ถอดรหัสสู่ความยั่งยืน 'ปูนซีเมนต์นครหลวง' ผ่านแนวคิด ESG

ถอดรหัสสู่ความยั่งยืน 'ปูนซีเมนต์นครหลวง' ผ่านแนวคิด ESG

'ปูนซีเมนต์นครหลวง' ประกาศวิสัยทัศน์ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก 'ESG' ชู ‘นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก’ พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ เดินหน้าผสานธุรกิจ ชุมชน สถาบันการศึกษา พร้อมดึงคนรุ่นใหม่ร่วมแสดงพลังขับเคลื่อนภารกิจลด 'คาร์บอนฟุตพริ้นท์'

 

มนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เผยถึง นวัตกรรมพลังงานทางเลือก เพื่อความยั่งยืนในกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ผ่านการบรรยายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อ ‘Green Cement for Greener Future’ ในงานมหกรรมนวัตกรรมใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ‘SITE 2024’ โดยระบุว่า กว่า 55 ปีที่กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ได้ผลิต และจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ และบริการในกลุ่มบริษัท โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม

 

โดยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามจรรยาบรรณธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งดูแลชุมชนและสังคมรอบข้าง (ESG) ตามค่านิยมองค์กร 'ห่วงใย ใส่ใจ อนาคต' (Caring About Our Future) โดยปฏิบัติตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลที่ดี และรับผิดชอบ ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ถอดรหัสสู่ความยั่งยืน \'ปูนซีเมนต์นครหลวง\' ผ่านแนวคิด ESG

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในรูปแบบถุง 100% 

 

ปูนซีเมนต์นครหลวง ได้ตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างต่อเนื่องในทุกกิจกรรมของบริษัท เพื่อสร้างความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกันกับชุมชน สังคม และกับทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ.2573 (INSEE Sustainability Ambition 2030) 

 

ในทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการบรรลุเป้าหมายลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของกลุ่มบริษัทให้ได้ต่ำกว่า 470 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตัน ดำเนินการอย่างรอบด้าน ทั้งการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Green product) เข้าไปในพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกในประเทศไทยที่ขับเคลื่อนตลาดเปลี่ยนจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เป็นปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในรูปแบบถุง 100% ตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้แบรนด์ 'อินทรีเพชรพลัส' และ 'ปูนซีเมนต์อินทรีเพชร Easy Flow'


อีกทั้ง ได้รับการเผยแพร่ฉลากสิ่งแวดล้อม EPD (Environment Product Declaration) ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 (ISO14025) ที่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และส่งผลดีต่อสภาพอากาศที่ดีในระยะยาว รวมทั้งการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อทดแทนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

 

ถอดรหัสสู่ความยั่งยืน \'ปูนซีเมนต์นครหลวง\' ผ่านแนวคิด ESG

 

 

ขับเคลื่อนพลังงานทดแทน

ด้าน สุจินตนา วีระรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด บริษัทในกลุ่มบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า อินทรี อีโคไซเคิล มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป้าหมายนี้อยู่ภายใต้ pillar เศรษฐกิจหมุนเวียน ของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ต้องการผลักดัน Circular Economy ผ่านกระบวนการจัดการของเสียทั้งจากภาคอุตสาหกรรม และขยะมูลฝอยชุมชนมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) 

 

เพื่อนำพลังงานความร้อน และวัตถุดิบบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการจัดการของเสียอย่างถูกต้อง และเป็นการทดแทนการใช้ถ่านหิน ซึ่งช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง โดยให้การสนับสนุนลูกค้า และพันธมิตร ในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน 

 

“บริษัท ได้ร่วมมือกับภาคธุรกิจด้านพลังงานรายใหญ่อีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับบี.กริม เพาเวอร์ ในการจัดหาพลังงานทดแทนสำหรับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยพลังงานสะอาด นอกจากนั้นยังได้ทำการศึกษาการใช้พลังงานชีวมวล ร่วมกับบริษัท CO2 Innovation อีกด้วย” สุจินตนา กล่าว

 

ทั้งนี้ทาง กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ได้ร่วมออกบูธนิทรรศการภายใต้คอนเซ็ปต์ 'นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก' โดยนำเสนอนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ลดคาร์บอน หรือ ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ด้วยการบดหินปูนแบบแยกส่วนที่ทำให้สามารถลดปริมาณคาร์บอนตลอดขั้นตอนการผลิตซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อน 

 

จากความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ในการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด รวมถึงการพัฒนาปูนไฮดรอลิก และสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี 2573

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์