‘อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์’ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด รับเศรษฐกิจสีเขียว

‘อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์’ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด รับเศรษฐกิจสีเขียว

TCMA ประกาศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ผนึกกำลังทุกภาคส่วน พร้อมนำนวัตกรรมยกระดับอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด เชื่อมโยง Green Funds จากนานาชาติ มุ่งสู่การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ลดโลกร้อน

KEY

POINTS

  • อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ขณะเดียวกัน หนึ่งในความท้าทาย คือ การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) 
  • TCMA ความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทย ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายของการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
  • ทิศทางการทำงาน ในระยะ 2 ปี 2567-2569 จะเร่งเดินหน้าผนึกกำลังทุกภาคส่วน นำนวัตกรรมยกระดับอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด เชื่อมโยง Green Funds จากนานาชาติ มุ่งสู่การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ลดโลกร้อน

TCMA ประกาศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ผนึกกำลังทุกภาคส่วน พร้อมนำนวัตกรรมยกระดับอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด เชื่อมโยง Green Funds จากนานาชาติ มุ่งสู่การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ลดโลกร้อน

ในปี 2566 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์โดยรวมเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าภาคการเกษตร เป็นปัจจัยสนับสนุนให้งานโครงการภาคเอกชนทยอยกลับมาเติบโต รวมถึงโครงการภาครัฐที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลจากรายงาน สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย เผยถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2567 โดยรวมยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัจจัยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง และการขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถกลับมาขยายตัวได้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การก่อสร้างของภาคเอกชนทยอยกลับมาเติบโต อีกทั้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Project) ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ยังคงเผชิญกับปัจจัยที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม และการรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ งบประมาณประจำปีที่ล่าช้า ส่งผลต่อความต่อเนื่องของโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ ที่ยังคงดำเนินอยู่ และการเริ่มโครงการใหม่ตามแผนงาน

 

รวมถึงภาวะค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นและภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อกำลังซื้อโดยตรงของผู้บริโภค ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายในเรื่องการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) และสถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจโลกอันส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

 

‘อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์’ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด รับเศรษฐกิจสีเขียว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

เดินหน้า Net Zero ปี 2593

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดำเนินอุตสหากรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายของการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

 

ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย กล่าวในงานสัมภาษณ์พิเศษ (Exclusive Talk) “TCMA ประกาศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซีเมนต์ มุ่งสู่ Net Zero 2050 พร้อมสานความร่วมมือนานาชาติรับมือเมกะเทรนด์เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)” โดยระบุว่า TCMA เน้นทำงานบูรณาการทั้งในและต่างประเทศ นโยบายหลักของกลุ่มอุตสาหกรรมปูนไทยซึ่งมีสมาชิก 7 ราย ยังคงเดินหน้าต่อไป คือ

1. พัฒนาโปรดักส์อินโนเวชัน ผลักดันการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการพัฒนาสูตร และลดคาร์บอนลงเรื่อยๆ เพิ่มความพิเศษของเนื้อปูน และมีการพัฒนาร่วมกับต่างประเทศ เพื่อให้ไทยเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องในด้านธุรกิจซีเมนต์เต็มรูปแบบ นำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึง การถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน

 

2. นโยบายเรื่องพลังงาน โดยทำงานร่วมกับภาครัฐ ให้ข้อมูลการทดลองพื้นที่สระบุรี ในเรื่องของการใช้พลังงาน ทำอย่างไรให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ปรับปรุงการผลิต นำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงพลังงานทดแทน เพื่อให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์สามารถแข่งขันในระดับโลก

 

‘อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์’ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด รับเศรษฐกิจสีเขียว

 

 

“สำหรับ สระบุรีแซนด์บ็อก มีการเชื่อมต่อการใช้โครงข่ายพลังงานระหว่างกันในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ระบบไมโครกริด (Microgrid) เชื่อมต่อกันเองของระบบไฟฟ้าในโรงงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ผลิต และ สมาร์ตกริด (Smart Grid) เชื่อมต่อระหว่างสมาชิก ใช้ระบบเสาไฟฟ้าจำหน่ายที่เชื่อมระหว่างกัน หรือทดลองขอใช้ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าเพื่อให้บริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น”

 

ถัดมา คือ การทำ Grid Modernization การพัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้ไทยเปลี่ยนผ่านพลังงานไฟฟ้า ไปสู่ Low Carbon ลดต้นทุนค่าไฟได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 

และด้านพลังงานความร้อน ในการช่วยเกษตรกรสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ ลดการใช้ถ่านหินที่นำเข้า เฉลี่ย 30-40% และยังคงเดินหน้าต่อ สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ สามารถนำเงินที่ซื้อถ่านหินมาซื้อพืชพลังงาน หญ้าเนเปียร์ ขยะจากการเกษตร ฟางข้าว ใบอ้อย รวมถึงขยะเทศบาล โดยทดลองที่สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เนื่องจากมีโรงซีเมนต์อยู่กว่า 70-80% ช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ยกระดับ GDP ของประเทศ ลดผลกระทบการเผาของเกษตรกร ลด PM2.5

 

3. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พัฒนาเหมืองหินปูนสู่ความยั่งยืน รวมเหมืองระหว่างผู้ผลิต 2 ราย เช่น เขาวงโมเดล ระหว่างปูนเอเซีย และ เอสซีจี ทำให้การใช้ทรัพยากร มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นตัวอย่างของภาครัฐในการนำไปใช้กับเหมืองอื่น เช่น เหมืองทราย เป็นต้น

 

เป้าหมายระยะ 2 ขับเคลื่อนพันธกิจ 4 ด้าน 

สำหรับทิศทางการทำงานของ TCMA ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายในประเทศไทย ที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายระยะยาวร่วมกัน โดยในระยะ 2 ปีนี้ 2567-2569 จะเร่งเดินหน้าผนึกกำลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุพันธกิจใน 4 ด้าน ได้แก่

1. การพัฒนาและวิจัยปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำชนิดใหม่ๆ เช่น Calcined Clay Cement ต่อเนื่องจากที่ประเทศไทยได้ก้าวสู่ Thailand’s New Era of Low Carbon Cement ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นปูนซีเมนต์โครงสร้างหลัก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทั้งนี้ เมื่อสิ้นปี 2566 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 600,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

2. การเร่งขยายผลการทำเหมืองให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามนโยบายภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เพื่อให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาพื้นที่เหมืองร่วม ‘เขาวงโมเดล’ ตามแนวทางเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Practices)

 

และการนำนวัตกรรม/เทคโนโลยีการทำเหมืองมาช่วยยกระดับการทำเหมือง ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและนำประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึง การบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและชุมชนในพื้นที่ สามารถเป็นแหล่งน้ำและจุดเรียนรู้สำหรับชุมชน

 

3. การเชื่อมโยงสร้างระบบนิเวศ และนำจุดแข็งของกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มาช่วยจัดการวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว (Waste) ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) ปัจจุบันอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้นำ Waste ทั้งจากภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และการเกษตร (ภายหลังผ่านกระบวนการ Reduce, Reuse, Recycle) มาใช้เป็นเชื้อพลิงในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Co-processing Kiln)

 

ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดมลพิษ PM2.5 PM10 ลดความต้องการพื้นที่ฝังกลบ Zero Landfill และที่สำคัญลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย TCMA ตั้งเป้าในปี 2030 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 6.9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

4. การนำนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซีเมนต์ เปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด (Energy Transition)

 

สระบุรี แซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ

สำหรับ สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ” หรือ “PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City” เป็นการทำงานในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้แนวทาง 3 C คือ Communication-Collaboration-Conclusion step-by-step และจำลองจังหวัดสระบุรีให้เป็นเสมือนตัวแทนประเทศไทย เป็นต้นแบบแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก

ผ่านโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามกรอบความร่วมมือในแต่ละสาขา ซึ่งสอดคล้องกับ “Thailand NDC Roadmap” และเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเริ่มดำเนินการโครงการตัวอย่าง ครอบคลุมทั้ง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่

1) ด้านพลังงาน (Energy) เช่น โครงการพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โครงการปลูกหญ้าเนเปียร์เป็นพืชพลังงาน โครงการ Grid Modernization โครงการศึกษาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)

2) ด้านกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use : IPPU) เช่น การผลิตปูนลดโลกร้อน

3) ด้านการจัดการของเสีย (Waste) เช่น โครงการจัดการขยะเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Fuels: AF) และเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF)

4) ด้านการเกษตร (Agriculture) เช่น การส่งเสริมทำนาน้ำน้อย-คาร์บอนต่ำ

5) ด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use, Land-Use Change and Forestry : LULUCF)

 

การดำเนินโครงการลักษณะนี้จะเกิด win-win-win เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยความสำเร็จ ต้องการความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันดำเนินการ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆ อาจมีกฎระเบียบที่ต้องแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้

 

"การมีโครงการต้นแบบเหล่านี้มากๆ จะเป็นตัวอย่าง จะทำให้เห็นแนวทางดำเนินการ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เรื่องใดทำได้จะนำไปขยายผลสู่จังหวัดอื่น เรื่องใดทำไม่ได้ต้องหาแนวทางแก้ไขหรือทางออกที่ดีต่อไป เช่น การเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้กฎระเบียบให้เหมาะสม ทั้งหน่วยงานท้องถิ่น หรือหน่วยงานกลางของรัฐ” ดร. ชนะ กล่าว

 

‘อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์’ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด รับเศรษฐกิจสีเขียว

 

ดึง Green Fund เข้ามาในประเทศไทย

ดร.ชนะ กล่าวย้ำตอนท้ายว่า TCMA มีความตั้งใจมาก และเป็นนโยบายหลักที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการยกระดับผสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ ทั้งระดับภูมิภาค เช่น ASEAN Cement Collaboration towards Decarbonization หรือจากการเข้าร่วมประชุม COP27 และ COP28 อย่างต่อเนื่อง

 

รวมถึงในการทำงานอย่างใกล้ชิดในกับ Global Cement and Concrete Association (GCCA) ซึ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ และ World Economic Forum ด้วยการนำกรณีศึกษาเป็นโครงการที่ภาครัฐสามารถนำไปพูดคุยระหว่างรัฐต่อรัฐ และเพื่อเชื่อมโยงแหล่งทุนสนับสนุนต่างๆ ที่เรียกว่า Green Fund เข้ามาในประเทศไทย

 

“เพราะในเวทีระดับโลกมีทุนสนับสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้วให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาให้ดำเนินการไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จะเห็นว่า TCMA ซึ่งเป็นสมาคมความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทย พร้อมทำงานกับภาครัฐทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก รวมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนและทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องจริงจัง เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero 2050” 

 

"ท้ายนี้ สิ่งสำคัญ ที่ทำให้การดำเนินงานสำเร็จ มองว่า นโยบายต้องชัดเจน ในการขับเคลื่อน สร้างโครงสร้างพื้นฐานท่มีความสามารถทางการแข่งขัน ถัดมา คือ การมีเทคโนโลยี ในการปิดช่องว่าง ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึง ด้านการเงิน หากมีนโยายสนับสนุนการดึงเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เข้ามาสนับสนุน และ สุดท้าย เรื่องนี้เป็นระยะยาวที่ต้องทำต่อเนื่อง ในการปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ รุ่นต่อรุ่น เพราะการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา การสร้างวัฒนธรรมด้าน Green ทำให้เด็กรุ่นใหม่มามีส่วนร่วมให้ไทยเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้อย่างสมบูรณ์" ดร.ชนะ กล่าว