สทนช. เร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ

สทนช. เร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ

สทนช. เปิดเวทีรับฟังความเห็นองค์กรผู้ใช้น้ำระดับประเทศนัดแรก เล็งทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมความเข้มแข็งให้องค์กรผู้ใช้น้ำ3 ภาค ล่าสุดจดทะเบียนแล้วกว่า 3,000 องค์กร หวังเพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรน้ำในประเทศ พร้อมกำหนด “วันองค์กรผู้ใช้น้ำแห่งชาติ”

 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำระดับประเทศ ว่า สทนช. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 

 ซึ่งองค์กรผู้ใช้น้ำของทั้ง 22 ลุ่มน้ำที่จดทะเบียนแล้วครอบคลุม 3 ภาคองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนแล้วรวมทั้งสิ้น 3,469 องค์กร แบ่งเป็น ภาคเกษตรกรรม 2,934 องค์กร ภาคอุตสาหกรรม 270 องค์กร และภาคพาณิชยกรรม 265 องค์กร เข้ามาร่วมระดมความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางในการดำเนินกิจกรรมองค์กรผู้ใช้น้ำ ร่วมกับ สทนช. ที่ทำหน้าที่สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้น้ำ

สทนช. เร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ

สทนช. เร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ สทนช. เร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ

 

“ที่ผ่านมา สทนช. ได้ดำเนินการสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้น้ำ โดยการจดทะเบียนองค์ผู้ใช้น้ำที่มีการรวบรวมสมาชิกภายในลุ่มน้ำเดียวกันจำนวน 30 คนขึ้นไป เมื่อจดทะเบียนแล้ว นอกจากจะช่วยให้การทำงานเป็นเอกภาพ รวดเร็ว ยังรวมถึงแนวทางอื่น ๆ ที่เสริมความเข็มแข็งให้องค์กรผู้ใช้น้ำ

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่ได้หารือร่วมกัน อาทิ การพิจารณากรอบแนวทางวิธีการของการจัดตั้งกองทุน เพื่อให้มีช่องทางงบประมาณเข้ามาเสริมด้านการพัฒนาแหล่งน้ำได้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่ความยั่งยืน การพิจารณากำหนดวันองค์กรผู้ใช้น้ำแห่งชาติ เพื่อให้เป็นวันสำคัญในการสร้างขวัญกำลังใจ หรือกิจกรรมพิเศษให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งหากกำหนดวันที่ชัดเจนแล้วจะได้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยเร็วต่อไป”

องค์กรผู้ใช้น้ำมีความสำคัญต่อการบริหารทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมอย่างยิ่ง เนื่องจากประกอบด้วยองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 3 ภาคส่วนเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่จริง หากองค์กรผู้ใช้น้ำมีความเข้าใจบริบทของวิธีการใช้น้ำได้ดีและถูกต้อง มีความเข้มแข็ง สามัคคี ร่วมมือกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับพื้นที่ได้เหมาะสมกับความต้องการ รวมถึงสามารถเสนอโครงการพัฒนาแหล่งน้ำได้ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่

 

 ส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยหน่วยงานราชการในการกลั่นกรองโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสียได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าต่อผู้ใช้น้ำทุกคนในประเทศ.

 

 อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนหลังจากนี้ สทนช. จะรวบรวมผลสรุปที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ นำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเข้มแข็มองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อนำไปใช้บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่อไป ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของการจัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ รวมถึงกำหนดหน่วยงานพี่เลี้ยงให้องค์กรผู้ใช้น้ำสามารถดำเนินกิจกรรมตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.น้ำฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดความเข้มแข็งในการบริหารจัดการน้ำในประเทศ