'กินผักรักสุขภาพ' เสี่ยง 'ลำไส้แปรปรวน' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

'กินผักรักสุขภาพ' เสี่ยง 'ลำไส้แปรปรวน' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ใครจะคาดคิดว่า ‘กินผักมากไป’ อาจทำให้ป่วยเป็นโรคได้ ด้วยกระแสรักสุขภาพมาแรง หลายคนปรับการใช้ชีวิต ใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายของตนเองมากขึ้น หันมารับประทานผัก ผลไม้ ออกกำลังกาย เข้าสู่ ‘สายเฮลตี้’ เต็มตัว

Keypoint:

  • การรับประทานผัก ผลไม้ เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากรับประทานมากไปก็อาจจะเสี่ยงเป็นโรคได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะโรคลำไส้แปรปรวน อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของวัยทำงาน
  • ผักบางชนิด อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี กะหล่ำปลี กระเทียม หัวหอม หอมแดง  เห็ด ดอกกะหล่ำ อโวคาโด  ล้วนมีคาร์โบไฮเดรตสายสั้นๆ สูง สาเหตุเกิดโรคลำไส้แปรปรวน และระบบย่อยอาหาร
  • สารเคมี สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ล้วนเป็นอีกสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ รวมไปถึง โรคมะเร็ง ได้ การรับประทานอาหารที่ดีควรให้ครบทั้ง 5 หมู่ หลากหลาย

รู้หรือไม่? การรับประทานผักมากเกินไป  กินสลัดผักทุกวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ได้ อย่าง ‘โรคลำไส้แปรปรวน’ โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ยิ่งกินอาหารไม่เป็นเวลา แถมมีภาวะความเครียดจากงานอยู่เป็นประจำวัน อาจจะไม่ได้เป็นเพียงโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อนเท่านั้น แค่ส่งผลให้เป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อนเท่านั้น

ขณะเดียวกัน สายเฮลตี้รักสุขภาพกินแต่ผักผลไม้ เนื้ออกไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน กินโปรตีนจากไข่และธัญพืช  ดื่มน้ำผักผลไม้สกัด ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ แต่ทำไมถึงยังเจ็บป่วย แถมบางรายยังป่วยถึงขั้นเป็นโรคมะเร็ง

การกินผักเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ปัญหาการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย 

แม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวนจะไม่รุนแรง…แต่อาการปวดท้องก็สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยไม่น้อย แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แล้วแบบนี้จะรออะไร? มาเปลี่ยนตัวเอง…เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวเองกันดีกว่า

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อันตราย ! จากการกิน’ผักดิบ’ บางกรณีอาจถึงกับเสียชีวิต

เลือกทาน Plant-based foods อย่างไร? ให้ดีต่อหัวใจ ดีต่อสุขภาพ

"น้ำผลไม้แยกกาก" น้ำตาลสูง ขาดไฟเบอร์ อาจไม่ดีต่อสุขภาพอย่างที่คิด

 

ก่อนต้องทรมานเช็กอาการปวดท้องเรื้อรัง!

'ลำไส้แปรปรวน'โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ไม่ร้ายแรงแต่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำงาน ด้วยปัจจัยรอบด้านของคนวัยทำงานในปัจจุบันทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว

ทั้งพฤติกรรมการทานที่ไม่ถูกวิธี เช่นทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ทานผัก ผลไม้ ไม่มีเวลาทานอาหารเช้า หรือการดื่มน้ำน้อยเกินไป การมีพฤติกรรมเนื่อยนิ่ง หรือไม่ออกกำลังกาย รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะเครียดจากงานหรือเรื่องส่วนตัว รวมถึงบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลำไส้แปรปรวน 

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ Irritable Bowel Syndrome (IBS) เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่ผิดปกติ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป คือ อาจถ่ายบ่อย หรือลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนไป โรคนี้มักเรื้อรัง มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ

ถึงจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิต เพราะผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง ร่วมกับอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือในบางรายอาจมีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูกได้

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

หนึ่งในแนวทางที่จะช่วยบรรเทาอาการช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการลำไส้แปรปรวนคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร

นายฐนิต วินิจจะกูล ผู้ช่วยอาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสายสั้น ๆ ชนิดที่เรียกว่า FODMAPs (Fermentable Oligo-, Di-and Monosaccharides and Polyols) มากเกินไป อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน เนื่องจากระบบย่อยอาหารของผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวนมักดูดซึม FODMAPs ได้ไม่ดี ทำให้เกิดปฏิกิริยากับแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้อาการของลำไส้แปรปรวนมีมากขึ้น

 

ทำไม? กินผักมากๆ ถึงเสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน

กลุ่มอาหารที่มี FODMAPs สูง ประกอบด้วย

  • กลุ่มผัก: หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี กะหล่ำปลี กระเทียม หัวหอม หอมแดง (เป็นแหล่งของน้ำตาลสายสั้น ๆ) เห็ด ดอกกะหล่ำ อโวคาโด (เป็นแหล่งของน้ำตาลแอลกอฮอล์)
  • กลุ่มผลไม้: แอปเปิ้ล สาลี่ มะม่วง แตงโม ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้เข้มข้น (เป็นแหล่งของน้ำตาลฟรุกโตส) เชอร์รี่ ลองกอง ลิ้นจี่ (เป็นแหล่งของน้ำตาลแอลกอฮอล์)
  • กลุ่มข้าวแป้งและถั่ว: แป้งสาลี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งสาลี (ที่มีกลูเตน) ถั่วแดง
  • กลุ่มสารให้ความหวาน: น้ำผึ้ง (เป็นแหล่งของน้ำตาลฟรุกโตส) น้ำตาลแอลกอฮอล์ (เช่นไซลิทอล ซอร์บิทอล)
  • กลุ่มนม: นมวัว นมแพะ (เป็นแหล่งของน้ำตาลแลกโตส)

 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน มีดังนี้ 

  • พฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา กินแต่เนื้อสัตว์..ไม่กินผัก ไม่กินอาหารเช้า หรือดื่มน้ำน้อย
  • มีภาวะเครียดจัด ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้
  • ไม่ออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน 

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุของภาวะลำไส้แปรปรวนได้อย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยร่วมกันที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ได้แก่

  • การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ
  • การรับรู้ของระบบทางเดินอาหารที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ
  • ปัญหาในการย่อยอาหาร
  • การติดเชื้อในทางเดินอาหาร
  • ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์
  • การใช้ยาบางชนิด
  • กรรมพันธุ์ โดยพบว่า ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้ได้ 2 – 3 เท่า

โรคลำไส้แปรปรวนไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นอีก หากผู้ป่วยยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

แค่เปลี่ยนพฤติกรรม…ก็เปลี่ยนคุณภาพชีวิต

  • กิน..ให้เป็น   คือ กินอาหารเช้า กินให้ตรงเวลา กินอาหารที่มีกากใย และกินในปริมาณที่พอดี ควบคู่กับการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • คิด..ให้เป็น คือ คิดบวก มองโลกในแง่ดี ตลอดจน “ไม่เครียด” หากตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคนี้ เพราะยิ่งเครียดยิ่งทำให้อาการเรื้อรัง
  • ขยับ..ให้เป็น  คือ จัดสรรเวลาสำหรับออกกำลังกาย เพื่อลดความเครียดและสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ถ่าย..ให้เป็น  คือ ไม่อั้นถ่าย เพราะอุจจาระจะอยู่กับเราเพียงแค่ประมาณ 2 นาที จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ปฏิบัติตัวอย่างไร ห่างไกลจากลำไส้แปรปรวน

  • ลดการรับประทานเนื้อสัตว์หรือไข่ ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ควรเน้นรับประทานอาหารประเภทที่ย่อยง่าย เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง และเนื้อปลา
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด หรือเบเกอรี่ที่อุดมไปด้วยนม เนย
  • รับประทานอาหาร ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร ไม่ควรเร่งรีบรับประทาน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ซึ่งก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

นออกจากนั้น ผู้ที่มีอาการของโรคลำไส้แปรปรวน อาจทดลองงดการบริโภคอาหาร FODMAPs สูง เป็นระยะเวลา 6 – 8 สัปดาห์ ในความดูแลของนักกำหนดอาหาร เพื่อดูว่าอาการทางระบบทางเดินอาหารลดลงหรือไม่ จากนั้นจึงค่อย ๆ เริ่มกลับมาบริโภคอาหาร FODMAPs สูง (ข้างต้น) ทีละชนิดในปริมาณน้อย ๆ เพื่อประเมินปริมาณที่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีอาการข้างเคียง ซึ่งจะทำให้บริโภคอาหารได้หลากหลาย

โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถคุมอาการของโรคได้ โดยในระหว่างช่วงที่งดบริโภคอาหาร FODMAPs สูง สามารถเลือกบริโภคอาหารอื่น ๆ ทดแทนได้ดังนี้

  • กลุ่มผัก : หน่อไม้ ผักกวางตุ้ง แครอท เซลเลอรี่ พริกหวาน ข้าวโพด มะเขือม่วง ไช้เท้า ถั่วฝักยาว ฟักทอง กุยช่าย มะเขือเทศ และผักกาดขาว
  • กลุ่มผลไม้ : กล้วย มะเฟือง ส้ม เลมอน ทุเรียน องุ่น แตงไทย กีวี มะนาว แคนตาลูป เสาวรส และ มะละกอ
  • กลุ่มข้าวแป้งและถั่ว : ข้าวสวย ข้าวกล้อง ควีนัว และ ผลิตภัณฑ์แป้งที่ปราศจากกลูเตน เช่น แป้งข้าว กลุ่มถั่วควรบริโภคในปริมาณน้อย (อัลมอนด์ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง)
  • กลุ่มสารให้ความหวาน : น้ำตาลทราย หญ้าหวาน ซูคราโลส
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์นม : นมและผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากน้ำตาลแลกโตส ชีสชนิดแข็ง เนย

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ระวังสารปนเปื้อนจากผักและผลไม้

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานในช่วงที่มีอาการลำไส้แปรปรวนแล้ว ควรจัดสรรเวลาสำหรับขยับร่างกาย เพื่อลดความเครียดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และไม่ควรอั้นหากปวดอุจจาระเพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

ในผักและผลไม้ นอกจากระวังเรื่องการรับประทานมาเกินไปแล้วเสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน แล้ว ยังต้องระวังโรคที่มาพร้อมกับผักผลไม้ที่ปนเปื้อนสารพิษ

  • แบบเฉียบพลัน
  1. ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด  หายใจไม่ออก
  2. ท้องร่วง
  3. อาหารเป็นพิษ  ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นไข้  ตัวชา หรือหมดสติไป
  4. หรืออาจเกิดหัวใจวายและตายได้
  • แบบเรื้อรัง 

ส่วนมากมาจากการได้รับสารปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลง ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ จะค่อยๆ สะสมในร่างกาย

  1. เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง
  2. โรคอัลไซเมอร์
  3. โรคพาร์กินสัน
  4. โรคกระเพาะอาหาร
  5. การเจริญเติบโตที่ผิดปกติในเด็ก
  6. ทำให้เกิดความเครียด

วิธีเลือกซื้อผักและผลไม้ให้ปลอดภัย

  • เลือกผักดูจากสีสันที่เป็นธรรมชาติ  ไม่มีคราบขาวของยาฆ่าแมลงหรือคราบดินหรือจุดดำๆ ที่เกิดจากเชื้อรา
  • เลือกผักที่มีรูเจาะ มีรอยกัดของหนอนหรือแมลง
  • เลือกผักผลไม้ตามฤดูกาล เพราะมีการใช้สารเคมีและปุ๋ยลดลง
  • เลือกผักพื้นบ้าน ตามถิ่นที่อาศัย
  • หากซื้อผักในห้างควรดูฉลากเพื่อดูแหล่งที่มา  เช่น  สถานที่ผลิต หรือแหล่งนำเข้าอาหาร
  • เลือกผักผลไม้ที่มีตรารับรองจากทางราชการ  เช่น  ผักออร์แกนิคที่มีตรารับรองมาตรฐาน  เป็นต้น
  • ไม่ควรซื้อผักกินซ้ำซาก  ควรเปลี่ยนประเภทของผักเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีชนิดเดียวกันสะสม

\'กินผักรักสุขภาพ\' เสี่ยง \'ลำไส้แปรปรวน\' โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ล้างผักผลไม้ ลดสารเคมีตกค้าง

  • ล้างผักด้วยแบคกิ้งโซดา (Baking Soda)  โดยใช้แบคกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้  15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 80 – 95%
  • ล้างผักด้วยน้ำส้มสายชู  โดยใช้น้ำสายชู (ความเข้มข้น 5%) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 29-38%
  • ล้างผักด้วยด่างทับทิม โดยใช้ด่างทับทิม 20 – 30 เกล็ด ละลายกับน้ำ  4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 35-45%
  • ล้างผักด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง  เด็ดผักออกเป็นใบๆ เปิดน้ำไหลผ่านแล้วใช้มือถูผักเบาๆ  วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 54 – 63%
  • ล้างผักด้วยน้ำซาวข้าว  โดยน้ำผักไปแช่น้ำซาวข้าวประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 29-38%
  • ล้างผักด้วยน้ำปูนใส (ปูนที่กินกับหมาก)  โดยนำน้ำปูนใส  1 ส่วนผสมกับน้ำเปล่าอีก 1 ส่วนเท่าๆ กัน แช่ผักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด  วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 34-52%

นอกจากนั้น ยังมีวิธีในการลดสารเคมีตกค้าง อย่างการปอกเปลือกผลไม้ออกหรือการลอกผักใบนอกออกไปทิ้งสัก 2 – 3 ใบเพราะสารเคมีจะตกค้างบริเวณเปลือกหรือใบด้านนอก หรือการลวกผัก/ต้มผัก ก็จะช่วยลดสารเคมีตกค้างได้

ดังนั้น การกินผักผลไม้มีประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ควรมีวิธีการในการล้างเพื่อลดสารเคมีตกค้างก็จะช่วยคนสายกินผักผลไม้ห่างไกลโรค  สนใจทำประกันสุขภาพเจ็บป่วยกะทันหันไม่ต้องวุ่นวายเรื่องค่ารักษาพยาบาลดูรายละเอียดได้ที่นี่  ประกันสุขภาพ  และ ประกันโรคร้ายแรง

อ้างอิง: มหาวิทยาลัยมหิดล ,โรงพยาบาลเมดพาร์ค ,โรงพยาบาลพญาไท