ประมง จับมือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯต่อยอดปม.1 ลดเสี่ยงเลี้ยงสัตว์น้ำ

ประมง จับมือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯต่อยอดปม.1 ลดเสี่ยงเลี้ยงสัตว์น้ำ

กรมประมงMOUสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ต่อยอดองค์ความรู้ ร่วมพัฒนาการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 ,ปม.2 ขับเคลื่อนภาคการประมงไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ล้วนแต่ส่งผลทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น กรมประมงได้ให้ความสำคัญกับการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องเกษตรกรไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพการผลิตสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมสู่ความยั่งยืน

                ทั้งนี้กรมประมงร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์เพื่อนำมาใช้สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำตั้งแต่ปี 2547 และได้ขยายผลเป็นผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ โดยตั้งชื่อว่าหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 และได้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ ปม.1 ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ และลดปริ ประมง จับมือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯต่อยอดปม.1 ลดเสี่ยงเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมง จับมือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯต่อยอดปม.1 ลดเสี่ยงเลี้ยงสัตว์น้ำ มาณเชื้อก่อโรคในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและในสิ่งแวดล้อม ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำลงได้ ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาวะปัจจุบันเชื้อก่อโรคยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น กรมประมงจึงได้มีการพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.2 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารได้ และได้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ตลอดสายการผลิตกุ้งทะเล เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกุ้งทะเลให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน ปม.1 และ ปม.2 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกร ส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีส่วนช่วยในการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากโรคระบาดในกุ้งทะเลและช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมไทยให้พลิกฟื้นกลับมาได้ตามลำดับ
          ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยด้วยการนำองค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาปรับใช้ในการสร้างผลงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กรมประมงจึงลงนาม MOU ร่วมกับทางวว. เพื่อร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการประมง โดยการลงนาม MOU มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่าง “วว.”กับ “กรมประมง” ในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการประมง โดยมุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการประมงไปใช้ประโยชน์เชิงสังคม และสาธารณประโยชน์อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกร
          2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เชื้อจุลินทรีย์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการประมง และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาวิธีบริหารจัดการทรัพยากรด้านการประมงให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า สร้างและรักษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ด้านการประมงตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ
          3. เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนาและบริหารจัดการองค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการประมงให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมนิสิต/นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ และทำงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกัน
          4. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งงานบริการวิเคราะห์ทดสอบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นที่ยอมรับในผลงานวิจัยของนักวิจัยไทยเพื่อก้าวสู่สากล
            ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ วว. จะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ที่มีมากกว่า 40 ปี ในการรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์มากกว่า 10,000 สายพันธุ์ ผลงานวิจัยและบริการด้านจุลินทรีย์อย่างครบวงจร

รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ วว. ได้จัดสร้างขึ้น มาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย   ศูนย์จุลินทรีย์   ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์นอกถิ่นกำเนิดที่มีประโยชน์ในการเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

ภายใต้มาตรฐาน ISO 9001 : 2008  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วิจัย พัฒนา บริการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายอย่างครบวงจร รวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืด/น้ำเค็มขนาดเล็ก พร้อมจัดทำฐานข้อมูลกว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับขยายกลางแจ้งต้นแบบตั้งแต่ขนาด 100-400,000 ลิตร ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร 1 วิจัยพัฒนา ผลิตบริการด้วยมาตรฐาน GMP ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากโพรไบโอติก/พรีไบโอติกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับคนไทย  

บริการห้อง Bioprocess  เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและธนาคารโพรไบโอติกศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร 2 บริการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ใหม่เพื่อการเกษตร (สารชีวภัณฑ์) ในระดับห้องปฏิบัติการและทดสอบกระบวนการผลิต ขยายจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม  
          “...วว. เชื่อมั่นว่าด้วยความพร้อมทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้ เทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลายเหล่านี้ จะช่วยผลักดันให้ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม  อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานของ วว.ที่มุ่งเน้นนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG โมเดล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พร้อมดำเนินการเชิงบูรณาการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาภาคเศรษฐกิจควบคู่กับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ...” ผู้ว่าการ วว. กล่าว
           อธิบดีกรมประมง กล่าวปิดท้ายว่า กรมประมงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลงนามในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการองค์ความรู้ของบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน เพื่อร่วมพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในอาชีพ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนต่อไป