'เจลซ่อมฟัน' อันตรายแค่ไหน ใช้แล้วเกิดโทษอย่างไร?

'เจลซ่อมฟัน' อันตรายแค่ไหน ใช้แล้วเกิดโทษอย่างไร?

จากกระแส 'เจลซ่อมฟัน' ที่แพร่หลายในโลกออนไลน์ขณะนี้ ซึ่งมีการนำมาละลายกลายเป็นเจลใส สามารถปั้นแต่งเป็นก้อนได้ ทันตแพทย์เตือน วัสดุดังกล่าว ไม่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ และไม่ควรนำมาใช้ในช่องปาก

การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฟันมีหน้าที่สำคัญในการบดเคี้ยวอาหารส่งต่อไปยังอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในด้านความสวยงามหากมีสุขภาพฟันที่ดีก็จะช่วยเสริมต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น จึงควรหมั่นดูแลสุขภาพฟันให้ดีอยู่เสมอ

 

ทพญ.วรนันต์ วนานันต์ ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ ศูนย์ทันตกรรม (Dental Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้มาตอบข้อสังสัยเกี่ยวกับเรื่อง เจลซ่อมฟัน ซึ่งกำลังเป็นกระแส มีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ในตอนนี้

 

เจลซ่อมฟัน อุดชั่วคราว คืออะไร?

ลักษณะเป็นเม็ดขาวขุ่น เมื่อผ่านความร้อน หรือน้ำร้อน จะละลายกลายเป็นเจลใส สามารถปั้นแต่งเป็นก้อนได้ อย่างไรก็ตาม วัสดุดังกล่าว ไม่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ และไม่ควรนำมาใช้ในช่องปากเป็นอย่างยิ่ง

 

\'เจลซ่อมฟัน\' อันตรายแค่ไหน ใช้แล้วเกิดโทษอย่างไร?

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

ใช้เจลซ่อมฟันแล้วจะเกิดโทษอย่างไรและอันตรายร้ายแรงแค่ไหน?

จากที่ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการส่งตัวอย่างเม็ดอุดฟันไปตรวจส่วนประกอบ พบว่า มีส่วนผสมของโลหะหนัก ตะกั่ว สังกะสีและสารหนู และที่อุณหภูมิ 60 องศา เช่น หากรับประทานอาหารร้อน จะมีการปลดปล่อยสารโลหะหนักออกมาสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย อาจทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ภูมิแพ้ หอบหืด หายใจติดขัด ท้องเสีย คลื่นไส้

 

การติดเจลซ่อมฟันในปาก โดยไม่สามารถถอดออกได้ เป็นระยะเวลานานทำให้เหงือกอักเสบ ฟันผุบริเวณฟันข้างเคียง นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่ เจลอุดฟันเหล่านี้จะหลุดลงคอ หลอดลม ติดขัดทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

การรักษาโรคเกี่ยวกับฟันที่ถูกต้อง

การรักษาโรคในช่องปากและฟันมีได้หลายวิธีขึ้นอยู่อาการของโรค ซึ่งควรต้องพบทันตแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง เพื่อการรักษาที่ถูกวิธี ในบางกรณีจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสี หากทันตแพทย์ประเมินว่า สามารถทำการรักษาโดยการอุดฟัน จะมีการกำจัดฟันส่วนที่ผุ และอุดฟันด้วยวัสดุที่ปลอดภัยสามารถใช้ได้ในช่องปาก ในกรณีที่ฟันไม่สามารถบูรณะได้ ต้องถอนฟันออกไป ก็ควรได้รับการใส่ฟันปลอมทดแทน ที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์

 

 

คำแนะนำในการรักษาฟัน

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับฟันและช่องปากควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย รักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อ และไม่ควรซื้อวัสดุต่าง ๆ ตามท้องตลาดมารักษาฟันด้วยตัวเองอย่างยิ่ง การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง เริ่มต้นที่รักษาความสะอาดในช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธีด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นประจำทุกวันร่วมกับใช้ไหมขัดฟัน หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน -1 ปี เพื่อตรวจเช็คฟัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันหรือช่องปาก