นวัตกรรมตัดวงจรขยะอันตราย 'ดีพร้อม' ร่วมสตาร์ทอัพลดคาร์บอน

นวัตกรรมตัดวงจรขยะอันตราย 'ดีพร้อม' ร่วมสตาร์ทอัพลดคาร์บอน

“ดีพร้อม” หนุนสตาร์ทอัพโชว์นวัตกรรมลดใช้พลังงาน ดันเปิดตลาดรับเทรนด์รักษ์โลก ตอบโจทย์ภาครัฐตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 20% ด้านผู้ประกอบการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ชุดอุปกรณ์ชาร์จรีโมท ลดถ่านอัลคาไลน์

ภารกิจ “ลดโลกร้อน”  ไม่ถือเป็นภาระของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นกิจ-กรรมที่ทุกคน ทุกหน่วยงานต้องร่วมแรงร่วมใจกันไปให้ถึงเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำเรื่องดังกล่าวผ่านการสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพมานานกว่า 7 ปี และปัจจุบันมีสมาชิกราว 300 ราย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือทั้งองค์ความรู้และเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจ

อย่างไรก็ดี ในปี 2565 รัฐบาลมีโจทย์ในการผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20% โดยเฉพาะอาคารภาครัฐขนาดใหญ่รวม 800 อาคารที่ต้องขับเคลื่อนเป้าหมายนี้ ดีพร้อม จึงเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ด้านลดการปลดปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) จำนวน 11 บริษัท ให้มีโอกาสสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ กับผู้ประกอบการด้วยกัน และกับหน่วยงานภายใต้ดีพร้อม ในโครงการ DIPROM Playground for decarbonization technology

รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ เปิดเผยว่า การเข้าร่วมโครงการ DIPROM Playground ฯ ถือเป็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ เป็นการสร้างโมเดลที่สามารถนำไปเสนอต่อลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันโรงงานฯ ได้ผลิตชุดอุปกรณ์เปลี่ยนถ่านรีโมทที่สามารถนำไปชาร์จใช้ใหม่ ลดการใช้ถ่านอัลคาไลน์ และจำหน่ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเท่านั้น โดยคาดหวังว่าหลังเข้าร่วมโครงการนี้จะสามารถขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น

สำหรับชุดอุปกรณ์เปลี่ยนถ่านรีโมทที่สามารถนำไปชาร์จใช้ใหม่นั้น พัฒนามาจากแบตเตอรี่ประเภทเดียวกันกับรถยนต์ไฟฟ้า สามารถชาร์จไฟแล้วใช้งานได้นานถึง 3 ปี หลังจากนั้นสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่และใช้งานต่อเนื่องได้อีก 3 ปี โดยอุปกรณ์เปลี่ยนถ่านรีโมทนี้ มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 200 บาท ดังนั้นหากเทียบกับปริมาณและค่าใช้จ่ายในการซื้อถ่านอัลคาไลน์ต่อปีที่มีเฉลี่ยราว 3.5 ก้อนต่อคนต่อปี การเลือกใช้ชุดอุปกรณ์เปลี่ยนถ่านรีโมท จะลดค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 33% ต่อปี

นวัตกรรมตัดวงจรขยะอันตราย \'ดีพร้อม\' ร่วมสตาร์ทอัพลดคาร์บอน

ภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม กล่าวว่า  ได้ร่องอาคารของดีพร้อมเป็นพื้นที่ต้นแบบ ให้สตาร์ทอัพนำเสนอโซลูชั่นและทำการทดสอบเทคโนโลยี นวัตกรรมในสถานที่จริง เน้นด้านการประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดเป็น ยูส เคส (Used case) ซึ่งปัจจุบันได้ทดสอบการติดตั้งนวัตกรรมทั้งหมดมาแล้วกว่า 2 เดือน พบว่าสามารถส่งเสริมให้อาคารดีพร้อมประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในระยะเวลา 6 เดือน - 1 ปี คาดว่าดีพร้อมจะลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า 20% ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยออกมาต่อปี เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 10% ต่อปี 

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่ร่วมโครงการยังจะต่อยอดสร้างรายได้จากสินค้าและบริการที่ได้นำมาทดสอบกว่า 100 ล้านบาทต่อปี จากการนำโมเดลผลสำเร็จในโครงการนี้ไปต่อยอดกับธุรกิจสร้างรายได้ต่อไป

สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพทั้ง 11 ทีมในโครงการ DIPROM Playground for Decarbonization Technology ภายใต้ กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (Alumni Networking) อาทิ  กลุ่มบริหารจัดการขยะ นวัตกรรมจากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ ที่นำเสนอชุดอุปกรณ์เปลี่ยนถ่านรีโมทให้เป็นแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยถ่านของ RENIWSI ใช้งานได้ถึง 3 ปีและนำไปชาร์จใหม่ได้ ทำให้ดีพร้อมลดค่าใช้จ่ายในการซื้อถ่านอัลคาไลน์ได้ถึง 33% ต่อปี และหากประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้ชุดอุปกรณ์ชนิดนี้ จะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากถึง 10,845 tonCO2e ต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 723,057 ต้นต่อปี