ภาคประชาสังคม-นักวิชาการ ร้องเดินหน้าประชาธิปไตย เคารพมติเสียงข้างมาก

ภาคประชาสังคม-นักวิชาการ ร้องเดินหน้าประชาธิปไตย เคารพมติเสียงข้างมาก

2 ข้อเรียกร้ององค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการและนักกิจกรรมทางสังคม ผลักดันเดินหน้าประชาธิปไตย แนะเคารพเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ

วันนี้ (18 พฤษภาคม 2566 ) องค์กรภาคประชาสังคมมากกว่า 70 องค์กร  อาทิเช่น คณะกรรมการ​ประสานงาน​องค์กร​พัฒนา​เอกชน​ (กป.อพช.) กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม  มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรีนพีซ-ประเทศไทย กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย(Non-Binary Thailand)​

เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี-ประเทศไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  สถาบันปรีดี พนมยงค์  คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ฟังเสียง 'New Gen' บนจุดยืนการเลือกตั้ง 66 ตั้งรัฐบาลไม่โดนใจ จะเกิดอะไร?

งานแบบไหนที่คนรุ่นใหม่ SAY YES อยากทำงานด้วยมากที่สุด

เปิดวิธีทำให้ “คนรุ่นเก่า” ในองค์กร รับฟังเสียงของ “คนรุ่นใหม่”

รวมทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนกว่า 393 คน อาทิ นางทิชา ณ นคร นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง นายจะเด็จ เชาวน์วิไล นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ นายธารา บัวคำศรี นายประยงค์ ดอกลำใย  ดร.กฤษฎา บุญชัย นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์

นายสมบูรณ์​ คำแหง น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล น.ส.สุภาวดี เพชรรัตน์ น.ส. สิรินาฏ ศิริสุนทร นางสุนทรี หัตถี  เซ่งกิ่ง น.ส.บุญยืน ศิริธรรม  ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท และ นายชูวิทย์ จันทรส  เป็นต้น ได้ลงชื่อเรียกร้องต่อสมาชิกวุฒิสภา นักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ  เพื่อเดินหน้าประชาธิปไตย และเคารพเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ


2 ข้อเรียกร้องจากภาคประชาสังคม
 
โดยในข้อเรียกร้องได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยวิถีประชาธิปไตย  โดยเลือกพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเป็นธรรม พรรคพลังสังคมใหม่ รวม 313 เสียง เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม

แต่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่อาจถูกขัดขวางจากสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยการลงมติไม่เห็นชอบ หรือไม่ออกเสียงเมื่อมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย และจะก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองตามมา จึงมีข้อเรียกร้อง 2 ประการคือ
 
1. ให้สมาชิกวุฒิสภาลงมติสนับสนุนชื่อนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเสนอชื่อของพรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเดินหน้าการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนมากกว่าจะมุ่งสืบทอดอำนาจกลุ่มบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร
 
2. เรียกร้องให้สมาชิกพรรคการเมืองทุกพรรคการเมือง ลงคะแนนเสียงสนับสนุนการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีดังกล่าว แม้พรรคการเมืองของตนจะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก เพื่อเคารพคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชน และแสดงเจตนารมณ์ว่าตนและพรรคการเมืองของตนนั้นยึดมั่นต่อวิถีการปกครองตามระบบประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น
 
โดยในท้ายคำแถลงได้ระบุว่า

การลงคะแนนเสียงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภา และพรรคการเมืองตามข้อเรียกร้องนี้ มิใช่เป็นข้อเสนอเพื่อสนับสนุนบุคคลใด หรือพรรคการเมืองใดให้เป็นนายรัฐมนตรีและรัฐบาล แต่เป็นข้อเรียกร้องโดยประสงค์มิให้วุฒิสภาและคณะรัฐประหารเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งและสร้างปัญหาทางการเมืองขึ้นมาเสียเอง  เพราะนี่คือห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนผ่านกติกาทางการเมืองที่ให้อำนาจคณะรัฐประหารมีบทบาทสำคัญในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ไปสู่วิถีการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วยสันติวิธีเยี่ยงนานาอารยประเทศ โดยผ่านการลงคะแนนเสียงของประชาชนทั่วประเทศ