Economic (31 มี.ค.63)

Economic (31 มี.ค.63)

เศรษฐกิจ:

สหรัฐ: สถานการณ์ COVIC-19 ที่ระบาดหนักขึ้นอาจจะบีบให้ FOMC ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate ลงมาที่ -0.1% ก่อนการประชุมวันที่ 9-10 มิถุนายน ในขณะเดียวกัน ดัชนีเศรษฐกิจจะแสดงถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอยรุนแรงใน 2Q63 ส่งผลให้ yield curve ของ UST ขยับลงต่ออีกในเดือน
เมษายน การลดดอกเบี้ยฉุกเฉินสองครั้ง และการประกาศแผนทำ QE รอบใหม่โดยไม่จำกัดวงเงินและซื้อเกือบทุกประเภทตราสารหนี้ก่อนการประชุมวันที่ 18-19 มีนาคมเพียงช่วยบรรเทาความกังวลในตลาดเงิน การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางด้านการเงินและการใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจเอกชน และความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่น่าจะได้เห็นมากขึ้น

ยูโร: จำนวนผู้ติดเชื้อ COVIC-19 เร่งตัวขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรป และคาดว่าสถานการณ์ จะยังคงอยู่ในระดับที่เลวร้ายไปจนถึงเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น การผ่อนคลายข้อตกลงเรื่องเสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจจะเปิดทางให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ สามารถจัดทำงบประมาณขาดทุนได้มากกว่า 3% เพื่อให้มีงบพิเศษเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของแต่ละประเทศไม่ได้มีอำนาจจัดสรรงบพิเศษก้อนนี้อย่างอิสระด้วยตัวเอง แต่ต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องโดย European Commission เสียก่อน เราคิดว่า GDP ใน 1H63 จะต้องหดตัวอย่างหนัก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักจะดำเนินต่อไปใน 3Q63 ก่อนที่จะถดถอยในอัตราที่เบาลงใน 4Q63

ญี่ปุ่น: หลังจากที่เผชิญกับผลกระทบของ COVID-19 ทั้งรัฐบาล และ BoJ ก็ตัดประโยคที่ว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง" ออกไปจากแถลงการณ์ภาวะเศรษฐกิจ และรายงานนโยบายการเงิน มีการประสานความร่วมมือระหว่าง BoJ และรัฐบาลในการจัดการกับผลกระทบของ COVID-19 ทั้งนี้ นาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวว่า BoJ กำลังจัดการกับผลกระทบของ COVID-19 ต่อภาวะเศรษฐกิจ และพร้อมที่จะดำเนินการในขั้นต่อไปโดยไม่ลังเล นอกจากนี้ รัฐบาลก็ยังอาจจะปรับลดภาษี และออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายมูลค่า 30 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบจากโรคระบาดแล้ว การเลื่อนจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 ซึ่งเดิมกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคมปีนี้ออกไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2564 เป็นปัจจัยที่ฉุดให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยิ่งถดถอยหนักขึ้นในปีนี้

ไทย: ประมาณการ GDP ปี 2563 ใหม่ของ ธปท. ที่ -5.3% เป็นมุมมองที่เป็นลบอย่างหนัก โดยธปท.อาจจะมองว่าเศรษฐกิจจะหดตัวอย่างแรง ใน 1Q653 และ 2Q63 ที่ -7% YoY และ -10% YoY ตามลำดับก่อนที่จะหดตัวลดลงเหลือ -3% YoY ใน 3Q63 ในขณะเดียวกัน ประมาณการ GDP ปี 2563 ของเราในกรณีเลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจไทยจะติดลบเพียงแค่ -3.8% แต่สถาการณ์การะบาดที่แย่งลงแรงทำให้เราจะปรับประมาณการใหม่ เราคิดว่าภายใต้สภาวะวิกฤติทั้งในด้านเศรษฐกิจ และโรคระบาด ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังที่สอดคล้องกัน และมีลักษณะเชิงรุกมากขั้นเพื่อจัดการกับ
ปัญหาที่เกิดขึ้น

ค่าเงินบาทแข็งค่าเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ

ค่าเงิน EURUSD อาจจะทดสอบแนวต้านที่ 1.20 ก่อนจะปรับลดลงไปทดสอบแนวรับที่ 1.05 ในปลายเดือนเมษายนจากการที่ภาวะเศรษฐกิจยุโรปหดตัวอย่างหนัก และมีแรงซื้อ UST ในฐานะที่เป็น safe haven ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและทดสอบระดับ 33.00 บาท/ดอลลาร์ฯ อีกครั้ง

อัตราดอกเบี้ย และ ตลาดตราสารหนี้

กนง. สร้างความแปลกใจให้ตลาดด้วยการลดดอกเบี้ย 25 bps เหลือ 0.75% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 20 มีนาคมก่อนกำหนดการประชุมนัดปกติในวันพุธที่ 25 มีนาคม และก็สร้างความแปลกใจให้ตลาดอีกครั้งด้วยการคงดอกเบี้ยในการประชุมในวันพุธที่ 25 มีนาคม โดย กนง. ลงมติ 4 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 0.75% โดยมีกรรมการสองท่านที่ออกเสียงให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก25 bps ทั้งนี้ Yield curve ชันขึ้นอย่างมากเนื่องจากมีแรงเทขายทำกำไรอย่างหนักออกมา ทำให้ ธปท.ต้องเข้ามาแทรกแซงผ่าน Open Market Operations ตลอดสัปดาห์ด้วยวงเงินสูงถึงกว่า 1.20 แสนล้าน
บาท และอัตราการยอมรับธุรกรรมที่ 45-65% การที่อัตราผลตอบแทนของ TGB พุ่งสูงดึงให้อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้ภาคเอกชนสูงขึ้นตามการคาดการณ์ว่า Default Risk Premium เพิ่มขึ้น และทำให้เกิดแรงไถ่ถอนกองทุน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ กนง. เรียกประชุมฉุกเฉินและปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เหลือ 0.75% เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม