สำรวจแหล่ง 'เงิน' ช่วยเพิ่มสภาพคล่องก่อน 'เปิดเทอม' 1 ก.ค.นี้

สำรวจแหล่ง 'เงิน' ช่วยเพิ่มสภาพคล่องก่อน 'เปิดเทอม' 1 ก.ค.นี้

รวมช่องทางหา "เงิน" ในระบบ ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง "ผู้ปกครอง" เตรียมพร้อมค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ค่าเทอมก่อน "เปิดเทอม" 1 ก.ค. 63

1 ก.ค. 63 ถึงเวลา "เปิดเทอม" หรือ "เปิดภาคเรียน" ของนักเรียนไทย หลังถูกเลื่อนจากช่วงกลางเดือน พ.ค. เนื่องจากสถานการณ์ "โควิด-19" ระบาด ไม่ว่ากำหนดการจะถูกเลื่อนออกไปต่างจากเดิมแค่ไหน แต่เมื่อการเปิดเทอมเวียนมาถึงสิ่งเดิมที่ "ผู้ปกครอง" ยังต้องเตรียม คือ "ค่าเทอม" และ "ค่าใช้จ่าย" ทางการศึกษาที่ต่อคิวรออยู่เหมือนการเปิดเทอมทุกครั้งที่ผ่านมา

ในช่วงโควิด-19 หลายครอบครัวได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรค บางรายต้องหยุดประกอบอาชีพ ทำให้มีรายได้ลดลง บางรายถึงขั้นตกงาน เนื่องจากธุรกิจที่กำลังทำไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไหว 

"เงินหมุนเวียน" จึงเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังมองหา โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมแหล่ง "เงิน" และ "สินเชื่อ" ในระบบ ที่ช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีเงินหมุนเวียนช่วงเตรียมตัวเปิดเทอม ดังนี้

  •  สินเชื่อส่วนบุคคล 

ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินในช่วงนี้คือ "สินเชื่อ" โดยประเภทสินเชื่อที่เหมาะกับการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คือ "สินเชื่อส่วนบุคคล"

อย่างไรก็ดีก่อนที่จะตัดสินใจ "กู้เงิน" ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขสินเชื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และสอดคล้องกับกำลังในการชำระคืนให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นหนี้สินที่มีดอกเบี้ยพอกพูนเป็นก้อนใหญ่จนชำระคืนไม่ไหวในอนาคต

ปัจจุบันเราสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลเบื้องต้นได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรมของ "ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย" ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ทั้งอัตราดอกเบี้ย รายได้ของผู้ของสินเชื่อ รวมไปถึงเงื่อนไขอื่นๆ
 

159177475914

อย่างไรก็ตาม "สินเชื่อส่วนบุคคล" เหล่านี้มีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจกู้ยืม ไม่ว่าจะเป็น "ดอกเบี้ยผิดนัด" ที่จะทำให้ผู้กู้ถูกคิดค่าธรรมเนียมมากกว่าปกติ และมีประวัติผิดนัดชำระหนี้ซึ่งมีผลต่อการขอสินเชื่ออื่นๆ ในอนาคต รวมถึง "ค่าธรรมเนียมปิดหนี้ก่อนกำหนด" ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมที่จะถูกคิดเพิ่มเมื่อต้องการปิดยอดหนี้ทั้งหมดก่อนเวลาที่ธนาคารกำหนดด้วย

  •  สินเชื่อฉุกเฉิน 

ในช่วงวิกฤติ "โควิด-19" มีธนาคารต่างๆ ที่ขานรับนโยบายจากภาครัฐฯ โดยการ "สินเชื่อฉุกเฉิน" สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบในมิติต่างๆ ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และต้องการเงินสดเพิ่มสภาพคล่อง เพื่อหมุนเวียนในชีวิตประจำวันในช่วงนี้ สามารถยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉินจากธนาคารต่างๆ ได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ดังนี้

สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 จาก ธ.ก.ส.

159177679318

รายละเอียดสินเชื่อ 

- วงเงินกู้ไม่เกิน 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน
- ไม่ต้องใช้หลักประกัน
- ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 63 นัดทำสัญญาวันที่ 7 พ.ค. 63 ถึง 30 ธ.ค. 63
- ระยะเวลาชำระ ปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรกนับจากวันกู้, กำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ และสามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระคืน เช่น งวดชำระรายเดือน (24 งวด) ส่งชำระต่องวดประมาณ 429.17 บาท ราย 3 เดือน (8 งวด) 1,287.50 บาท ราย 6 เดือน (4 งวด) 2,575.00 บาท 

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

เป็นเกษตรกร และครอบครัวของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

  

- สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า (COVID-19) จากธนาคารออมสิน

รายละเอียดสินเชื่อ 

- วงเงิน 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) 0.10% ต่อเดือน
- ไม่ต้องมีหลักประกัน
- ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 2 ปี ปลอดการผ่อนชำระหนี้ใน 6 งวดแรก เริ่มชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในงวดที่ 7 โดยหักเงินชำระจากบัญชีเงินฝากของผู้กู้

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

- ผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกภาคการเกษตร (เช่น พ่อค้าแม่ค้า ลูกจ้าง/รับจ้างทั่วไป ขับแท็กซี่ มัคคุเทศก์ เป็นต้น)
- สัญชาติไทย และอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลากู้แล้วอายุต้องไม่เกิน 70 ปี

- มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท
- มีที่อยู่อาศัยแน่นอนที่ติดต่อได้
- ผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19

159177679395

  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  •  สถานธนานุบาล และโรงรับจำนำ 

ทุกครั้งที่การเปิดเทอมเวียนมาถึง "โรงรับจำนำ" คือแหล่งเงินทุนสำรองที่ผู้ปกครองหลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนทรัพย์สินเล็กๆ น้อยๆ ที่มีอยู่ให้กลายเป็นเงินสดช่วยให้มีเงินหมุนเวียน รองรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าชุดนักเรียน ค่ารถรับส่ง และค่าจิปาถะได้

ความลำบากของผู้ปกครองในการเปิดเทอมครั้งนี้ นอกจากต้องหาเงินมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเช่นเดียวกับทุกๆ ภาคเรียนแล้ว ผู้ปกครองบางส่วนยังถูกสำทับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ซึ่งทำให้ได้รับผลกระทบทางการเงินเป็น 2 เท่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

'โควิด-19' ก็กลัว ตัวก็ใกล้อดตาย เปิดสถิติคนไทยเอาอะไรไป 'จำนำ' มากที่สุด

โรงรับจำนำท้องถิ่น 'ลดดอกเบี้ย' ช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติ 'โควิด'

     

สถานธนานุบาลของกรุงเทพมหานคร จึงได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของประชาชน โดยการปรับลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาในการรับจำนำ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับประชาชนผ่านโปรโมชั่นต่างๆ ดังนี้

1. ลดดอกเบี้ยรับจำนำ วงเงินรับจำนำตั้งแต่ 1-5,000 บาท จากดอกเบี้ยร้อยละ 25 สตางค์ต่อเดือน เป็นร้อยละ 10 สตางค์ต่อเดือน สำหรับวงเงินรับจำนำตั้งแต่ 5,000–15,000 บาท จากร้อยละ 1 บาทต่อเดือน เป็นร้อยละ 50 สตางค์ต่อเดือน 

2. ขยายระยะเวลาตั๋วรับจำนำ จาก 4 เดือน 30 วัน เป็น 8 เดือน โดยประชาชนที่ทำธุรกรรมทุกประเภทกับสถานธนานุบาลของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 เม..-31 .. 63 จะได้รับสิทธิลดดอกเบี้ยตามวงเงินข้างต้น และขยายระยะเวลาตั๋วรับจำนำออกไปเป็น 8 เดือนทันที

อีกทั้งประชาชนยังสามารถใช้บริการโครงการลดดอกเบี้ยช่วงเปิดเทอมสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ปกครอง ประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 50 สตางค์ต่อเดือนสำหรับวงเงินรวมไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย ได้อีกด้วย

159178589676

ทั้งนี้ โรงรับจำนำจะรับเฉพาะทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ และไม่ต้องมีทะเบียน เช่น ทอง เพชร นาก เงิน นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง และของใช้เบ็ดเตล็ด ทุกชนิด ยกเว้นสิ่งของนั้นเป็นของราชการ โดยสามารถนำสิ่งของที่ตรงตามเงื่อนไขมาที่สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครได้ทั้ง 21 สาขา โดยเปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. โดยไม่หยุดพักกลางวัน

นอกจากสถาธนานุบาลของภาครัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานครแล้ว โรงรับจำนำในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ก็มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บริการสถานธนานุบาล ของ อปท. ในสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2563 และการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยในช่วงเปิดภาคเรียน

โดยโรงรับจำนำในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง จะผ่อนผันหรือยืดระยะเวลาในการชำระหนี้แก่ผู้ที่ได้นำของมาจำนำในห้วงเดือน ก.พ.-มิ.ย.63 ให้ขยายเวลาไถ่ถอนทรัพย์รับจำนำไปอีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย (4 เดือน 30 วัน) 

นอกจากนี้ ยังให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่นำทรัพย์สินมาจำนำ ในระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.63 ตามเงื่อนไข 2 ข้อหลัก ได้แก่

1. เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.125 ต่อเดือน

2. เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน

159184872530