เกษตรMOUสหราชอาณาจักรรุกร่วมมือด้านการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม

เกษตรMOUสหราชอาณาจักรรุกร่วมมือด้านการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม

เกษตรฯ ลงนามเริ่มต้นเจรจาการเกษตรระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร หวังเป็น กลไกสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้า พัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร เพื่อให้การทำงานเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมหารือด้านการเกษตร ครั้งที่ 1 ในปี 2566

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงนามและหารือความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย กับผู้แทนกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท แห่งสหราชอาณาจักร (Department for Environment, Food and Rural Affairs (DEFRA) of the United Kingdom)  ว่า

เกษตรMOUสหราชอาณาจักรรุกร่วมมือด้านการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม เกษตรMOUสหราชอาณาจักรรุกร่วมมือด้านการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม

 จากสถิติปี 2564 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร สูงถึง 32,543 ล้านบาท แบ่งเป็น ไทยส่งออกสินค้าไปสหราชอาณาจักร 27,173 ล้านบาท ไทยนำเข้า 5,369 ล้านบาท สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ 1. เนื้อไก่ปรุงแต่ง 2. อาหารสุนัขหรือแมว 3. ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส 4. อาหารปรุงแต่ง และ 5. ข้าว ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยและ
สหราชอาณาจักรจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตและเป็นคู่ค้าที่สำคัญกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่เคยมีการกระชับความสัมพันธ์ด้านการเกษตรอย่างเป็นทางการ 

 

 

ทั้งสองประเทศได้กระชับความสัมพันธ์ทางการค้าภายหลังที่สหราชอาณาจักรแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา มีการลงนามจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) โดยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย และเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านการเกษตร

และในวันนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท แห่งสหราชอาณาจักร (Memorandum of Understanding on Agricultural Cooperation between the Ministry of Agriculture and Cooperatives of the Kingdom of Thailand and the Department for Environment, Food and Rural Affairs of the United Kingdom)

“บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ นับเป็นความสำเร็จร่วมกันของรัฐบาลทั้งสองประเทศในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตร ที่จะส่งเสริมการค้าของทั้งสองประเทศ โดยจะใช้กรอบความร่วมมือนี้ เป็นกลไกสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร เพื่อให้การทำงานเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เราจึงขอเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมหารือด้านการเกษตร (Agricultural Dialogue) ครั้งที่ 1 ในปี 2566 นี้

เพื่อจัดตั้งคณะทำงานการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร การหารือความร่วมมือในด้านการเกษตร พืชสวน ปศุสัตว์ การประมง การแปรรูปอาหาร นโยบายการเกษตร ตลอดจนด้านอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและภาคการเกษตร และรับทราบว่า DEFRA แต่งตั้งทูตเกษตรมาประจำการ ณ สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ซึ่งจะทำให้กระทรวงเกษตรฯ และ DEFRA ประสานงานด้านการเกษตรได้โดยตรง รวมทั้งจะมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในโอกาสอันใกล้นี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังได้หยิบบยกประเด็นความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและอื่น ๆ ร่วมหารือเพื่อพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สนใจร่วมกันด้วย” 

ทั้งนี้การลงนามดังกล่าวมี  นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายสุพิศ
พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.พรเทพ ศรีธนาธร ผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป และนางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเข้าร่วม ด้วย