IMF เตือนปัญหาภายในประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน เสี่ยงกระทบเศรษฐกิจประเทศร่ำรวย

IMF เตือนปัญหาภายในประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน เสี่ยงกระทบเศรษฐกิจประเทศร่ำรวย

ไอเอ็มเอฟ เตือน ปัญหาภายในของประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศจีน สามารถล้นทะลักจนส่งผลกระทบไปยังประเทศร่ำรวยได้

ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (9 เม.ย.) ระบุว่า ปัญหาภายในประเทศของประเทศเกิดใหม่ในกลุ่ม G20 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศร่ำรวยมากขึ้น

โดยประเทศเกิดใหม่ตั้งแต่ “จีน” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก ไปจนถึง “อาร์เจนตินา” ประเทศที่มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้นั้น มีส่วนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะห่วงโซ่มูลค่าการค้าและสินค้าโภคภัณฑ์

ไอเอ็มเอฟ ระบุในรายงาน World Economic Outlook ที่เผยแพร่ก่อนการประชุมประจำปีสภาว่าด้วยธนาคารโลกและกองทุนการเงินในสัปดาห์หน้าว่า

“นับตั้งแต่ปี 2543 ผลกระทบที่ล้นออกมากจากปัญหาภายในประเทศของตลาดเกิดใหม่ใน G20 โดยเฉพาะในจีน เพิ่มสูงขึ้น และขณะนี้มีขนาดเทียบเท่ากับผลกระทบที่ล้นออกมาจากปัญหาภายในของกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว”

 

ปัญหาภายในของจีนส่งผลให้ผลผลิตของตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ มีความผันผวน 10% และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว 5% ขณะที่ปัญหาภายในจากตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ ในกลุ่ม G20 สร้างความผันผวนต่อเศรษฐกิจเกิดใหม่และเศรษฐกิจพัฒนาแล้วมากสุดที่ 4%

เศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นธรรมชาตินี้ ตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบไปยังประเทศร่ำรวย เนื่องจากเศรษฐกิจเกิดใหม่ 10 แห่งใน G20 อาทิ อาร์เจนตินา, บราซิล, จีน, อินเดีย, เม็กซิโก, รัสเซีย, ซาอุดีอาระเบีย, แอฟริกาใต้ และตุรกี มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) รวมกันมากกว่า 2 เท่าของจีดีพีโลกนับตั้งแต่ปี 2543

โดยรวมแล้ว ผลกระทบที่ล้นออกมาจากประเทศเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่านับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งจีนเป็นประเทศที่สร้างผลกระทบมากสุด ขณะที่ความเสี่ยงของผลกระทบที่มาจากบราซิล, อินเดีย และเม็กซิโกเพิ่มขึ้นปานกลาง

ขณะนี้จีนกำลังประสบกับการก้าวข้ามอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อมานาน และรัฐบาลท้องถิ่นมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ร่วงเข้าสู่ปีที่ 4 ติดต่อกัน ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจเช่นกัน

ไอเอ็มเอฟระบุด้วยว่า การเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจรัสเซียที่มุ่งไปเน้นยังเอเชีย อาจเปลี่ยนแปลงทิศทางผลกระทบที่ล้นออกมาได้ และเตือนตลาดเกิดใหม่ในกลุ่ม G20 ว่า เศรษฐกิจที่เติบโตโดยเฉลี่ย 6% ต่อปีในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อาจทำให้เศรษฐกิจในระยะกลางมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.7%

ไอเอ็มเอฟยังได้เรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายรักษาบัฟเฟอร์ และเสริมสร้างกรอบดำเนินนโยบายเพื่อรองรับการจัดการปัญหาต่าง ๆ