เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

รู้เคล็ดลับ 8 วิธีจับโป๊ะ "NFT" ของปลอม ถ้าไม่อยากพลาดซื้อผลงานศิลปะ กระเป๋าแบรนด์เนม หรือสินค้าลักชัวรีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของจริง เรารวบรวมเทคนิคไว้ให้ตรงนี้แล้ว!

ช่วงปีที่ผ่านมา วงการซื้อขาย “NFT” ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัล กำลังได้รับความนิยมไม่น้อยหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ทำให้หลายแบรนด์ยักษ์ใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะแบรนด์ลักชัวรีลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ทั้งผลิตสินทรัพย์เอง และเปิดรับซื้อสินค้าด้วยเหรียญสกุลดิจิทัลต่างๆ ด้วย

แต่สิ่งที่ควรระวังในการซื้อขาย NFT ที่เป็น "งานศิลปะ" รูปแบบดิจิทัล ก็คือ "NFT ของปลอม"  ซึ่งในปัจจุบันยังตรวจสอบได้ยากหากไม่มีความชำนาญมากพอ

หากใครคิดจะลงทุนซื้อผลงานศิลปะดิจิทัลจำพวกกระเป๋าแบรนด์เนม รองเท้าสตรีทคอลเลกชันหายาก หรือรูปภาพที่หายากหนึ่งเดียวของโลกฯลฯ แต่ไม่อยากโดนต้มตุ๋นล่ะก็ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปรู้จัก 8 วิธีเช็ค สินทรัพย์ NFT ว่าแบบไหนคือ สินทรัพย์ดิจิทัลของแท้ แบบไหนคือ ของปลอม?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

1. เช็คโปรไฟล์โซเชียลมีเดียผู้สร้างผลงาน NFT 

ก่อนจะซื้อ NFT ขั้นแรกคุณต้องตรวจสอบ “โปรไฟล์โซเชียลมีเดียของผู้สร้างผลงาน” เพื่อดูว่าเขามีตัวตนจริงหรือไม่ โดยเช็คจากความเคลื่อนไหวช่วงเวลาที่ผ่านมา และดูว่าคอนเทนท์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะบางรายอาจปลอมโซเชียลมีเดียจนคล้ายของจริงมาก 

2. หากหาเจอสินทรัพย์ NFT ใน Marketplace อื่นๆ = ปลอม

ผู้ซื้อควรลองค้นหาจาก “มาร์เก็ตเพลส NFT ช่องทางอื่นๆ” ด้วยว่า งานศิลปะ NFT ชิ้นนี้มีการขายบนแพลตฟอร์มอื่นด้วยหรือไม่ เพราะสินทรัพย์ NFT แต่ละผลงาน มีได้เพียงแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น หากพบหลายที่ ให้เดาไว้ก่อนว่าผลงานนั้นอาจเข้าข่ายของปลอม

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

3. หากซื้อผลงานประเภท “รูปภาพ” ให้เช็คประวัติก่อน

สินทรัพย์ NFT ที่เป็นผลงานในลักษณะ “รูปภาพ” ให้เช็คประวัติบนโซเชียลมีเดียก่อนว่า ภาพนี้มีมานานแล้วแค่ไหน ใครเป็นผู้สร้าง มีผลงานที่แท้จริงปรากฏเป็นรูปธรรมหรือไม่ โดยการเอาไฟล์ภาพมาค้นหาบน Google หรือเอาลิงก์นั้นมาค้นหาใน Search Bar

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

4. ถ้ามีราคาต่ำเกินไป ส่วนใหญ่อาจเป็นของปลอม

หากมีราคาประมูลหรือ “ราคาขายต่ำเกินไป” ให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่า สินทรัพย์ NFT นี้อาจเป็นของปลอม เพราะส่วนใหญ่ NFT จะไม่มีราคาที่ต่ำจนเกินไป อาจเข้าข่ายโดนสแคมเมอร์หลอกลวงเพื่อโกยกำไร

5. ผู้สร้าง NFT จะมี “เครื่องหมายยืนยัน” 

สินทรัพย์ NFT ของแท้ สามารถสังเกตได้ง่ายๆ โดยชื่อแอคเคานต์ผู้สร้างผลงานต้องมีเครื่องหมายยืนยันเป็นรูปวงกลมสีน้ำเงิน และมีเครื่องหมายถูกตรงกลาง อีกทั้งจะต้องระบุคุณสมบัติของผลงานและชื่อผู้สร้างไว้อย่างชัดเจน

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

6. หากมีวิธีการดูแลลูกค้าแปลกๆ จะคิดว่าเป็น NFT ปลอมไว้ก่อน

กรณีที่ผู้ขายสินทัพย์ NFT มีบริการช่วยเหลือทางเทคนิคที่ดูแปลกๆ เช่น เมื่อลูกค้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยในการทำธุรกรรมแล้วขอความช่วยเหลือ จะมีแอดมินให้ความช่วยเหลือผ่านทาง Discord หรือ Telegram  ซึ่งแอบอ้างว่ามาจาก OpenSea โดยอาจขอให้คุณแชร์หน้าจอเพื่อตรวจสอบ แบบนี้ให้เอะใจว่าอาจถูกมิจฉาชีพหลอกลวง โดยแอดมินคนนั้นจะสามารถเข้าถึง "วอลเล็ต" ของคุณได้ และบังคับให้ไปเวบไซต์ที่หลอกลวงเพื่อให้กรอกข้อมูลสำคัญ จนได้ข้อมูลและทรัพย์สินไป

เช็คก่อนซื้อ! 8 วิธีดู “NFT” สินทรัพย์ดิจิทัลแท้หรือปลอม ดูอย่างไร?

7. เว็บไซต์ NFT ปลอม

พอตลาดนี้เริ่มเป็นที่สนใจในคนหมู่มาก ก็เริ่มมีการระบาดของ “เว็บไซต์ NFT ปลอม” ซึ่งบางทีอาจมีลักษณะคล้ายกันจนแยกได้ยาก ให้ลองเช็คข้อมูลสินทรัพย์ NFT ที่เว็บไซต์ OpenSea ซึ่งเป็นตลาดกลางซื้อขาย NFT ที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใหญ่ที่สุด เพื่อเช็คให้ดีเสียก่อน

นอกจากนี้ผลงานศิลปะที่เป็นสินทรัพย์ NFT ปัจจุบันยังจำแนกได้เป็น 5 ประเภท โดยเรารวบรวมช่องทางที่น่าเชื่อถือมาให้แล้ว ดังนี้

  • 1. ผลงานศิลปะ ช่องทางซื้อขายที่น่าเชื่อถือ มีดังนี้ Super Rare, Foundation, Nifty Gateway, Rarible, Zora และ Mintable
  • 2. การกีฬา ช่องทางซื้อขายที่น่าเชื่อถือ มีดังนี้ NBA, Top Shot และ Sorare
  • 3. เกม ช่องทางซื้อขายที่น่าเชื่อถือ มีดังนี้ Axie Infinity, Street Fighter, Myth.Market และ Treasureland
  • 4. สินทรัพย์ออนไลน์ ช่องทางซื้อขายที่น่าเชื่อถือ มีดังนี้ Decentraland
  • 5. ทวีต ช่องทางซื้อขายที่น่าเชื่อถือ มีดังนี้ Valuables

8. ระวังการแจก NFT ฟรี

ขึ้นชื่อว่าการซื้อขาย ไม่มีอะไรที่จะได้มาฟรีๆ ใครที่เจอว่ามีคนมาพูดชวนเชื่อ ทำนองว่าจะให้ NFT ฟรี หากชนะจากการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม หากเชื่อและทำตามคุณอาจโดนหลอกให้ทำธุรกรรมไปเชื่อมโยงกับวอลเล็ตของคุณ ซึ่งจะโดนขโมยข้อมูลและเงินจากวอลเล็ตไปได้ง่ายๆ 

---------------------------------

อ้างอิง: TREND MICRO, INCOPRO, MUO, Market Realist, NFT Culture, Cyber Scrilla

พิสูจน์อักษรโดย....สุรีย์   ศิลาวงษ์