เทคโนโลยีเพื่อ 'ผู้มีบุตรยาก' แนวทางสู่การ 'ตั้งครรภ์คุณภาพ'

เทคโนโลยีเพื่อ 'ผู้มีบุตรยาก' แนวทางสู่การ 'ตั้งครรภ์คุณภาพ'

เมื่อคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ส่งผลให้พบปัญหาการมีบุตรยาก ขณะเดียวกัน ปัจจุบัน พบว่าเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรไม่ว่าจะการทำ IVF รวมถึงเทคนิค ICSI การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ การฝากไข่ ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มโอกาสครรภ์คุณภาพมากขึ้น

  • ปัญหาเด็กเกิดน้อย เรียกได้ว่าเป็น วาระแห่งชาติ เนื่องจากคนยุคใหม่แต่งงานช้าลง และเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นส่งผลให้การมีบุตรยากเพิ่มมากขึ้น 
  • ภาวะมีบุตรยาก ซึ่งเกิดได้จากทั้ง 'ฝ่ายหญิง' อายุมากขึ้น และภาวะอื่นๆ อาทิ มดลูกที่มีความผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกมีเนื้องอกที่ผิดปกติ ฯลฯ ส่วน 'ฝ่ายชาย' เช่น ตัวอสุจิไม่สมบูรณ์ ไส้เลื่อนที่อัณฑะ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด เป็นต้น
  • ปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรพัฒนามากขึ้น เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF รวมถึงเทคนิค ICSI อีกทั้ง การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ และเทคโนโลยีตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติโครโมโซมตัวอ่อน นับเป็นปัจจัยที่ช่วยให้อัตราความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น 
  • ขณะเดียวกัน 'การฝากไข่' ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับคนที่วางแผนจะมีลูกในอนาคต แต่ปัจจุบันยังไม่แต่งงาน หรือยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ อีกด้วย

 

ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางด้านประชากร มีอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวาระแห่งชาติ สาเหตุปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากประชากรที่มีคุณภาพและพร้อมมีบุตรแต่งงานช้าลง พอเริ่มอยากจะมีลูกทำให้มียาก ขณะที่ผู้หญิงหากอายุมากขึ้นเซลล์ของไข่ก็จะเสื่อมสภาพ ส่งผลให้การมีบุตรยากขึ้น หรือตั้งครรภ์ก็อาจเกิดความเสี่ยง

 

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และไม่มีการคุมกำเนิดติดต่อกันประมาณ 1 ปี แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์จะเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก หรือผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจมีบุตร จะเริ่มเข้าสู่ภาวะมีลูกยากเช่นกัน

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 รศ.นพ.ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวในหัวข้อ การวางแผนและเตรียมตัวมีบุตรอย่างมีคุณภาพ งานแถลงข่าว Open House Miracle of Life โดย Fertility Clinic and IVF Center อธิบายว่า ภาวะมีบุตรยาก เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยอายุของฝ่ายหญิงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณมีลูกยาก ทั้งนี้ อายุไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียว ยังมีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ภาวะมดลูกที่มีความผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกมีเนื้องอกที่ผิดปกติ มีซีสที่รังไข่ มีช็อกโกแลตซีส หรือว่าเคยผ่าตัดที่รังไข่มาก่อน

 

นอกจากนี้ หากเคยได้รับยาเคมีบำบัดไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายภาวะพวกนี้ อาจจะมีผลทำให้ทั้งไข่และสเปิร์มมีคุณภาพลดลง หรือถ้าเคยมีหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะนี้อาจทำให้แพทย์นึกถึงท่อนำไข่ ที่อาจจะตีบหรือตันจนทำให้มีลูกยาก

 

"ขณะที่ สาเหตุทางฝ่ายชาย เช่น ตัวอสุจิไม่สมบูรณ์ เคยผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ไส้เลื่อนที่อัณฑะ เคยมีการกระทบกระเทือนที่บริเวณอวัยวะเพศอย่างรุนแรง และมีประวัติการผ่าตัด ที่บริเวณที่อาจจะมีเรื่องของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องการสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดอื่นๆ"

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

เด็กหลอดแก้วทั่วโลก 7 ล้านคน

 

ที่ผ่านมา รพ.บำรุงราษฎร์ ซึ่งตระหนักถึงปัญหาเด็กเกิดน้อย ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ ได้เดินหน้าพัฒนาการรักษาการมีบุตรยากมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเชี่ยวชาญแบบสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ที่เข้ามาช่วยลดความผิดปกติทางพันธุกรรม การฝากไข่ ให้คำปรึกษา จนถึงคลอดอย่างปลอดภัย และเด็กเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ สร้างประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต ผ่านการจัดตั้ง “ศูนย์การเจริญพันธุ์และคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก” รวมถึงเทคโนโลยีดูแลด้านการเจริญพันธุ์ครบวงจร อัตราความสำเร็จกว่า 90% จากการใช้เทคโนโลยีตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติโครโมโซมตัวอ่อน

 

ทั้งนี้ การทำเด็กหลอดแก้ว IVF (In-vitro Fertilization) มีมานานกว่า 45 ปี ทั่วโลกมีเด็กกว่า 7 ล้านคน ที่เกิดจาก IVF 

 

พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ อธิบายว่า การทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือ IVF (In-vitro Fertilization) เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของเทคนิคในการทำหรือที่เรียกว่า ICSI ต่างกันเล็กน้อย คือ การทำ IVF เป็นการนำไข่ 1 ใบ และสเปิร์มประมาณ 20,000 ตัว ให้สเปิร์มตัวที่ดีที่สุดผสมกับไข่เอง อัตราความสำเร็จ 70-80% ขณะที่ ICSI คือ การเลือกสเปิร์มตัวที่ดูดีที่สุด สมบูรณ์ของสารพันธุกรรมมากที่สุดผสมกับไข่ 1 : 1 โดยอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 80-90% ดังนั้น รพ.บำรุงราษฎร์จะใช้วิธี ICSI เป็นหลัก

 

อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วในแต่ละช่วงอายุ จากการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2020 – 2022 พบว่า ในกลุ่มอายุ น้อยกว่า 35 ปี อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 70% อายุ 35-37 ปี อยู่ที่ 65% อายุ 38-40 ปี อยู่ที่ 61% อายุ 41-42 ปี อยู่ที่ 89% และ อายุ มากกว่า 42 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 92% โดยคนที่อายุมากที่สุดที่ทำแล้วประสบความสำเร็จอยู่ที่ 44 ปี

 

ตรวจยีน ลดความเสี่ยง

 

ปัจจุบัน การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคร้ายบางชนิดที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่ลูกได้ โดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชศาสตร์พันธุศาสตร์จะทำการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจทำให้เด็กมีความผิดปกติ สามารถตรวจได้มากกว่า 600 ยีน หรือราว 300 กว่าโรค รวมถคงโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย รวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็ง และ หัวใจ

 

ผศ.นพ.พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ อธิบายว่า บำรุงราษฎร์ได้พิจารณาชุดตรวจยีนจากอัตราการเกิดโรคทางพันธุกรรมในเด็กที่ค่อนข้างสูง เช่น โรคจากยีนด้อยโครโมโซมเอกซ์ ดาวน์ซินโดรม หูหนวก โรคเลือด อาทิ โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคและภาวะทางพันธุกรรมอื่นๆ

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

โดยเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุด เช่น การตรวจ Cell-Free DNA ของทารกที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดแม่ เพื่อดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) โดยใช้วิธีเจาะเลือดแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อตรวจดูความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก แทนการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้ง เป็นต้น

 

“แนะนำให้คู่สมรสทั้งที่มีประวัติและไม่มีประวัติโรคกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดในครอบครัวตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ เพราะบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะหรือที่เราเรียกกันว่ายีนแฝงไม่รู้ตัว และ คู่สมรสที่มีบุตรแล้วและคนที่มีประวัติครอบครัวมีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยขั้นตอนการตรวจ คือ ตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างน้ำลาย ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะทราบผล”

 

ท้ายนี้ ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ แนะนำการเตรียมพร้อมสำหรับคนที่ต้องการมีบุตรว่า ต้องเตรียมตัว ดูแลสุขภาพ นอนหลับ พักผ่อน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถัดมา คือ หากมีการวางแผนมีบุตร อาจจะปรึกษาแพทย์ เพราะจำเป็นในการตรวจร่างกาย ตรวจฮอร์โมน อัลตร้าซาวด์ หลังจากพบแพทย์ แพทย์อาจจะให้ยาบำรุงเพิ่มโอกาสให้ร่างกายพร้อมมีบุตรตั้งครรภ์มากที่สุด และ พยายามไม่เครียด หากิจกรรมทำ จะทำให้มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

ทำความรู้จักการฝากไข่

 

สำหรับคนที่วางแผนจะมีลูกในอนาคต แต่ปัจจุบันยังไม่แต่งงาน หรือยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ตอนนี้ การฝากไข่ ถือเป้นหนึ่งทางเลือกที่ให้ประโยชน์ในแง่ของการเก็บรักษาเซลล์ไข่เอาไว้ ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต

 

ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ อธิบายว่า ตามทฤษฎีจะเก็บไว้ได้ตลอดไป แต่แนะนำว่าควรจะกลับมาใช้ใน 10 ปี โดยการฝากไข่หนึ่งครั้ง แนะนำว่าควรเก็บไข่ให้ได้ 10-15 ใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง หลังจากเราเก็บไข่แล้ว ละลายออกมาใช้ โอกาสที่ไข่จะอยู่รอดมีประมาณ 90% และเมื่อไปปฏิสนธิกับอสุจิโอกาสก็จะประมาณ 70-80%

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'

 

เนื่องด้วยกระบวนการฝากไข่และแช่แข็งไข่เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีความละเอียดอ่อนในทุกขั้นตอน โดยคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.บำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงความพร้อมของทีมห้องผ่าตัด (OR) ในกรณีที่เกิด complication ซึ่งบำรุงราษฎร์คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety) เป็นสำคัญสูงสุด

 

ผู้ที่ต้องการวางแผนการมีบุตร ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อม โดยจำเป็นจะต้องตรวจสุขภาพ โดยแบ่งเป็น การตรวจสุขภาพคู่สมรสว่ามีร่างกายแข็งแรงหรือไม่ หากแข็งแรงดีจะแนะนำการมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติก่อน รวมถึง การตรวจความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ เป็นการตรวจหาความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และเสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ โดยแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง เสริมสร้างและการบำรุงสุขภาพร่างกายเพื่อเพิ่มคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ไข่และน้ำเชื้อ

 

เทคโนโลยีเพื่อ \'ผู้มีบุตรยาก\' แนวทางสู่การ \'ตั้งครรภ์คุณภาพ\'