคนไทยบนเวทีโลก

อัปเดต Soft Power ภาพยนตร์ไทย ผู้กำกับฯคนไทยบนเวทีโลก

อัปเดตความเคลื่อนไหว Soft Power ของไทย ภาพยนตร์ไทย ผู้กำกับฯคนไทยบนเวทีโลก กรณี “ฝน วีระสุนทร” ชาวไทยคนแรกที่ได้เป็นผู้กำกับร่วมในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง “Wish” ของ Walt Disney Animation Studios สตูดิโอชื่อดังแห่งฮอลลีวูด

ความชื่นชมยินดีของ "คอภาพยนตร์" กรณีศิลปินชาวไทย อย่าง “ฝน วีระสุนทร” ผู้กำกับร่วมในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง “Wish” ของ Walt Disney Animation Studios สตูดิโอชื่อดังแห่งฮอลลีวูด ซึ่งหลายฝ่ายมองเป็น  Soft Power (ซอฟท์เพาเวอร์)ของไทย

รัฐบาลไทยชื่นชมและแสดงความยินดีกับ “ฝน วีระสุนทร” ถือเป็นผู้ที่ร่วมสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในวงการภาพยนตร์ระดับโลก ซึ่งเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ในงาน D23 Expo 2022 ดิสนีย์ได้ประกาศโปรเจ็กต์ เรื่อง “Wish” ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปีของสตูดิโอ และมีชื่อชาวไทย “ฝน วีระสุนทร” เป็นผู้กำกับร่วมภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์เป็นครั้งแรก ร่วมกับ คริส บัค (Chris Buck) ผู้กำกับชื่อดังชาวอเมริกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาพยนตร์แอนิเมชัน Wish มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ต่อมา เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ทางเพจเฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (U.S. Embassy Bangkok) ได้โพสข้อความแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าว โดยระบุว่า ฝน วีระสุนทร เป็นศิลปินชาวไทยคนแรกที่จะเป็นผู้กำกับร่วมในภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์ พร้อมทั้งได้ชื่นชมในความสามารถอันโดดเด่น

อัปเดต Soft Power ภาพยนตร์ไทย ผู้กำกับฯคนไทยบนเวทีโลก

 

“ฝน วีระสุนทร” มีผลงานโดดเด่นมากมายในฐานะ Story Artist ให้กับแอนิเมชันของดิสนีย์หลายเรื่อง ได้แก่ Zootopia (2016), Ralph Breaks the Internet (2018), Frozen (2013), และ Moana (2016) รวมทั้งทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายเรื่องราวและทีมนักวาดเรื่องราว (Head of Story) ใน Raya and the Last Dragon (2021)

“รัฐบาลชื่นชมในศักยภาพของศิลปินไทย ที่มีความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวไทยทั้งประเทศ รวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในวงการภาพยนตร์ระดับโลก รัฐบาลพร้อมสนับสนุนและผลักดันชาวไทยให้มีโอกาสไปร่วมสร้างผลงานและชื่อเสียงในระดับโลกมากขึ้น” อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (www.thaigov.go.th , 2565) 

ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ งานเสวนาด้านภาพยนตร์ (Thailand Film Seminar 2022) และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านภาพยนตร์ (Film Workshop) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (Motion Picture Association,MPA) สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดขึ้น

ใช้เป็นแลกเปลี่ยนความรู้ในด้าน อุตสาหกรรมภาพยนตร์สร้างสรรค์ของไทยที่จะไปแข่งขันบนเวทีโลก สอดแทรกเรื่องราวความเป็นไทย หรือใช้ soft power ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย

อุตสาหกรรมหลักและครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมคอนเทนต์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา แอนิเมชัน เกม ดนตรี ดิจิทัลคอนเทนต์ฯ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ของรัฐบาล เพื่อสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค ผ่านการแทรกซึมทางความคิดและวัฒนธรรม โดยสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ได้ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , กรุงเทพธุรกิจ , 2565) 
 

- อัปเดตซอฟท์เพาเวอร์

 

ในรายงานจาก Frontier Economics แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์กำลังกลายเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย การใช้คอนเทนต์มาเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ สร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศ นำมาสู่การท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ การมีช่องทางการเผยแพร่คอนเทนต์ที่หลากหลายเพื่อแสดงผลงานสร้างสรรค์และวัฒนธรรมที่ดีที่สุดของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างที่ดีของไทยในการใช้ Soft Power” (กรุงเทพธุรกิจ , 2565) 

สำหรับผู้เขียนเอง แสดงความยินดีและชื่นชมคุณฝน วีระสุนทร ที่เหมือนประกาศศักยภาพฝีมือคนไทย ในการกำกับภาพยนตร์ระดับโลก แม้ว่าคุณฝนอาจไม่ใช่คนแรกของผู้กำกับคนไทยที่สร้างชื่อให้ประเทศ เนื่องก่อนหน้านี้ ชื่อของคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล กับภาพยนตร์เรื่องล่าสุด อย่าง Memoria ไปเฉิดฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2021

แน่นอนว่า Soft Power ของไทยเกี่ยวกับภาพยนตร์ มีการจัดงานเสวนาและอบรมเกี่ยวกับการทำหนังอยู่เป็นระยะ แต่ยังไม่เห็นเกี่ยวกับการผลักดันให้ผู้กำกับภาพยนตร์คนไทยที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับ ได้แรงสนับสนุนแหล่งทุนและปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างภาพยนตร์แบบบิ๊กโปรเจกต์ เพื่อเป็นการสร้าง Soft Power ของไทยครั้งใหม่ ส่งออกไปตลาดภาพยนตร์โลก

อาจจะมีภาคเอกชนค่ายภาพยนตร์ของไทย วางแผนทำอยู่หรือไม่ก็ดี แต่รัฐบาลต้องออกโรงแอ็กชันให้คนในวงการภาพยนตร์ได้เล็งเห็นโอกาสทั้งการสร้างภาพยนตร์ทางเลือก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่งบสร้างระดับร้อยล้าน เพื่อกระตุ้นให้คนมีฝีมือในวงการภาพยนตร์ได้คิดและวางแผนสร้าง Soft Power ของไทยในภาพยนตร์ฟอร์มมาตรฐาน

มิอาจรอได้อีกต่อไปที่จะให้ภาคเอกชนฝ่ายเดียว สร้างภาพยนตร์ฟอร์มมาตรฐานงานคุณภาพ ผสมเนื้อหาให้เกิดเป็น Soft Power ของไทย ซึ่งรัฐบาลรุกสร้างผลงานให้เห็นเสียที.

....
- รวบรวม รายงานและทัศนะเกี่ยวกับ Soft Power โดย นิติราษฎร์ บุญโย