สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล "หมอนวด" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล "หมอนวด" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

“นวดไทย” เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ที่สำคัญ เป็นอัตลักษณ์ไทยที่ได้รับความนิยมทั่วโลก “กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)” ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการนวด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น

KEY

POINTS

  • สธ.ดัน "นวดไทย" Soft Power ที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  มีผู้มาใช้บริการคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
  • นำร่อง 4 จังหวัด อบรมพัฒนาหมอนวดมือทอง กว่า 10,000 คน หวังสร้างงานสร้างอาชีพพัฒนาบุคลากรนวดไทยให้เป็นไปตามมาตรฐาน  ขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจสุขภาพ
  • 17 หลักสูตรนวดเพื่อสุขภาพได้รับการรับรอง ขณะที่สถานฝึกอบรมในประเทศ 412 แห่ง และต่างประเทศ  4 แห่ง ส่วนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพขึ้นทะเบียน 13,497 แห่ง ทั่วประเทศ

     

นวดไทย” เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ที่สำคัญ เป็นอัตลักษณ์ไทยที่ได้รับความนิยมทั่วโลก “กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)” ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการนวด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ. 2566 มีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพสปา จำนวน 929 แห่ง นวดเพื่อสุขภาพ 10,652 แห่ง และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพความงามจำนวน 143 แห่ง มีจำนวนผู้ให้บริการนวดไทยทั้งในภาครัฐและเอกชน รวม 183,982 คน

ขณะที่ข้อมูลการใช้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพรในสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ มีผู้เข้ารับบริการ 15,619,599 ครั้ง คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท ล่าสุด สธ.จัดโครงการพัฒนาอบรมหมอนวด กว่า 10,000 คน สร้างงานสร้างอาชีพพัฒนาบุคลากรนวดไทยให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนั้น รัฐบาลได้ตั้งเป้ารายได้จากเศรษฐกิจสุขภาพด้านสมุนไพรและนวดไทยปีละมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท ภายในปี 2570

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อัปสกิล 'นวดไทย' Soft Power มัดใจต่างชาติ

นวด-สปาไทย เกรดพรีเมียม! หลังโควิด-19 โต 17 % ทุกปี

ปั้นหมอนวด ดันเศรษฐกิจสุขภาพ

“สันติ พร้อมพัฒน์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ให้สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาต่อยอด ศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนํามาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม 

"นวดไทย" ถือเป็นอัตลักษณ์ไทยที่รู้จักของนานาประเทศ สธ.ให้ความสําคัญกับการพัฒนาและผลิตบุคลากรให้บริการนวดไทย โดยได้มีการอบรมและมีบุคลากรนวดไทยผ่านการรับรองจากสธ. โดยขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้วกว่า 200,000 คน ทั้งในภาครัฐและเอกชน

“หลักสูตรการนวดแผนไทย ได้รับการยอมรับจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อีกทั้งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก เป็นความรู้ความสามารถภูมิปัญญาของไทย และการจัดอบรมหลักสูตรนวดแผนไทยในครั้งนี้ เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ซึ่งเป็น 1 ใน 13 นโยบายของสธ. ที่จะเริ่มอย่างจริงจังในปี 2567 ขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจสุขภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ โดยผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุขให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก” สันติ กล่าว

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ระบบการดูแลรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก โดยเฉพาะศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทั้งด้านบุคลากร และการบริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยชรา ที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล จนกลายเป็นจุดขายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังประเทศเป็นจำนวนมาก

ปี 67 ยกระดับแพทย์แผนไทย

จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สามารถสร้างรายได้กว่า 4 หมื่นล้านบาท รัฐบาลจึงเดินหน้าในการพัฒนาคุณภาพการบริการ ยกระดับบุคลากร และผลักดันการแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย สปาแผนไทย และสมุนไพร สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปิดเป็นศูนย์ wellness center เพื่อยกระดับการให้บริการ และพัฒนาผู้ให้บริการให้มีความรู้ความสามารถอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย

“สันติ” กล่าวต่อว่า ปี 2567 นี้ สธ.จะยกระดับการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะเรื่องการนวดผ่านการผลิตบุคลากรให้บริการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการนวดไทยเพื่อสุขภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง และยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ตอบรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ มีรายได้ในการดูแลครอบครัว มีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงต่างประเทศ

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

นำร่อง 4 จังหวัด ผลิต 10,000 คน

"นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน" อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่ตั้งเป้าให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า ต้องผลักดันการแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย สปาแผนไทย สมุนไพรไปสู่เวทีโลก โดยมีจุดเน้น 3 ด้านคือ

1. สนับสนุนการส่งออกคนให้ไปเปิดศูนย์ Wellness Center ในต่างประเทศ

2. ยกระดับด้วย Certificate 

3. ต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพใบอนุญาตเพื่อปกป้องชื่อเสียง

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

ดังนั้น สธ.ได้กำหนดนโยบาย 5-5 เร่งรัดพัฒนาสานต่อ โดยในข้อ 4 คือ ดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสุขภาพ มอบให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ดำเนินการยกระดับมาตรฐานการแพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างงาน สร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ

1.หลักสูตรนวดเพื่อสุขภาพที่ได้รับการรับรองแล้ว ซึ่งมีจำนวน17 หลักสูตร

2.สถานฝึกอบรมในประเทศ จำนวน 412 แห่ง และต่างประเทศ จำนวน 4 แห่งการผลิตแรงงานด้านการนวดไทย ให้เป็นหมอนวดมือทอง จะเป็นแม่เหล็กที่มีประสิทธิภาพในการดึงเม็ดเงินธุรกิจการท่องเที่ยว สนับสนุนหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนรองรับ wellness community  ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน

 3.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจำนวน 13,497 แห่ง ทั่วประเทศ

"การผลิตแรงงานด้านการนวดไทย ให้เป็นหมอนวดมือทอง จะเป็นแม่เหล็กที่มีประสิทธิภาพในการดึงเม็ดเงินธุรกิจการท่องเที่ยว สนับสนุนหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนรองรับ wellness community  ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน"นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

ทั้งนี้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดทำโครงการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพร โดยการฝึกอบรมให้กับประชาชนทั่วไป เป้าหมาย 10,000 คน ให้เป็นแรงงานด้านการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน รองรับนโยบายสำคัญดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม  จะเปิดอบรมนวดให้ประชาชนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 จำนวน 150 ชั่วโมง มีพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้

  1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2567
  2. โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 25 มิถุนายน 2567
  3. โรงพยาบาลวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 5 - 30 มิถุนายน 2567
  4. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระหว่างวันที่ 4 - 23 มิถุนายน 2567

โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม เมื่อจบแล้วจะได้รับใบประกาศนียบัตร สามารถขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการกับกระทรวงสาธารณสุขได้ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด หรือที่สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โทร 02-149-5618

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท

สำหรับผู้ให้บริการนวดไทยหรือหมอนวดไทยต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มีมาตรฐานด้านการให้บริการ โดยต้องมีความพร้อมทั้งทักษะ ความรู้ และจิตบริการ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย คือความนุ่มนวล มีมารยาท และให้เกียรติผู้มารับบริการนวด

ดังนั้น เรื่องมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรการนวดนั้นต้องทันสมัย ใช้เวลาการเรียนที่ไม่นานแต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เอื้ออำนวยให้ผู้สนใจสามารถเรียนได้ทั้งออนไลน์ เรียนเสาร์ อาทิตย์ ได้  เมื่อจบแล้วใบประกาศนียบัตรจะต้องสามารถใช้ทำงานได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง   

ขณะที่ สถานฝึกอบรม จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข มีมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นที่ดีให้แก่ประชาชน ร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อการวิจัยและต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างและสร้างการรับรู้ในคุณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ต่อไปได้ ทางกระทรวงสาธารณสุข มีแนวทางในการจัดทำเครื่องหมาย เพื่อให้ผู้ที่ใช้บริการสามารถมาใช้บริการด้วยความมั่นใจว่าสถานประกอบการ และผู้ให้บริการมีมาตรฐานจริง   

สธ.นำร่อง 4 จังหวัด อัปเลเวล \"หมอนวด\" สร้างมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท