ถอดบทเรียนแผนลดอุทกภัย สทนช.ทุ่ม1.3พันล้านขยายแก้มลิง

ถอดบทเรียนแผนลดอุทกภัย  สทนช.ทุ่ม1.3พันล้านขยายแก้มลิง

ปริมาณน้ำฝนปี 2564 อยู่ที่ 1759. มม. ขณะที่ปี 2565 สูงขึ้นไปถึง 2012. มม. ทำให้ปีที่ผ่านมาเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ ซึ่งปี 2566 ปัญหาอุทกภัยก็ยังอยู่บนความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือโดยไม่ต้องรอจนให้ปัญหาเกิดขึ้น

สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า ปรากฎการณ์ ลานีญาที่เกิดขึ้นในปี 2565 ทำให้ไทยมีฝนตกหนัก และมีน้ำท่วมขังในบางจุดของประเทศ ซึ่งในช่วงต้นปี 2566ไทยยังไม่ผ่านพ้นภาวะลานีญา ดังกล่าว แต่ ตามองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา(NOAA) 

คาดการณ์ว่าประมาณเดือน ส.ค. เป็นต้นไปไทยจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ ซึ่งจะมีฝนน้อยลง แต่ทั้งหมดยังเป็นการพยากรณ์ระยะไกลยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และในภาพรวมยังประเมินว่าในปีนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ปริมาณฝนและน้ำของไทยยังอยู่ในค่าปกติ

ถอดบทเรียนแผนลดอุทกภัย  สทนช.ทุ่ม1.3พันล้านขยายแก้มลิง ถอดบทเรียนแผนลดอุทกภัย  สทนช.ทุ่ม1.3พันล้านขยายแก้มลิง ถอดบทเรียนแผนลดอุทกภัย  สทนช.ทุ่ม1.3พันล้านขยายแก้มลิง

ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือฤดูฝน โดยจากที่สทนช.เก็บรวมรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในปี 2565 ตาม 13 มาตรการ รับมือฤดูฝน ทั้ง การบริหารจัดการน้ำ ก่อนฤดูฝน ระหว่างฤดูฝน เมื่อสิ้นสุดฤดูฝน พบว่ายังมีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขปรับปรุง เช่น รายละเอียดของการพยากรณ์ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำ ผลการพยากรณ์ตามแบบจำลองมีความคาดเคลื่อนในบางเหตุการณ์ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพพูมิอากาศคลาย ไม่สามารถควบคุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

ระบบการรับน้ำเข้าและการระบายน้ำออกจากทุ่งยังไม่สมบูรณ์ เกิดข้อพิพาทระหว่างประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำตามคู่มือได้ อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่ก่อสร้างใหม่ยังไม่มีเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ท้ายน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลำน้ำอาคารชลศาสตร์ อาคารบังคับน้ำไม่พร้อมใช้งานหรือชำรุดบางส่วนก่อนเข้าฤดูกาล และได้รับความเสียหายช่วงเกิดฝน ขาดแผนรองรับกรณีอาคารชำรุด ขาดสถานีโทรมาตรสถานีวัดน้ำท่าในลำน้ำสาขายังไม่ครอบคลุม

การจัดสรรงบประมาณซ่อมแซมอาคารไม่สอดคล้อง กลับสถานการณ์เมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัยทำให้ระบบการสื่อสารระบบไฟฟ้าไม่สามารถส่งข้อมูลได้ หน่วยงานยังขาดความเข้าใจในการกำหนดแผนการหรือย้ายสิ่งกีดขวางทางน้ำแม้มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแล้วเสร็จ

      “เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในฤดูฝนปีถัดไป สทนช. จึงได้จัดประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูฝน ปี 2565 เพื่อสรุปผลการดําเนินงานนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินการเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนถัดไป”

ในเบื้องต้นจะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในช่วงฤดูฝนในพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อเพิ่มพื้นที่แก้มลิงรับน้ำหรือพื้นที่หน่วงน้ำให้มากขึ้น ลดปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน-พื้นที่เศรษฐกิจ และเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงแล้ง โดยมีเป้าหมายปี 2565-2568 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และอุทัยธานี โดยดำเนินการตัดยอดน้ำได้อย่างน้อย 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ภายในปี 2566 ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้สูงสุดประมาณ 500 ลบ.ม.ต่อวินาที และจะขยายพื้นที่เป้าหมายในการเก็บกักน้ำที่จะดำเนินการเพิ่มเติมภายในปี 2568 รวมประมาณ 3,000 ล้านลบ.ม. ที่จะเป็นการบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี

“การขยายแก้มลิง จะปรับปรุงบึงบอระเพ็ดให้รับน้ำได้มากขึ้น อีก 250 ล้าน ลบ.ม. ยกระดับคันถนนให้สูงขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้แม้จะมีน้ำท่วมขัง ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ ส่งเสริมอาชีพประมงช่วงน้ำท่วม ซึ่ง ในปี 2566 จะใช้งบประมาณ 1,300 ล้านบาท เบื้องต้น กอนช. ได้เห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมเสนอครม.เห็นชอบให้ใช้งบกลางมาดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จทัน เดือน ส.ค. ที่เป็นช่วงน้ำหลาก วิธีการนี้จะสามารถลดค่าชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วมได้ และลดปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาได้ถึง1 ล้านไร่ ถือว่าคุ้มประโยชน์ “

อย่างไรก็ตาม แผนการขยายแก้มลิงนั้น ต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนเพาะปลูกโดยเฉพาะการทำนาปี ที่ต้องเร็วกว่าพื้นที่อื่น เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ทันก่อนน้ำหลาก การบริหารจัดการจะคล้ายกับบางระกำโมเดล จ.กำแพงเพชร  รวมทั้ง การจัดทำแผนชี้เป้าพื้นที่น้ำลด แผนการระบายน้ำและเร่งสูบน้ำ แผนการจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่น้ำท่วม เป็นต้น ทำให้วิเคราะห์ คาดการณ์ ชี้เป้าได้อย่างตรงจุด สามารถเตรียมการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 

การถอดบทเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ ลดผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจรวมถึงจัดการกับสถานการณ์ก่อนจะเป็นปัญหาซ้ำแบบรายปี