'ฟู้ดสไตลิสต์' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

'ฟู้ดสไตลิสต์' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

'ความอร่อยของอาหาร' เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งเสริมการบริโภค เช่นเดียวกับหน้าตาของอาหาร ยิ่งร้านอาหารร้านใด คาเฟ่ไหน มีทั้งความอร่อย หน้าตาอาหารน่ารับประทาน และบรรยากาศดีด้วยแล้ว ต่อให้ไปยืนรอคิวนานแสนนาน หลายๆ คนก็ยอม  

Keypoint:

  • รสชาติและหน้าตาของอาหาร เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเลือกร้านอาหาร หรือคาเฟ่ เพื่อไปพักผ่อนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
  • ยิ่งตอนนี้ก่อนจะรับประทานจะต้องมีการเช็กอิน แชะภาพก่อน ทำให้หน้าตาอาหารเป็นจุดขายแก่ร้านอาหาร  อาหารหน้าตาดี ถ่ายรูปสวยใครๆ ก็อยากมา
  • ฟู้ดสไตลิสต์ หรือนักออกแบบตกแต่งอาหาร กลายเป็นอาชีพที่ต้องการมากในแวดวงอาหาร ซึ่งการตกแต่งอาหารเป็นศาสตร์และศิลป์ อาหารอร่อยหน้าตาต้องดูดี ดึงดูดลูกค้าด้วย

การไปนั่งชิลๆ ตามร้านอาหาร คาเฟ่ ล้วนเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เหมาะแก่การพักผ่อนเติมพลังให้ชีวิตให้แก่คนทุกช่วงวัย หรือคนวัยทำงานที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานอย่างสร้างสรรค์

ปัจจุบันการเลือกร้านอาหาร คาเฟ่ นอกจากความอร่อยแล้ว ยังต้องมองที่การตกแต่งอาหารร่วมด้วย เพราะการไปคาเฟ่ ร้านอาหาร ชิคๆ คลูๆ ไม่ได้เพียงไปลิ้มรสอาหารเท่านั้น แต่ต้องเช็กอิน ถ่ายรูปบรรยากาศร้านอาหาร และหน้าตาของอาหารร่วมด้วย

Food Stylist (ฟู้ดสไตลิสต์) อาชีพที่มีบทบาทอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้ทำหน้าที่นักออกแบบและตกแต่งอาหารโดยใช้ทักษะความรู้ด้านศิลปะ ด้านอาหาร และความคิดสร้างสรรค์ เปรียบเสมือนศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนจานอาหาร อาศัยเรื่องของรสนิยม

ดึงจุดเด่นและความแตกต่างเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารนั้น ๆ เปรียบเสมือนคู่หูของช่างภาพ เพื่อให้ช่างภาพสามารถถ่ายภาพและวิดิโออาหารออกมาได้น่าทานมากที่สุด อาชีพฟู้ดสไตลิสต์ไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น เพียงแค่รู้จักวัตถุดิบ รสชาติ และมีความเข้าใจในเรื่องของอาหารก็เพียงพอแล้ว

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ไทยติดท็อป 10 จุดหมายปลายทางน่าอยู่และเหมาะทำงานมากที่สุดในโลก

ธุรกิจ 'อาหารเพื่อสุขภาพ' ยุคใหม่ ทำอย่างไรให้ตอบโจทย์คนทุกวัย

8 ‘เมนู’ สุขภาพ อิ่มแบบไม่ ‘อ้วน’

 

 

'ฟู้ดสไตลิสต์' ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหารและเครื่องดื่ม

เป็นเวลากว่า 40 ปี ที่ 'เชฟประชัน วงศ์อุทัยพันธ์' กรรมการบริหาร สมาคมเชฟประเทศไทย กรรมการระดับ B จากสมาคมเชฟโลก และอาจารย์พิเศษ วิชาศิลปะการตกแต่งอาหาร มหาวิทยาลัยชั้นนำ และเจ้าของร้านอาหาร MEALS AND MORE ตั้งอยู่ที่โครงการร่วมฤดีวิลเลจ ซ.ร่วมฤดี ถนนเพลินจิต ได้อยู่ในแวดวงอาหารและให้ความสำคัญในการตกแต่งอาหารมาตั้งแต่ปี 2529 ตั้งแต่สมัยที่การตกแต่งอาหารยังไม่เป็นที่นิยม

จนกระทั่งเมื่อโลกโซเซียลมีเดียได้เกิดขึ้น หลายๆ คนนิยมการถ่ายรูปอาหาร ของคาวของหวาน เบเกอรี่ เครื่องดื่ม ในร้านอาหาร คาเฟ่ ก่อนจะรับประทาน ทำให้ธุรกิจร้านอาหาร ให้ความสำคัญในการตกแต่งอาหารมากขึ้น เพื่อส่งผ่านความประทับใจ ความรู้สึกดีๆ และเป็นการโปรโมทร้านอาหารไปในตัว 

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

"ตอนนี้ก่อนจะรับประทานอาหาร นอกจากเรื่องความอร่อยแล้ว ทุกคนจะยกโทรศัพท์มือถือมาเก็บความประทับใจ ซึ่งต่อให้อาหารอร่อยมาก แต่หน้าตาอาหารไม่สวย ตกแต่งได้ไม่ดี ความน่าอร่อยของอาหารก็จะดูลดน้อยลง ดังนั้น การตกแต่งอาหาร หรือ นักออกแบบและตกแต่งอาหาร หรือ ฟู้ดสไตลิสต์ จึงเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร คาเฟ่มากขึ้น และเป็นจุดขายให้แก่เชฟมากขึ้น" เชฟประชัน กล่าว

ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ เจ้าของร้านอาหาร หรือเชฟจะมาเรียนการตกแต่งอาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่า และความน่าสนใจ เป็นหลักการตลาดให้แก่อาหาร และร้านอาหาร คาเฟ่มากขึ้น เพราะทุกคนที่ลูกค้าถ่ายรูปอาหารลงในโซเซียลมีเดียของตนเอง จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าหน้าตาอาหารมีผลต่อธุรกิจ และยิ่งได้รับการแชร์ส่งต่อไปเรื่อยๆ เป็นการตลาดทางร้าน ต่อให้ตั้งอยู่ที่ไหน ไกลบ้าน หลายๆ คนก็อยากไปลิ้มลอง

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

 

เทคนิคการจัดตกแต่งอาหารที่เจ้าของร้าน เชฟควรมี

เชฟประชัน เล่าต่อว่าหลักในการจัดตกแต่งอาหาร หรือเป็นฟู้ดสไตลิสต์นั้น สิ่งที่เชฟ หรือเจ้าของร้านควรมี คือ ทักษะความเข้าใจด้านศิลปะ เพราะการตกแต่งอาหาร อาจจะไม่ได้เป็นคนที่ทำอาหารเป็น แต่ต้องมีความชอบ มีทักษะด้านศิลปะการตกแต่งอาหาร และมีความรู้ด้านการทำอาหาร การตกแต่งอาหารจะได้ออกมาอย่างสวยงาม 

"ต้องยอมรับว่าเชฟส่วนใหญ่จะทำอาหารให้อร่อยเป็นอย่างเดียวแต่จะจัดจาน หรือตกแต่งอาหารไม่สวย ฉะนั้น กลุ่มคนที่มักจะมาเรียนเรื่องการตกแต่งอาหาร จะเป็นเจ้าของร้าน หรือเชฟทำอาหาร เพื่อให้อาหารที่ทำออกมามีความสวยงาม จัดวางได้เหมาะสม ซึ่งการทำอาหารเป็นศาสตร์และศิลปะการตกแต่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่อาหาร สร้างความดึงดูดให้แก่ร้านอาหาร คาเฟ่ได้อย่างมาก" เชฟประชันกล่าว 

ตอนที่ 'เชฟประชัน' ผันตัวเองจากเป็นเชฟทำอาหารในโรงแรม ร้านอาหารต่างๆ มาเปิดร้านอาหารของตนเอง และเป็นอาจารย์สอนการตกแต่งอาหาร หรือฟู้ดสไตลิสต์ เพราะมองเห็นโอกาส และต้องการสร้างโอกาสให้แก่เชฟมากขึ้น เนื่องจากการมีทักษะด้านการตกแต่งอาหาร จะทำให้เชฟสามารถหางานทำได้หลากหลาย และเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

เชฟประชัน เล่าต่อว่า การตกแต่งอาหารแต่ละประเภท อย่าง ของคาว หรือของหวาน เครื่องดื่ม นั้นแตกต่างกัน ซึ่งของหวานจะตกแต่งได้ง่าย เนื่องจากเน้นสีสันสวยงาม จัดตกแต่ง นำดอกไม่ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วยให้ดูสวยงามมากขึ้น หรือนำการวาดรูปเข้ามาใช้ ขณะที่ของคาว อาจจะนำซอสต่างๆ มาตกแต่งให้สวยงาม และเน้นการจัดวางให้เหมาะสมมากกว่า

"อาหารไม่ได้มีลิขสิทธิ์ การตกแต่งอาหารต้องอาศัยความรอบรู้ การศึกษาค้นคว้า ซึ่งตอนนี้ในโลกอินเทอร์เน็ตมีความรู้มากมาย ที่ทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ การเปิดสอนจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการตกแต่ง หรือจัดวางอาหาร การทำอาหาร ตกแต่งอาหารได้ดี ต้องรู้จักการจัดวาง มองเรื่องสมดุลเป็นหลัก และนำเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอ การจัดวางใหม่ การใช้ควัน เสียง เป็นต้น" เชฟประชัน กล่าว

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

 3 วิธีในการตกแต่งอาหารง่ายๆ 

ร้านอาหารในขณะนี้มีจำนวนเยอะมาก และที่อยู่รอดได้ ทุกคนต้องหาจุดเด่นของร้านอาหารให้เจอ ทั้งเรื่องของหน้าตาอาหารที่แปลกตา ภาชนะที่แปลกใหม่ รูปร่างอาหารแตกต่าง และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น  การเสิร์ฟต้มยำกุ้ง แบบแยกน้ำซุป และไปผสมรวมกันต่อหน้าลูกค้า หรือเปิดควันต่อหน้าลูกค้า ต้องทำอะไรให้แตกต่างจากร้านเดิมที่ทำมา ต้องมีฟู้ดสไตลิสต์ เพื่อทำให้อาหารธรรมดามีมูลค่าเพิ่ม 

หลักในการตกแต่งอาหารนั้น อยากให้จำ 3 วิธีง่ายๆ คือ

1. เปลี่ยนการวางเลเอาท์ หรือการจัดวางใหม่ อย่าง การจัดวางสเต็ก ทุกคนนิยมจัดวางแบบแนวนอน แต่หากเปลี่ยนมาจัดวางแนวตั้ง อาจจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป เป็นต้น

2.เปลี่ยนภาชนะให้แปลกใหม่  หากมีข้อจำกัดในการจัดวางอาหาร เช่น อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ประเภทน้ำ  การตกแต่งอาจจะทำได้ไม่มาก ดังนั้น การใช้ภาชนะที่แปลกใหม่ อย่าง ใส่หม้อดิน จะช่วยเพิ่มมูลค่าและน่าสนใจให้แก่อาหารมากขึ้น

3.เปลี่ยนวิธีการนำเสนอ อย่าง การเพิ่มหรือสร้างควันให้กับอาหาร เพื่อเพิ่มความรู้สึก ตื่นตาตื่นใจให้แก่อาหารชนิดนั้นๆ และทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาสวยงามด้วย เป็นต้น 

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

'ฟู้ดสไตลิสต์' ต้องครีเอทตกแต่งอาหารที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

เชฟสามารถเป็นฟู้ดสไตลิสต์ หรือเจ้าของร้านผันตัวเองมามีความรู้ในด้านการตกแต่งอาหารได้ เพื่อทำให้อาหารมีความน่าสนใจมากขึ้น และฟู้ดสไตลิสต์นั้นสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้มาประกอบให้อาหารในภาพออกมาสวยงาม ดูสวยน่าทานในสายตาผู้บริโภคมากที่สุด  

"ตอนนี้ถ้าเราทำธุรกิจอาหาร ต้องมีคอนเซปต์ ในการเปิดร้านอาหารอย่างชัดเจน ยิ่งทำอาหารในกลุ่มที่ซ้ำกับผู้อื่น ต้องคิดว่าอะไรที่ร้านอื่นไม่มี เราก็ต้องมองหาสิ่งนั้น และทำมันขึ้นมา การเปิดร้านอาหารอาจจะมีความคล้ายหรือเหมือนกัน สิ่งที่ทำให้แตกต่างนอกจากความอร่อยแล้ว คือ การจัดวางอาหารให้ดูดี และแปลกใหม่กว่าเขา ฟู้ดสไตลิสต์จึงเป็นตัวช่วยเสริมได้หลายอย่าง ถ้าทำเรื่องฟู้ดสไตลิสต์ ขายได้จริง ต้องรู้จักลูกค้า และต้องมีทีมเชฟที่สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้ เพราะการเป็นฟู้ดสไตลิสต์ ไม่ใช่เพียงครีเอท หรือรังสรรค์ให้อาหารสวยงาม แต่ต้องทำได้จริงในเวลาที่เหมาะสม ใครๆ ก็อยากทานอาหารอย่างรวดเร็ว"

การจัดตกแต่งจานอาหารเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจอาหารยุคนี้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสวยงามน่ารับประทานให้กับจานอาหารของลูกค้าแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าและเพิ่มยอดขายได้ด้วยรูปแบบใหม่ของอาหารจานใหม่ สร้างความแตกต่างแก่อาหารจานเดิมให้น่าสนใจขึ้น

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า 'ศิลปะการตกแต่งอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า' ได้จริงเป็นอย่างไร? สามารถพบกับ 'เชฟประชัน' ได้ในงาน 'Food & Hospitality Thailand 2023' จัดโดยอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย 

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ เชฟ ผู้ที่สนใจต้องการเรียนรู้และยกระดับศิลปะบนจานอาหาร สามารถเข้าร่วมเวิร์กชอป 'ศิลปะการจัดตกแต่งอาหารเพื่อเพิ่มมูลค้า' (Food Stylist for Value Added Workshop) ได้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 15.00 -18.00 น. ณ Workshop Experience ฮอลล์ 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้สนใจลงทะเบียนที่  https://bit.ly/FHT2023_FoodStylist ค่าสมัครท่านละ 2,675 บาท ผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปทุกท่านจะได้รับประกาศนียบัตรหลังการเวิร์กชอป (ด่วน! รับจำนวนจำกัด) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชุดาพร โทร.0-2036-0573 E-mail: [email protected] 

หรือจะติดตามข้อมูล งาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ที่ www.fhtevent.com  Facebook : Food & Hospitality Thailand

ถ้าหากอาหารดูน่ารับประทาน มีสีสันที่สดใสสวยงาม ก็จะทำให้คนเลือกที่จะสั่งอาหารจานนั้น เลือกไปทานที่ร้านอาหารนั้น และที่สำคัญคือเวลาที่เราสั่งอาหารมาทาน เราไม่ได้หวังแค่ว่าจะทานให้เสร็จๆ ไป เราจะคำนึงถึงสัมผัสทั้ง 5 ด้วยนั่นก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ

อย่างไรก็ตาม การจัดวางที่ดีทำให้ภาพที่ออกมา และหน้าตาอาหารดูน่าทานมากขึ้นควรคำนึงถึงการสร้างโครงร่าง โดยเริ่มต้นจากการวาดรูป วาดโครงคร่าวๆให้เห็นภาพจานอาหาร เลือกหยิบส่วนผสมที่ต้องการวางลงไปบนจาน และใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อทำให้การตกแต่งอาหารดูเรียบง่าย

รวมถึง สร้างสมดุลบนจาน เล่นสี รูปทรงและเนื้อพื้นผิว เพื่อให้มั่นใจว่าคนที่รับประทาน จะไม่รู้สึกว่าเยอะเกินไป และการจัดตกแต่งอาหาร ไม่ควรกลบรสชาติและประโยชน์ของอาหารนั้นด้วย คำนึงสัดส่วน ปริมาณส่วนผสมที่ถูกต้อง และใช้ตัวจานช่วยเติมเต็มให้อาหารดูสมบูรณ์  และเน้นส่วนผสมหลัก จัดจานโดยเน้นส่วนผสมหลักให้มีความโดดเด่นออกมา และให้ความสำคัญกับวัตถุดิบรองอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ของตกแต่งจาน ซอส และแม้กระทั่งตัวจานเองด้วย

\'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ \'ฟู้ดสไตลิสต์\' สุดครีเอทตกแต่งอาหาร อาชีพที่วงการอาหารต้องการ