ธปท.ชี้ ‘ลดดอกเบี้ย’ ทางรอดลูกหนี้ ออกจาก ‘หนี้เรื้อรัง’

ธปท.ชี้ ‘ลดดอกเบี้ย’ ทางรอดลูกหนี้ ออกจาก ‘หนี้เรื้อรัง’

ธปท.สมาคมธนาคารไทย ชี้ การลดดอกเบี้ยช่วยลูกหนี้กลุ่ม หนี้เรื้อรัง ช่วยลูกหนี้ให้หลุดจากวงจรหนี้ได้ และมีเงินเหลือเพียงพอใช้ดำรงชีพ แต่ต้องไม่นำไปสู่ การก่อหนี้เพิ่มและ พฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้

     นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันธปท.อยู่ระหว่างเร่งทำมาตรการ แก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมทั้ง ลูกหนี้เสีย หรือกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ลูกหนี้เรื้อรัง และลูกหนี้ใหม่ให้เป็นหนี้ที่มีคุณภาพ ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะมีความชัดเจนในเร็วๆนี้

      อย่างไรก็ตามมองว่า ในส่วนของการลดดอกเบี้ย ในส่วนลูกหนี้เรื้อรัง ก็ถือเป็นทางออก ที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถออกจากหนี้เรื้อรังได้ แต่ประเด็นดอกเบี้ย อย่างไม่ใช่เครื่องมือเพียงอย่างเดียว อาจมีบริบทอื่นๆร่วมด้วย   ซึ่งขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างหารือกับสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้ ให้มาตรการเป็นรูปธรรมมากขึ้น 

 

      ด้านผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แนวทางการแก้หนี้ครัวเรือนของธปท. ถือเป็นสิ่งที่ดี ส่วนการลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเรื้อรัง ส่วนนี้อาจต้องมาปล่อยกับ การปล่อยกู้อย่างรับผิดชอบ หรือ Responsible Lending ด้วย

       ต้องไม่จำไปสู่การก่อหนี้เพิ่ม หรือและต้องระวังไม่ให้เกิด พฤติกรรมจงใจผิดนัดชำระหนี้หรือ Moral Hazard 
       

         ดังนั้น หากไม่ปรับอะไรเลย ลูกหนี้เหล่านี้อาจไม่สามารถออกจากสภาพหนี้เดิมได้  และต้องทำให้ลูกหนี้ต้องมีเงินเหลือเพื่อใช้ดำรงชีพ และมีเงินเพียงพอกลับมาชำระหนี้ได้

      แต่การทำมาตรการเหล่านี้ จะต้องมีกลไก แยกแยะลูกหนี้แต่ละกลุ่มให้ชัดเจนด้วย

      ส่วน กรณีที่มีข้อเสนอ ให้เพิ่มจำนวนธนาคารเพื่อทำให้ต้นทุนถูกลงนั้น มองว่า การพิจารณาจะต้องดูหลายองค์ประกอบ เนื่องจากต้นทุนมีหลายตัว เช่น ต้นทุนหนี้เสีย และต้นทุนการเข้าถึงและการติดตามหนี้

        ซึ่งปกติจะไม่มีการนำเรื่องนี้เข้ามาอยู่ในสมการ ทำให้มีผู้เล่นหลายรายทยอยออกจากระบบไป ซึ่งสะท้อนภาพการแข่งขันหลายอย่าง ดังนั้น การมีผู้เล่นมากขึ้น จะนำไปสู่การแข่งขันที่สมบูรณ์มากขึ้น  

      แต่อย่างไรก็ดี หากพูดสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันไม่ได้หมายถึงแค่ธนาคารพาณิชย์ แต่รวมไปถึง ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (น็อนแบงก์) สหกรณ์ ผู้เช่าซื้อ ซึ่งหากดูผู้เล่นปัจจุบันมีไม่น้อย โดยการเพิ่มจำนวนจะต้องมาพร้อมเสถียรภาพ และเกิดการแข่งขันมากขึ้น แต่ต้องทำให้เกิดการเท่าเทียมในการแข่งขัน และดูโครงสร้างการเข้าถึงของลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

       สำหรับกรณีจำนวนใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) จำนวน 3 ไลเซนส์นั้นเพียงพอหรือไม่นั้น มองว่า จำนวนใบอนุญาตจะ 3 หรือ 4 ไลเซนส์ ไม่ได้สำคัญกับจำนวน แต่ต้องดูการแข่งขันที่ยั่งยืน สมดุล และมีคุณภาพ รวมถึงมิติการปล่อยสินเชื่อด้วย