ยิ่งอายุมาก ยิ่งนอนยาก 'Art of Sleep' การนอนแบบให้ได้คุณภาพ

ยิ่งอายุมาก ยิ่งนอนยาก 'Art of Sleep'  การนอนแบบให้ได้คุณภาพ

อายุเพิ่มขึ้นมาก ประสิทธิภาพในการนอนยิ่งลดลงมากเท่านั้น โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ลดลง 1.12 จุด เทรนด์สุขภาพ“Art of Sleep“นอนอย่างไรให้ได้คุณภาพ มหกรรมHealth & Wealth Expo 2023

    ซัมซุงทำการศึกษาด้านสุขภาพการนอนหลับ ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมการนอนหลับ 716 ล้านคืนจากผู้ใช้ Samsung Health ทั่วโลก พบว่า คนทั่วโลกนอนหลับน้อยลง สวนทางกับเทรนด์การใส่ใจคุณภาพการนอนหลับ ระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉลี่ยทั่วโลกลดลงจาก 7 ชั่วโมง 3 นาที เหลือ 6 ชั่วโมง 59 นาทีทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าที่มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติสหรัฐ National Sleep Foundation แนะนำให้นอนวันละ 7 ชั่วโมง

     ช่วงที่ตื่นระหว่างคืนกลับมีระยะเวลานานขึ้นเป็น 50 นาที เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการนอนหลับลดลง เมื่อคำนวณระยะเวลาการนอนหลับจริงกับช่วงเวลาที่ใช้บนเตียงในแต่ละคืน พบว่า ประสิทธิภาพการนอนเหลือ 87.49 คะแนน เมื่อสำรวจพฤติกรรมการนอนหลับของคนแต่ละเพศพบว่า ประสิทธิภาพการนอนหลับของผู้ชายอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้หญิง แต่ประสิทธิภาพของผู้หญิงลดลงถึง 0.47 จุด ส่วนผู้ชายลดลง 0.26 จุด

      ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ประสิทธิภาพในการนอนยิ่งลดลงมากเท่านั้น โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ลดลง 1.12 จุด ซึ่งคิดเป็นเกือบสองเท่าของผู้ที่มีอายุ 20 ปี ที่ลดลง 0.47 จุด ส่วนช่วงอายุ 30 ปีเป็นวัยที่มีประสิทธิภาพการนอนหลับลดลงน้อยที่สุดเพียง 0.25 จุด
      โดย ยุโรปและอเมริกาเหนือนอนมากกว่า 7 ชั่วโมง ที่เหลือมีช่วงเวลาการนอนหลับต่ำกว่า 7 ชั่วโมงทั้งสิ้น โดยเอเชียมีประสิทธิภาพการนอนหลับที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 87.16 แต่ภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพการนอนหลับลดลงมากที่สุดกลับเป็นทวีปอเมริกาเหนือที่ลดลงไป 0.43 จุด

     นพ.จิรยศ จินตนาดิลก   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ คลินิกเวชศาสตร์การนอนหลับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า การนอนที่ดี จะช่วยให้วันต่อไปมีประสิทธิภาพในการทำงาน สุขภาพระยะยาวดีขึ้น การที่ทำให้สองสิ่งนี้เกิดขึ้น คือ ต้องมีการนอนที่มีคุณภาพ การนอนที่มีเวลาเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง โดยกลุ่มคนไข้ที่มีปัญหาการนอนหลับ สุดท้าย คือ จะลงท้ายด้วยภาวะการอดนอน

     ทั้งนี้ การเปลี่ยนเวลานอน นอนหลับไม่สนิท ทำให้เกิดภาวะอดนอน โดยผลข้างเคียงจากการอดนอนนั้น มีผลต่อทุกๆ ระบบในร่างกาย ทำให้เกิดความแปรปรวนในระบบต่างๆ ตั้งแต่หัวจรดเท้า สมองคิดช้า ความจำเสื่อม เป็นโรคจิตเวช ติดเชื้อง่าย หัวใจ ความดันโลหิต น้ำหนักเพิ่ม เบาหวาน เป็นต้น

      การอดนอน24 ชั่วโมง เท่ากับ 0.1% แอลกอฮอล์ 36 ชั่วโมง หลับใน มีผลกับความจำ และหากอดนอน 48 ชั่วโมง ส่งผลให้มีอาการหลอนได้ นอกจากนี้ มีการประมาณการณ์ว่าทั่วโลกราว 1,000 ล้านคน มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความแข็งแรงกระฉับกระเฉงของทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อความพร้อมต่อการทำหน้าที่อย่างยาวนานและยั่งยืน  

     นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA)อีกด้วย จากสถิติของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยปี 2563 ประชากรไทยเกือบ 20% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น และประชากรทั่วโลกป่วยด้วยภาวะนี้ประมาณ 1 พันล้านคนหรือประมาณ 14% ของประชากรทั้งโลก

     ยิ่งอายุมาก ยิ่งนอนยาก \'Art of Sleep\'  การนอนแบบให้ได้คุณภาพ

     ร่วมฟังเทรนด์สุขภาพ“Art of Sleep“ศิลปะการนอน นอนอย่างไรให้ได้คุณภาพ ได้ในงานมหกรรมHealth & Wealth Expo 2023 ภายใต้แนวคิด The Journey of life จัดโดย เนชั่น กรุ๊ป ระหว่างวันที่ 9 – 12 พ.ย. 2566 เวลา 11.00 – 20.00 น. ที่ Hall 5 – 6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กับ นพ.จิรยศ จินตนาดิลก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ คลินิกเวชศาสตร์การนอนหลับ รพ.เมดพาร์ค วันที่ 12 พ.ย. เวลา 12.30 -13.00  น ณ เวทีกลาง ฮอลล์ 5-6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

      รวมทั้งองค์ความรู้เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในแต่ละช่วงอายุอย่างครบวงจรกับโรงพยาบาลชั้นนำ  โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว มาเปิดงานและจะปาฐกถาพิเศษ Road Map to Thailand Medical Hub ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ในวันแรกด้วย นอกจากนี้ภายในงานยังมีเวทีเสวนา “เทรนด์สุขภาพ 2024” ,สมุนไพร โอกาสเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้ตั้งแต่ฐานราก , ป้องกัน-ค้นหา-ฟื้นฟู ครบทุกมิติเรื่อง ‘มะเร็งเต้านม"รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ อีกมากมาย