7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

ศธ.มอบโล่เกียรติยศ เชิดชู ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำ 7 นวัตกรรมประจัญบาน ยกระดับคุณภาพ - ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในพื้นที่ห่างไกล สร้างนักเรียนรู้เชิงรุก และนักเรียนมืออาชีพ

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เปิดเผยว่า ด้วยพันธกิจของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับชาติ นานาชาติ และการให้บริการวิชาการที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจ และสังคม โดยการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตให้พร้อมเรียนรู้และนำความรู้ช่วยเหลือสังคม และประเทศชาติ

ดังนั้น กลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนาฯ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงได้ออกแบบนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับโล่ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษายอดเยี่ยม จากน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ภายในงาน "Kickoff การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการสร้างรายได้" เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยนวัตกรรมที่ทำให้ได้รับโล่เกียรติยศ 7 นวัตกรรม ได้แก่

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 1 คือ โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน หรือ Community Innovation Project หรือ CIP เป็นกระบวนการ Project Approach จุดเด่น คือ การเชื่อมโยงชุมชน และสภาพแวดล้อมเข้าสู่ห้องเรียน โดยให้ผู้เรียนสำรวจชุมชนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ก่อนออกแบบหัวข้อในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีอิสระเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ มีความเป็นเจ้าของโครงการ และครูจะใช้เครื่องมือต่างๆ กระตุ้นการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เรียนสามารถออกแบบนวัตกรรม ที่ช่วยพัฒนาชุมชนของตนเองได้

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

 

  • 7 นวัตกรรมประจัญบาน ลดความเหลื่อมล้ำ

นวัตกรรมที่ 2 คือ IP2: Innovation + (Project Based Learning x Phenomenal Based Learning) โดยครูจะดึงกระแสสังคมหรือกระแสโลกมาสร้างเป็น theme ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ในการชวนพูดคุย และนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จากนั้นจึงทำการอภิปรายและสังเคราะห์ เพื่อให้ได้สิ่งที่สนใจมากเพียงพอจะไประดมสมองและเส้นทางการเรียนรู้ของตัวเอง จากนั้นจึงกลับสู่กระบวนการโครงงานนวัตกรรม ซึ่งผู้เรียนจะสามารถคิดสร้างนวัตกรรมที่แก้ปัญหาในวงกว้างที่มีคุณค่ามากขึ้น เพราะเข้าใจปัญหาภาพใหญ่ในระดับสากล ไม่ใช่แค่เพียงในชุมชนเท่านั้น

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 3 เป็นแนวคิดเพื่อพัฒนาเครื่องมือ ที่เรียกว่า Self-directed Learning Package หรือ Blackbox เป็นชุดการเรียนรู้ใน Blackbox จะออกแบบเป็นบทเรียนแบบ Non-Electronic จุดเด่นคือบทเรียนที่เด็กสามารถเลือกเวลาเรียนเอง เลือกเรียนตามความสนใจโดย ไม่เรียงตามลำดับ โดยชุดบทเรียนได้บูรณาการวิชาต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับชีวิต เชื่อมโยงความสนใจจากเรื่องราวรอบตัว ตั้งแต่ตัวเอง ครอบครัว ไปจนถึงพื้นที่ชุมชนที่อาศัย ซึ่งนอกจากทำให้ไม่เกิด Learning loss แล้วยังเกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วย

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 4 Galaxy of creativity เป็นระบบเพื่อเสริมสร้างและประเมินความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวความคิด อยู่บนปรัชญาของความไร้กรอบขอบเขต ของความคิด มีความเป็นพลวัตน์ น่าค้นหาน่าตื่นเต้น ซึ่งระบบฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ ทำงานแบบออนไลน์ในระบบอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะต้องเข้าไปที่เว็ปไซต์ https://www.galaxyofcreativity.com/ ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่รวบรวมระบบฐานข้อมูลย่อยไว้หลายระบบด้วยกัน

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

 

  • มุ่งเน้นสร้างนักเรียนรู้เชิงรุก และนักเรียนมืออาชีพ

โดยแบ่งออกเป็นระบบย่อยต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ (learning Kingdom) ,ระบบคลังแผนการสอน Active Learning เป็นระบบที่จัดทำและรวบรวม แผนการสอนที่มีประสิทธิภาพที่คิดค้นร่วมกันระหว่างทีมวิจัยคณะครูจากประเทศไทยและจากองค์การ OECD รวมถึงที่ได้จากการแปลแผนการสอนที่สมาชิกในโครงการอีก 14 ประเทศร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระบบการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ ในวิชาชีพครู สำหรับให้ครูใช้ประเมินทักษะของคนเอง , ระบบการวัดและประเมินความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ของผู้เรียน เป็นแบบวัดออนไลน์ , ระบบจัดเก็บเครื่องมือการประเมินและเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ (Creative Tool) เป็นต้น

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 5 FAB Studio (Fabrication Studio) พื้นที่เรียนรู้ที่ออกแบบสร้างให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยมุ่งให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับการทำโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ที่เปิดให้ผู้เรียนเข้ามาสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น เครื่องมือช่าง หรืออุปกรณ์ดิจิตอลที่สามารถสร้างชิ้นงาน 3D ได้ ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานต่างๆ ให้เป็นจริงได้ เป็นกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงนวัตกรรม

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 6 Application ประเมินและให้คำปรึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ผู้เรียน เป็นระบบการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนรายบุคคล ครูจะเข้าไปประเมินพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละตัวที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะ โดยระบบประมวลผลผ่าน Application ซึ่งจะดึงพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละสมรรถนะที่ควรปรับปรุงและพัฒนา มาประกอบกันเป็นบทคำปรึกษา ที่ครูสามารถใช้เป็น feedback ให้กับนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนอยู่ในระดับใด จะได้เตรียมแผนเพื่อพัฒนา และสามารถให้ข้อแนะนำกับผู้เรียนในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาอย่างแท้จริง

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

นวัตกรรมที่ 7 ยุวนวัตกรสร้างชาติ หรือ อสม. ด้านการศึกษา หรือครูชาวบ้าน เป็นนวัตกรรมส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบอิสระจากโครงสร้างปกติ ​​เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และแก้ปัญหาทุพโภชนาการในสถานการณ์ยากลำบากแก่เด็กประถม และพัฒนาทักษะต่างๆ ผ่านการเป็น อสม. ประเด็นสำคัญสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนด้านการศึกษา โดยผู้อำนวยการและครู ร่วมกันออกแบบชุดการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคม ให้เกิดกิจกรรมที่ชาวบ้านในชุมชนได้มีโอกาสทำโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนของตนเอง

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

ทั้งนี้ บุคลากรที่สำคัญในนวัตกรรมนี้ คือเยาวชนหรือนักเรียนอาวุโสที่ผ่านการคัดเลือก มีประสบการณ์การทำโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน มีภาวะผู้นำ มีความเป็นนักเรียนรู้เชิงรุก และนักเรียนมืออาชีพ ด้วยการผันตนเองเป็น Facilitator ร่วมทีมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน จัดการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning ให้แก่รุ่นน้องนักเรียนชั้นประถม และเชิญผู้ปกครองมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อจะสร้างชิ้นงานที่เป็นสินค้าทำรายได้เจือจุนครอบครัว

โดยกระบวนการเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษาของลูกหลาน และเข้าใจว่าการศึกษาในปัจจุบันเน้นสร้างคุณค่าแก่บุคคลและชุมชนมากขึ้น เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาอย่างแท้จริง และเล็งเห็นถึงเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนร่วมกันกับโรงเรียนและชุมชน

7 นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล

“ผมขอเรียกนวัตกรรมดังกล่าวนี้ว่า 7 นวัตกรรมประจัญบาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการสู้รบเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยนวัตกรรมทั้ง 7 นี้ ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ในการพัฒนาและการนำไปทดลองใช้ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นำร่องจังหวัดสระแก้ว ซึ่งได้ดำเนินงานกับทุกโรงเรียนเต็มจังหวัดแบบ Whole Province Approach ที่กระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า สระแก้วโมเดล จนทำให้จังหวัดสระแก้วได้การรับรองให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นจังหวัดล่าสุดอีกด้วย” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว