'บพท.' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70

'บพท.' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70

บพท.ผนึกหน่วยงาน ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อกแก้จน 7 จังหวัด แก้ปัญหาแก้จนแบบเบี้ยหัวแตก ที่ใช้งบประมาณกว่าปีละ 8 แสนล้าน คัดเลือก 7 จังหวัดที่ยากจนที่สุดทำงานเชิงรุก ตั้งเป้าหมายแก้จนเบ็ดเสร็จภายในปี 70 ให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงความช่วยเหลือ - เพิ่มรายได้ระดับครัวเรือน

วานนี้ (26 มิ.ย.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน : บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี”เพื่อหาทางพาประเทศออกจากปัญหาความยากจน

 ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา  ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวในหัวข้อ “สถานการณ์ความยากจน ปัญหาและทางออก”ว่าปัจจุบันการแก้ไขปัญหาความยากจนถือเป็นวาระระดับโลกขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 ประการที่มีประเด็นเรื่องกำจัดความยากจน และกำจัดความหิวโหย รวมอยู่ด้วย

โดยหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกมีคนยากจนเพิ่มขึ้นกว่า 130 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยปัญหาความยากจนก็เป็นปัญหาใหญ่มากเมื่อนำเอาฐานข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ไปสอบทานข้อมูลใน 20 จังหวัดเป้าหมาย พร้อมกับใช้ฐานทุน 5 ด้านในการสอบทานข้อมูลคนจนพบว่ามีคนจนกว่า 8.1 ล้านคน ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำข้อมูลในส่วนนี้ไปใช้แล้ว

  \'บพท.\' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70

ทั้งนี้จากการทำงานของ บพท.ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมาพบว่าการมีข้อมูลที่แม่นยำในระดับพื้นที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างแม่นยำ รวมทั้งสามารถส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบโดย บพท.ได้มีการลงนามความร่วมมือกับสถานบันการศึกษาในพื้นที่และผู้ว่าราชการจังหวัด

ในการทำพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่เป้าหมายจาก 20 จังหวัดได้กำหนดเป้าหมายเป็นพื้นที่แซนด์บ็อกที่จะแก้ปัญหาคนจนแบบยกจังหวัดให้ได้แบบเบ็ดเสร็จภายในปี 2570 ในพื้นที่ 7 จังหวัดเพื่อกำหนดเป็นพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม ได้แก่ จ.ลำปาง จ.กาฬสินธุ์ จ.มุกดาหาร จ.ร้อยเอ็ด จ.พัทลุง จ.ปัตตานี และจ.ยะลา

โดยแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนที่จะเสนอให้กับรัฐบาลใหม่นอกจากทำพื้นที่แซนด์บ็อกใน 7 จังหวัดแล้ว บพท.ยังมี 5 ข้อเสนอให้กับรัฐบาลใหม่ได้แก่ 1.การคงกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ไว้เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ในการแก้ปัญหาความยากจน โดยเพิ่มบทบาทองค์กรชุมชน และภาคประชาสังคม ควบคู่กับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัย

2.ในส่วนของหน่วยงานเจ้าภาพในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ควรมีเจ้าภาพในระดับพื้นที่ที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน และมีหน้าที่ในการบริหารจัดการโดยเพิ่มเรื่องขจัดความยากจนให้เป็นบทบาทหนึ่งในการบริการสาธารณะโดยเป็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

เสนอให้สวัสดิการประชาชนจากฐานข้อมูลแม่นยำ  

3.ในส่วนของข้อเสนอต่อสวัสดิการแห่งรัฐ บพท.เสนอว่ารัฐบาลควรจัดสวัสดิการแบบพุ่งเป้า โดยใช้ระบบข้อมูลชี้เป้าอย่างแม่นยำจากกลไกการมีส่วนร่วม โดยยึดคนจนล่างสุดเป็นเป้าหมายสำคัญ เช่นเดียวกับการปรับฐานข้อมูลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็ควรมีการใช้ฐานข้อมูลคนจนแบบชี้เป้ามาใช้เช่นกันเพื่อให้คนจนที่ตกหล่นในพื้นที่สามารถได้รับการช่วยเหลือจากระบบสวัสดิการของรัฐ และให้ อปท.เป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกหลักหน่วยงานหนึ่งในการคัดกรองกลุ่มคนจน รูปแบบสวัสดิการ และงบประมาณที่เหมาะสม

4.ควรสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อขจัดความยากจนแบบชี้เป้าระดับพื้นที่ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

\'บพท.\' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70 และ 5.ข้อเสนอเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ จำเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้าง Pro-Poo ห่วงโซ่การผลิต (Value Chain) เพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจชุมชนแบบฐานทรัพยากรของพื้นที่ เพื่อสร้างงานและอาชีพให้กับครัวเรือนแบบมุ่งเป้าและดึงคนจนเป้าหมายเข้ามาอยู่ใน Value Chain เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยเชื่อมโยงกับธุรกิจชุมชน (Local Business)

 

นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ประมาณ 3.6% โดยมาจาการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยทั้งในปัจจุบันและการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไปด้วย

\'บพท.\' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70

ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านล้านบาท คิดเป็น 87% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยภายใน 1 – 2 เดือนนี้ ธปท.จะมีการปรับข้อมูลหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยให้ครอบคลุมอีก 2 ส่วนคือหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้สินสหกรณ์ซึ่งมีสมาชิกที่กู้ยืมเงินจากสหกรณ์อยู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้หนี้ครัวเรือนในภาพรวมของประเทศเพิ่มขึ้นแต่ก็จะช่วยให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูลเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ครอบคลุมขึ้นโดยจะขาดเพียงหนี้นอกระบบที่ยังไม่ได้รวมเข้ามาในหนี้ครัวเรือนของประเทศ ทั้งนี้ ธปท.และหน่วยงานเศรษฐกิจมีเป้าหมายที่จะลดระดับหนี้ครัวเรือนลงให้เหลือไม่เกิน 80%

“การมีหนี้ครัวเรือนในระดับ 87% ถือว่าสูงมากเพราะเหมือนกับว่ามีเงิน 100 บาทต้องไปใช้หนี้กว่า 87 บาท ก็ต้องหาทางลดลงไม่เช่นนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ ”  

นอกจากนี้ตัวเลขของ ธปท.18 จังหวัดที่มีสัดส่วนจำนวนบัญชี NPL สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสะท้อนถึงความเปราะบางของประชาชนในกลุ่มนี้ โดยเป็นจังหวัดที่มีรายได้ครัวเรือนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยหนี้ครัวเรือน กระทบทุกภาคส่วน

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนและแก้ไขอย่างยั่งยืน ได้แก่

1.หนี้เสีย 4.5 ล้านบัญชี เป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์โควิด และอยู่ในสถาบัน เช่น ธกส. Non-bank ควรจะต้องแนะนำและให้ความช่วยเหลือในการแก้หนี้ เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในระยะยาว การให้คำปรึกษา การไกล่เกลี่ยหนี้  

2.หนี้เรื้อรัง เช่น จ่ายแต่ดอกเบี้ยหรือจ่ายขั้นต่ำนานๆ ดังนั้นควรมีแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกับเจ้าหนี

3.หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้องปล่อยสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เจ้าหนี้ต้องคำนึงถึงศักยภาพในการชำระหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้เร็วขึ้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนโดยนำความรู้ทางการเงินมาช่วยแก้ไขผ่านระบบการศึกษา

และ 4.หนี้มีอยู่ต้องแก้หนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปัญหาของลูกหนี้ ไม่พักชำระหนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ปรับโครงสร้างหนี้ ควบคู่กับแนวทางในการให้ความรู้ทางการเงิน Financial Literacy  โดยมีการปรับพฤติกรรม การให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมเรื่องเครื่องมือต่างๆ  

\'บพท.\' ชงรัฐบาลใหม่ทำแซนด์บ็อก 7 จังหวัด ผนึกเครือข่ายแก้จนเบ็ดเสร็จในปี 70

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)  กล่าวในหัวข้อ “เอกชนกับการแก้ไขปัญหาความยากจน” ว่าการแก้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องที่ยากเพราะต้องทำทั้งการแก้ความยากจนในระดับบุคคลไปจนถึงการแก้ปัญหาต่างๆในสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำลง

ที่ผ่านมารัฐบาลมีการใช้เงินในการแก้ไขปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำถึงปีละประมาณ 8 แสนล้านบาท โดยเป็นงบประมาณที่ใช้ในการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำโดยตรงประมาณ 5 แสนล้านบาท และอีก 3 แสนล้านบาทเป็นงบประมาณที่ทำให้โครงการพิเศษแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศได้อย่างได้ผล โดยหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาความยากจนคือการใช้พลังของภาคีเครือข่ายทั้งชุมชน เอกชน สถาบันการศึกษา และข้าราชการ โดยต้องกำหนดบทบาทของแต่ละภาคส่วนที่ชัดเจนและทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง

ส่วนความสามารถและจุดเด่นของชุมชนคือการผลิตสินค้าจากชุมชน แต่ชาวบ้านในชุมชนไม่เก่งเรื่องของการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือใช้ความรู้ทางวิชาการ และงานวิจัยเข้ามาเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิตซึ่งในส่วนนี้สถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ และงานวิจัยเข้ามาใช้ในการพัฒนาสินค้าในชุมชน รวมทั้งส่งนักศึกษาหรือบุคลากรจากสถานศึกษาลงไปให้ความรู้กับระดับชุมชนมากขึ้น ส่วนภาคเอกชนก็จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเข้ามาส่งเสริมด้านการตลาด โดยสร้างกลไกที่ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น

ในส่วนของภาคราชการบทบาทที่สำคัญคือเรื่องของการปลดล็อกข้อกฎหมายต่างๆที่เป็นอุสรรคต่อการสร้างรายได้ของชุมชน ตัวอย่างในอดีต ที่เคยปลดล็อกข้อกฎหมายแล้วสร้างประโยชน์ต่อชุมชนทั่วประเทศได้ เช่น การทำธนาคารต้นไม้ การแก้กฎหมายให้สามารถทำป่าชุมชนได้ รวมถึงการส่งเสริมธนาคารชุมชนช่วยให้กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้นและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงๆให้กับธนาคารพาณิชย์