‘มีบุตรยาก’ ดันตลาดท่องเที่ยวโต คาดปี 70 มูลค่า 3.36 หมื่นล้านเหรียญ

‘มีบุตรยาก’ ดันตลาดท่องเที่ยวโต คาดปี 70 มูลค่า 3.36 หมื่นล้านเหรียญ

เด็กเกิดน้อย และการมีบุตรยาก นับเป็นปัญหาของหลายประเทศรวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า นับเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพบว่า ปี 2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท

Key Point : 

  • ภาวะมีบุตรยาก เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องจัดเป็นวาระสำคัญของชาติ เพราะกระทบกับโครงสร้างประชากรของประเทศ จากการก้าวสู่สังคมสูงวัย และเด็กเกิดใหม่ลดลง 
  • บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท
  • อีกทั้งมีการ คาดการณ์ว่า ในปี 2570 ตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากทั่วโลก จะมีมูลค่าแตะระดับ 3.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

 

ปัญหาเด็กเกิดน้อย นับเป็นปัญหาระดับชาติ และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัย ขณะเดียวกัน ความเครียดและการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ แต่งงานช้า อายุที่มากขึ้น มีผลต่อการมีบุตร ขณะที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้านับว่าเข้ามาเพิ่มโอกาสสำหรับคนที่ต้องการมีบุตร รวมถึงผลักดันตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากทั้งในประเทศและทั่วโลก คาดว่า ในปี 2570 จะมีมูลค่าแตะระดับ 3.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

 

จากการสำรวจเชิงสถิติของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) พบว่าในปี 2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท ข้อมูลจาก Allied Market Research ระบุว่า ในปี 2570 ตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากทั่วโลกจะมีมูลค่าแตะระดับ 3.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 14.2% ต่อปี (ปี 2562-2570) ซึ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงที่สุด โดยจะมีมูลค่ากว่า 5.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเฉลี่ย 14.7% ต่อปี (ปี 2562-2570)

 

‘มีบุตรยาก’ ดันตลาดท่องเที่ยวโต คาดปี 70 มูลค่า 3.36 หมื่นล้านเหรียญ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของ Fertility Tourist ได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย ไทย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทั้งนี้ คาดว่าตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากของไทย ในปี 2570 จะมีมูลค่ากว่า 1.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 14.6% ต่อปี (ปี 2562-2570)

 

คาดมูลค่าในไทย 6 หมื่นล้านบาท

 

นพ.วิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซฟ เฟอร์ทิลีตี้ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SAFE คาดว่าตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากของไทยจะมีมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาทในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 14.6 ต่อปี

 

บริษัทฯ ให้บริการแก่คนไข้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยในช่วงระหว่างปี 2561 จนถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีสถิติในการให้บริการเก็บไข่กว่า 6,897 รอบ (OPU Cycle) หรือเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งพันรอบต่อปี ด้วยความพร้อมในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิผลมาใช้ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีห้องปฏิบัติการด้านพันธุศาสตร์ที่สามารถให้บริการได้ครบวงจร

 

ทำให้ในปี 2563 ถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บริษัทฯ สามารถให้บริการโดยมีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ (Clinical Pregnancy Success Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุ โดยมีอัตราความสำเร็จเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.5 เป็นร้อยละ 71.6 สำหรับกรณีไม่ได้ตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน

 

และร้อยละ 63.5 เป็นร้อยละ 77.2 สำหรับกรณีเพิ่มบริการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน ซึ่งเป็นอัตราความสำเร็จที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย จากรายงานสรุปข้อมูลให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 15.3 – 41.7 ซึ่งจัดทำโดย ระบบดูแลรักษาสุขภาพแห่งชาติ (สหราชอาณาจักร) กรมสนับสนุนบริการ

 

‘มีบุตรยาก’ ดันตลาดท่องเที่ยวโต คาดปี 70 มูลค่า 3.36 หมื่นล้านเหรียญ

 

ศูนย์การแพทย์ผู้มีบุตรยาก

 

สำหรับ SAFE ถือเป็นผู้ให้บริการศูนย์การแพทย์เพื่อการมีบุตรภายใต้ชื่อ “ศูนย์การแพทย์เพื่อการมีบุตร เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์” เป็นศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ตลอดจนให้การรักษาแก่ผู้ที่มีบุตรยากและแช่แข็งไข่โดยมีทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านเพาะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีผู้ดูแลลูกค้าส่วนบุคคล (Personal Assistant)ที่มีประสบการณ์สูง

 

นพ.วิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง (ICSI) ซึ่งถือว่าเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และบริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI) รวมถึงการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยีตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบพิเศษ การแช่แข็งและการฝากไข่ อสุจิ และตัวอ่อน เพื่อโอกาสมีบุตรในอนาคต ด้วยทีมงานนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านเพาะเลี้ยงและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี

 

โดยมีการนำเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง อาทิ การนำตู้เลี้ยงตัวอ่อนรุ่นใหม่มาใช้ การนำเทคโนโลยีคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค IIumina (PGT-A) มาใช้ในประเทศไทย เทคโนโลยีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ (NIPT) และเทคโนโลยีฟื้นฟูรังไข่ Reju เป็นต้น จนได้รับความไว้วางใจจากคลินิกและโรงพยาบาลรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศและต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น ให้ทำการตรวจ PGT และ NIPT ในห้องปฏิบัติการ

 

นอกจากนี้ ด้วยมาตรฐานการรักษาระดับสูง กลุ่มบริษัทฯ จึงได้รับการรับรองมาตรฐานคลินิกเด็กหลอดแก้วในประเทศไทย และในเอเชียจาก Reproductive Technology Accreditation Committee (“RTAC”) ประเทศออสเตรเลียในปี 2557 อีกทั้ง ได้รับการรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ISO : 9001 ในปี 2554 รวมถึงมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15189 ในปี 2559 และได้ผ่านการประเมินคุณภาพทางห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและห้องปฏิบัติการทางด้านพันธุศาสตร์โดยองค์กรภายนอกจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ UK NEQAS จากประเทศอังกฤษ 

 

“บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากและด้านวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนในเอเชีย มุ่งเน้นให้บริการด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เข้ามารับบริการด้วยอัตราความสำเร็จ โดยเน้นถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นสำคัญ” นพ.วิวัฒน์ กล่าว

 

‘มีบุตรยาก’ ดันตลาดท่องเที่ยวโต คาดปี 70 มูลค่า 3.36 หมื่นล้านเหรียญ

 

ไทยศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

 

กระทรวงสาธารณสุข มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Thailand: A Hub of Wellness and Medical Services) มาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสาธารณสุข ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ผลผลิตหลัก คือ

1. ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub)

2. ศูนย์กลางบริการเพื่อสุขภาพ (Medical Service Hub)

3. ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub)

4. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) ซึ่งการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นที่จับตามองของตลาดการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก มีการคาดการณ์ว่า ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2575 ซึ่งคิดเป็นเงินไทยจำนวน 11 ล้านล้านบาท (1USD = 32THB) ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 11 โดยตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกจะเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก และยุโรปจะเป็นตลาดที่มีการเติบโตเร็วที่สุด

 

สถานการณ์การมีบุตรในต่างประเทศ

 

ข้อมูล อัตราการเจริญพันธุ์เฉลี่ยทั่วโลก ปี 2553 ถึงปี 2563 จาก World Bank พบว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การมีบุตรในระดับโลก มีอัตราการเจริญพันธุ์เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 และหากจำแนกตามทวีป จะมีเพียงทวีปแอฟริกาทวีปเดียวที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ทั้งมวลมากกว่า 4 ส่วนทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ทั้งมวลอยู่ในระดับต่ำที่สุด และทวีปอเมริกาเหนืออยู่ในระดับต่ำรองลงมา ซึ่งทั้งสองทวีป มีอัตราการเจริญพันธุ์ที่น้อยกว่าภาวะเจริญพันธุ์ระดับทดแทน

 

ปัจจุบันหลายประเทศได้เริ่มติดตามปัญหาภาวะการเจริญพันธุ์และอัตราการเกิดอย่างใกล้ชิด จากแผนภูมิแสดงอัตราการเจริญพันธุ์จำแนกตามทวีปจะเห็นได้ว่า ทุกทวีปมีอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 แม้กระทั่งประเทศจีน ที่มีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน ในปัจจุบัน ยังมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย จากอดีต มีการใช้นโยบาย One Child กล่าวคือ อนุญาตให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้เพียง 1 คน และปรับใช้เป็นนโยบายลูกสองคน ในปี ค.ศ. 2016 จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 2022 ได้มีการใช้นโยบายลูกสามคน เนื่องจากเกรงว่าจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ และขาดแคลนแรงงาน

 

อีกทั้ง ยังมีการพิจารณาที่จะปรับขยายเวลาเกษียณอายุ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี เนื่องจากมีการกังวลว่าจำนวนประชากรวัยทำงานที่น้อยลง จะทำให้เงินทุนที่ใช้ในการเตรียมให้กับวัยเกษียณที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น ไม่เพียงพอ จากนโยบายที่กระตุ้นให้ประชากรมีลูกเพิ่มขึ้นของจีน อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์