"Latte Factor" แนวคิดเปลี่ยนค่าใช้จ่าย "ฟุ่มเฟือย" เล็กๆ น้อยๆ สู่ความ "รวย"

"Latte Factor" แนวคิดเปลี่ยนค่าใช้จ่าย "ฟุ่มเฟือย" เล็กๆ น้อยๆ สู่ความ "รวย"

ทำความรู้จัก "Latte Factor" แนวคิดตามหารายได้ที่หายไปจากของฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวัน ที่ไม่ใช่แค่ "กาแฟ" วิธีบริหารเงินที่ทำให้คนธรรมดา มีโอกาส "รวย" ได้เพราะค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่เคยมองข้าม

"ไม่ได้อยากรวย อยากกินกาแฟ" 
"ไม่กินกาแฟ ก็ไม่เห็นจะรวยเลย"

ประโยคที่ตอบกลับแทบจะทันที เมื่อพูดถึง "Latte Factor" ที่มักจะกล่าวถึงการนำ "เงินค่ากาแฟ" มาลงทุนสร้างผลตอบแทน

แม้จะไม่ผิดสักนิดที่เราอยากใช้เงินที่หามาได้เพื่อสร้างความสุขได้ตัวเองที่ทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อย และการจิบกาแฟรสละมุนก็เป็นหนึ่งในความสุขที่ช่วยเติมเต็มชีวิตให้หาเหนื่อยได้ไม่น้อย แต่หากเงินส่วนนั้นมากเกินจำเป็นการแบ่งมาลงทุนสร้างผลตอบแทนได้ก็จะดีไม่น้อยเหมือนกัน...

ทว่า แนวคิดของ Latte Factor ไม่ได้บอกว่า "เลิกดื่มกาแฟแล้วจะรวย" แต่กำลังสื่อสารว่ารายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันแม้แต่เงินเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจ่ายประจำสามารถนำมาสร้างอิสรภาพทางการเงินให้ตัวเองได้

  •  กาแฟไม่ใช่ผู้ร้ายทางการเงิน 

แนวคิด Latte Factor มาจาก "เดวิด บาร์ค" (David Bach) เจ้าของหนังสือชื่อ "The Automatic Billionaire" ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการพูดคุยระหว่าง ผู้หญิงหนึ่งที่ถามเขาว่า ทำอย่างไรถึงจะมีเงินมาลงทุนในช่วงที่ยังรายได้ยังน้อย

บาร์คให้เธอเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตของเธอในแต่ละวันว่าเธอใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง สิ่งที่บาร์คเห็นช่องโหว่ คือ "ค่ากาแฟ" ในแต่ละวัน ที่หากมานั่งคิดจริงจังแล้วเงินเหล่านี้นี่แหละ ที่สามารถแบ่งงานลงทุนได้ บาร์ค จึงยก "Latte" (ลาเต้) ขึ้นมาเป็นตัวแทนของรายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ในชีวิตของคนเรา

เพราะสำหรับบางคนเงินที่ละลายหายไปในแต่ละเดือนอาจไม่ใช่ค่ากาแฟ แต่เป็นรายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าสตรีมมิงรายเดือนแทบทุกเจ้าที่ไม่เคยดูครบ, ค่าชานมไข่มุกวันละหลายแก้ว, ค่าเบียร์และปาร์ตี้หลังเลิกงาน, ค่าบุฟเฟ่ต์ทุกสัปดาห์, ค่าบุหรี่ในทุกๆ วัน ฯลฯ 

\"Latte Factor\" แนวคิดเปลี่ยนค่าใช้จ่าย \"ฟุ่มเฟือย\" เล็กๆ น้อยๆ สู่ความ \"รวย\"

อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า เงินที่ใช้เติมเต็มความสุขเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต้องหักดิบงดจนกระทบต่อจิตใจ โดย บาร์ค ได้เสนอแนวทางที่เรียกว่า "Latte Day" เป็นการปรับพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงจาก "รายจ่ายเป็นประจำ" ให้เหลือแค่ "โอกาสพิเศษ" (ที่ตั้งขึ้นมาเอง) เช่น จากเคยดื่มกาแฟแก้วละ 100 บาท ทุกๆ เช้า ก็เปลี่ยนเป็น สัปดาห์ละครั้ง หรือ สองวันครั้ง เป็นต้น 

  •  เงินเล็กๆ น้อยๆ จะงอกเงยได้อย่างไร ? 

ปัจจุบันเทคโนโลยีอำนวยให้เราสามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนน้อยๆ แล้ว แถมยังสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการลงทุนได้แบบไม่ต้องมีต้นทุน ดังนั้นหากสามารถจัดสรรให้เงินที่เราใช้จ่ายไปกับของฟุ่มเฟือยมาลงทุนบางส่วนได้ก็ย่อมมีโอกาสสะสมเงินและสร้างผลตอบแทนได้ มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ทำไปลงทุน 

เช่น ค่ากาแฟแก้วละ 100 บาททุกๆ วัน จะต้องใช้เงินทั้งสิ้น 3,000 บาท/เดือน สมมติยังดื่มกาแฟร้านเดิม แต่ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 4 แก้ว จะใช้เงินเพียง 1,600 บาท/เดือน หมายความว่าจะมีส่วนต่างที่สามารถเก็บไว้ลงทุนได้ 1,400/เดือน 

หรืออาจจะเลือกใช้วิธีจำกัดงบค่ากาแฟ เช่นจาก 3,000 บาท/เดือน จำกัดให้เหลือ 2,000 บาท/เดือน ส่วนต่าง 1,000 บาท ก็สามารถลองลงทุนต่อยอดได้ไม่ยาก ทั้งนี้ไม่ว่าจะสะสมเงินไว้ลงทุน หรือทยอยลงทุนทุกเดือนก็สามารถทำได้ตามความสะดวก ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจ และลักษณะสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 'เงินเย็น' เดือนละ 1,000 ลงทุนอะไรได้บ้าง?

------------------------------------------

อ้างอิง: forbesthelattefactorttbbank