'หุ้นไทย'วันนี้(30 พ.ค.)ปรับตัว 1,545 / 1,550 จุด สหรัฐบรรลุข้อตกลงเพดานหนี้

'หุ้นไทย'วันนี้(30 พ.ค.)ปรับตัว 1,545 / 1,550 จุด สหรัฐบรรลุข้อตกลงเพดานหนี้

โบรกคาด "หุ้นไทย" วันนี้ (30 พ.ค.2566) ปรับตัวขึ้นแนวต้าน 1,545 / 1,550 จุด ภาวะตลาดได้ sentiment เชิงบวกจากสหรัฐบรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ รวมถึงแรงซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวช่วยหนุนทิศทางดัชนี

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ประเมินดัชนี "หุ้นไทย" วันนี้ (30 พ.ค.2566)ปรับตัวขึ้นแนวต้าน 1,545 / 1,550 จุด ภาวะตลาดได้ sentiment เชิงบวกจากสหรัฐบรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ รวมถึงแรงซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวช่วยหนุนทิศทางดัชนี อย่างไรก็ตามความกังวล FED ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม 13-14 มิ.ย. รวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ขายต่อเนื่องจะกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัว และ 31 พ.ค. ติดตามการประชุมกนง.คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.2% เป็น 2.00% 

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ :

  •  BBL KTB TTB KBANK SCB SAPPE ICHI แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
  •  AMATA WHA ROJNA NYT อานิสงส์ค่ายรถ EV ตั้งฐานพี่การผลิตในไทย
  • หุ้นที่ได้เข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่  Global Standard ( MAKRO ) Global Small Cap ( JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB,TU ) มีผล 31 พ.ค.

  

ประเด็นสำคัญวันนี้ที่ต้องติดตาม

 (+/-) วันนี้จับตาส่งออกไทยเดือน เม.ย. ภาพรวมยังหดตัวแต่ให้โฟกัสเป็นรายกลุ่มสินค้า: เบื้องต้น Consensus คาดหดตัว 1.9 - 2%yoy  หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 อย่างไรก็ตามอยากให้โฟกัสเป็นรายสินค้าเพื่อหาข้อมูลการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจดังกล่าว อาทิ อาหารสัตว์ รวมถึงกลุ่มที่มีโมเมนตัมโตต่อเนื่อง อาทิ เครื่องดื่ม, เลนส์ และข้าวโพด เป็นต้น

  (-) พรุ่งนี้ ประชุม กนง. คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แต่จะเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้าย:  เราคาดว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จาก 1.75% เป็น 2% แม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่กรอบเป้าหมายแล้วแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อเพิ่มเครื่องมือรองรับหาก ศก. มีการชะลอตัวอย่างไรก็ตามเราคาดว่าการปรับขึ้นครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อประเมินผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

  (+/-) รายงานภาวะ ศก. เดือน เม.ย. ภาพรวมยังเป็นบวกโดยเฉพาะการบริโภคและท่องเที่ยวฯ: แบงก์ชาติจะรายงานภาวะ ศก. เดือน เม.ย.ในวันที่ 31 พ.ค. เช่นกัน โดยภาพรวมยังมีการขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของภาคการบริโภคและการท่องเที่ยวจากการใช้จ่ายและเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ภาคการผลิตมีลุ้นดีขึ้นตามดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน เม.ย. ที่พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 60.4