"Economic" (18 ก.พ.63)

"Economic" (18 ก.พ.63)

4Q62 GDP: ขยายตัว 1.6% YoY ทั้งปี ขยายตัว 2.4% ส่วน ปี 2563 ขยายตัว 2.0%

Event

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (The Office of the National Economic and Social Development Council: NESDC) รายงาน GDP ไตรมาสที่ 4/62 ขยายตัว 1.6 % YoY ด้านการผลิต ภาคเกษตรลดลงตามการลดลงของผลผลิตพืชหลัก ส่วนภาคนอกเกษตรชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ภาคบริการขยายตัวดีต่อเนื่องด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัวดีต่อเนื่อง การลงทุนรวมชะลอตัวตามการลดลงของการลงทุนภาครัฐบาล ขณะที่การอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการลดลง หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว GDPไตรมาสที่ 4/2561 ขยายตัว 0.8% QoQ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                      (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์แนบ)

ด้านการผลิต (Production side)

i) ภาคการผลิตภาคเกษตร ลดลง 1.6% YoY เทียบกับการขยายตัว 2.7% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตพืช หลัก ได้แก่ ข้าวเปลือก อ้อย ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้ง การผลิตในหมวดปศุสัตว์ ไข่ไก่ มีผลผลิตลดลง ขณะที่สุกรขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ สำหรับการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขยายตัว 1.4% YoY

ii) การผลิตภาคนอกเกษตรขยายตัว 2.0% YoY ชะลอลงจากการขยายตัว 2.5 ในไตรมาสที่ 3/62 โดยภาคอุตสาหกรรมลดลง 1.9% YoY ตามการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาขาการทำเหมืองแร่ชะลอตัวลงส่วนสาขาการไฟฟ้ าฯ และสาขาการประปาฯลดลง ขณะที่ภาคบริการขยายตัว 4.1% YoY เทียบกับการขยายตัว 3.9% YoY ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นการขยายตัวในเกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาบริการด้านการก่อสร้างที่ปรับตัวลดลงตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐเป็นสำคัญ

ด้านการใช้จ่าย (Expenditure side)

i) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัว 4.1 เทียบกับการขยายตัว 4.3 ในไตรมาส ที่ 3/62 การอุปโภคบริโภคสินค้าในกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน สินค้าไม่คงทนและบริการสุทธิ ขยายตัว 2.7% YoY 2.6% YoY และ 8.5% YoY เทียบกับที่ขยายตัว 2.4% YoY 3.5% YoY และ 6.4% YoY ในไตรมาสที่ 3/62 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสินค้าคงทน ในไตรมาสนี้ลดลง 4.1% YoY จากการขยายตัว 1.6% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงของการใช้จ่ายซื้อยานพาหนะเป็นสำคัญ

ii) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลลดลง 0.9% YoY จากที่ขยายตัว 1.7% YoY ในไตรมาส ที่ 3/62 โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 6.5 ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 1.4% YoY เทียบกับการขยายตัว 1.8% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดเพิ่มขึ้น 5.1 % YoY


iii) การลงทุนรวม ขยายตัว 0.9% YoY ชะลอลงจาก 2.7% YoY ในไตรมาสที่ 3/2562 โดยการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 2.6% YoY เทียบกับที่ขยายตัว 2.3% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนด้านการก่อสร้างภาคเอกชน ขยายตัว 3.1% YoY และการลงทุน ด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนขยายตัว 2.5% YoY ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลง 5.1 % YoY เทียบกับการขยายตัว 3.7% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการลดลงทั้งด้านการก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือ โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจาก ความล่าช้าของกฎหมายพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2563 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี

iv) ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปี เพิ่มขึ้น 126.3 พันล้านบาท ประเภทสินค้าที่มีการสะสมสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวเปลือก ทองคำ และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ส่วนสินค้าคงคลังที่ลดลงได้แก่ น้ำตาล การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ ขั้นต้นเป็นต้น

v) ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 390.9 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 180.1 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 210.8 พันล้านบาท

lmpact

i) ตลาดอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับอัตราการขยายตัว GDP ใน 4Q62 ในระดับต่ำมากนักเนื่องจากได้ผ่านไปแล้วและเป็นปัจจัยทางเทคนิคชั่วคราวโดยเฉพาะการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น 3 โรง ที่ปัจจุบันกลับมาดำเนินการกลั่นตามปกติแล้วจะกลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัว GDP ในไตรมาสที่ 4/63 และ ความล่าช้าของ พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 คาดว่าจะเริ่มเบิกงบประมาณได้ตามการคาดการณ์ของเราในเดือนมีนาคม ทำให้ไม่เป็นปัจจัยลบอีกต่อไปและจะกลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัว GDP ในไตรมาสที่ 4/63 และ 1/64

ii) ตลาดจะให้ความสนใจไปที่ผลกระทบของการระบาด COVID-19 ต่อ GDP ใน 1H63 ที่กำลังเป็นภาวะปัจจุบันแทน GDP ในช่วงครึ่งแรกของปี อาจจะขยายตัวต่ำกว่า 1.0% YoY และจะเป็นแรงกดดันให้ กนง. อาจจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 25 มีนาคม เหลือ 0.75% และลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 20 พฤษภาคม ถ้าหากการระบาดยังคงยืดเยื้อไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญไปจนถึงเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ กนง. ยังอาจจะต้องคลายกฎเกณฑ์เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าปัจจุบัน

iii) การระบาดของไวรัสทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญตาม ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการขยายตัวของ GDP ใน 1Q63-2Q63 มีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 1.0% YoY และทำให้ GDP ปี 2563 ชะลอตัว
ลงเหลือ 2.0% ซึ่งเป็นการณี Base case

iv) ทั้ง กนง. และ รัฐบาลมีแนวโน้มในการออกมาตรการเพื่อประคองเศรษฐกิจ เช่น การเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือน รวมทั้งการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

vi) GDP ไตรมาสที่ 4/63 จะขยายตัวสูงสุดในปี 2563 และ ฐานที่ต่ำลงไปอีกจะส่งผลให้อัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 1/64 และ 2/64 กลับมาขยายตัวในระดับสูงมาก

vii) GDP ที่ขยายตัวต่ำมากจะทำให้โอกาสที่ไทยจะได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นเป็น "A- "หมดลง

viii) กนง. ยังให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพและอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจมากกว่าระดับราคาทั่วไป

ix) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่ กนง. ให้น้ำหนักในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เรายังเชื่อว่า

          i) ถ้า GDP รายไตรมาสขยายตัวต่ำกว่า 3.0%YoY (เป็นอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ)และอัตราการขยายตัว GDP ลดลงต่อเนื่อง กนง. จะลดดอกเบี้ย

         ii) ถ้า GDP รายไตรมาสขยายตัวต่ำกว่า 3.0-3.9% YoY (เป็นอัตราการขยายตัวในระดับปานกลาง) หรือ GDP กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำ กนง. จะคงดอกเบี้ย

         iii) ถ้า GDP รายไตรมาสขยายตัวสูงกว่า 4.0%YoY (เป็นอัตราการขยายตัวในระดับสูง) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวปานกลางและมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยไปถึงระดับที่ กนง. คิดว่าเหมาะสมต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะ 1-2 ปี

เรายังคงแนะนำให้ ถือพันธบัตรอายุยาว เช่น LB28DA, LB356A และ LB386A ต่อไปจนถึงการประชุม กนง. วันที่ 25 มีนาคม