KBANK Recovery rate ของ NPL เพิ่มขึ้น (17 มิ.ย. 65)

KBANK  Recovery rate ของ NPL เพิ่มขึ้น (17 มิ.ย. 65)

ธนาคารขาย NPL ได้ราคาดีขึ้น ช่วยจำกัดผลขาดทุนจากการขาย NPL เราเห็นสัญญาณบวกที่ JV-AMC จะส่งผลดีต่อธนาคารมากกว่าที่เราคาดเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจากการแข่งขันซื้อเสียของ AMC ทำให้ราคาขายหนี้เสียขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่าก่อน COVID ระบาด

โดยอยู่ที่ ~55% ของ FV สำหรับหนี้มีหลักประกัน ส่วนราคาหนี้เสียของสินเชื่อปลอดหลักประกันอยู่ที่ ~5-10% ของ FV (จากประมาณ 5% ก่อน COVID ระบาด) ซึ่งเรามองว่าสถานการณ์นี้จะช่วยธนาคารในแง่ อัตราการฟื้นตัว (recovery rate) ของ NPL ที่สูงขึ้น และจะช่วยจำกัดผลขาดทุนจากการขายหนี้เสีย

 

KBANK รุกหนักที่สุดในการจัดการหนี้เสีย

ธนาคารใช้หลายแนวทางในการจัดการหนี้เสีย อาทิเช่นโอนไปเป็น NPA, ตัดหนี้สูญ, ขาย NPL ออกไปให้บริษัทบริหารหนี้ และ JV-AMC (figure 1) โดยหนี้เสียที่จบขั้นตอนกฎหมายจะถูกโอนไปเป็น NPA ซึ่งหนี้เสียส่วนนี้เพิ่มเป็น 4.6 หมื่นล้านบาทใน 1Q65 (จาก 2.8 หมื่นล้านบาทก่อน COVID ระบาดในปี 2562) นอกจากนี้ KBANK ยังตัดหนี้สูญไปมากถึง 2.15 หมื่นล้านบาท/2.7 หมื่นล้านบาทในปี 2563/64 และ 6.9 พันล้านบาทใน 1Q65 โดยมีเพียงยอดขาย NPL เท่านั้นที่ชะลอตัวในช่วงที่ COVID ระบาด แต่เราคาดว่าธนาคารจะเร่งขาย NPL เมื่อสามารถสรุปยอดหนี้ ประเภทหนี้ และราคาขายกับบริษัท AMC
เ อกชน ภายใต้การทำ JV-AMC กับ JMT

 

JV-AMC provides a higher recovery rate of NPL

เราคิดว่า JV-AMC จะทำให้ธนาคารได้รับส่วนแบ่งของ upside จาก recovery rate ที่เพิ่มขึ้นของหนี้เสียที่ AMC เอกชนสามารถบริหารให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่าธนาคาร โดยในปัจจุบัน JMT บริหารพอร์ตทรัพย์สินด้อยคุณภาพโดยมี ROA อยู่ที่ 6-7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจ AMC ที่ 4-6% ทั้งนี้ เมื่อใช้สมมติฐานว่ามีการตั้ง JV-AMC โดยมี FV ของหนี้ที่ 5 หมื่นล้านบาท จะทำให้ธนาคารได้รับผลตอบแทนพิเศษประมาณ 1 พันล้านบาท หรือประมาณ 2.5% ของกำไรรายปีของธนาคาร

 

ปรับเพิ่ม PBV เป็น 0.9x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2565F ที่ 188 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 173 บาท)0

เราคิดว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างมาก และสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่ประเด็นที่เป็นลบไปเสียทั้งหมด เพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้รายได้ภาคเกษตรสูงขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการ NIM ได้ดีขึ้นในปี 2566 เมื่อโครงการค้ำประกันเงินฝากสิ้นสุดลงในปี 2565 นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างมากยังจะส่งผลดีต่อสถานการณ์การจ้างงาน และการบริโภคในประเทศด้วย ทั้งนี้ จากความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย เราจึงมองว่าธนาคารจะสามารถรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเอาไว้เท่าเดิมจนกว่าดอกเบี้ยขึ้นเมื่อมีการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเกิน 50bps ดังนั้น เราจึงยังคงประมาณการกำไรเอาไว้เท่าเดิม แต่ปรับ PBV เป็น 0.9x (จากเดิม 0.85x) ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 188 บาท (เพิ่มขึ้นจาก 173 บาท) และปรับเพิ่มคำแนะนำจากถือเป็นซื้อ

 

Risks

NPL เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น รวมถึงผลขาดทุนจากรายการ FVTPL ของเงินลงทุน