สแตนชาร์ต ชี้ จีนเจอวิกฤตความเชื่อมั่น ในยุคเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจครั้งใหญ่

สแตนชาร์ต ชี้ จีนเจอวิกฤตความเชื่อมั่น ในยุคเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจครั้งใหญ่

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เผยว่าตอนนี้ จีน กำลังเผชิญกับวิกฤตความเชื่อมั่น รุมเร้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่าน "เศรษฐกิจ" ครั้งใหญ่ จาก “เศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจใหม่” ขณะที่ถูกกดดันจากความกังวลภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจของประเทศ

Keypoint:

  • ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนนี้ คือ ‘ขาดความเชื่อมั่น’ จากทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซีอีโอของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกล่าว
  • ทำให้นักลงทุนกําลังจับตาดูจีนอย่างใกล้ชิด ทั้งตลาดหุ้นที่สั่นคลอน เผชิญปัญหาภาวะเงินฝืด และภาคอสังหาริมทรัพย์กดดันแนวโน้มการเติบโตของทั่วโลก
  • จีนอยู่ในยุค การเปลี่ยนผ่าน "เศรษฐกิจ" ครั้งใหญ่ จาก “เศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจใหม่” ที่ทุกครั้งจะกระทบต่อ”วิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก”

 

เรียกได้ว่าตอนนี้จีนกําลังเผชิญกับการขาดดุล "ความเชื่อมั่น" เนื่องจากเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศ

“ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของจีน คือ การขาดความเชื่อมั่น จากทั้งนักลงทุนภายนอกและนักลงทุนในประเทศก็ขาดความมั่นใจ” บิล วินเทอร์ส (Bill Winters) ซีอีโอของธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (Standard Chartered) กล่าว

และในขณะเดียวกัน วินเทอร์กลับมองว่า จีนกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก “เศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจใหม่” ที่จะเฟื่องฟูในอนาคต

จีนจะสามารถผ่านพ้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ไปได้ จากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ และคาดหวังที่จะได้เห็นเศรษฐกิจแบบใหม่ของจีน ที่จะมีความเฟื่องฟู ทั้งอัตราการเติบโต ที่เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก นั้นรวมถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ EV และห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับการเงินที่ยั่งยืนและความยั่งยืน 

ทำให้จีนถูกนักลงทุนจับตาดูจีนอย่างใกล้ชิด จากตลาดหุ้นมีความ"ปั่นป่วน" หลังดัชนี CSI300 Index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นบลูชิพในตลาดหุ้นจีนร่วงลงเกือบ 5% เมื่อต้นเดือน ก.พ.2567 ซึ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะเงินฝืด และปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ทำให้แนวโน้มการเติบโต ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในปลายเดือนธันวาคม 2566 พบว่าความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ในประเทศจีนจะลดลงมากถึงประมาณ 50% ในทศวรรษหน้า

รายงานเผยว่าการที่ความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ที่ลดลงจะถ่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และใช้เวลาในการฟื้นฟูนานขึ้น เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นประมาณ 25% ของจีดีพี (GDP) จีน

คริสตาลินา กอร์เกียวา ( Kristalina Georgieva)กรรมการผู้จัดการ IMF เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปฏิรูปเศรษฐกิจที่มีความท้าทายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นจีนจำเป็นต้องปฏิรูป ”ปัญหาโครงสร้างระยะยาวที่ประเทศต้องแก้ไข“

กอร์เกียวาเปิดเผยว่า IMF ได้หารือกับทางการจีน และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยคาดว่าหากจีนไม่ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างอย่างจริงจัง ก็อาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลงสู่ระดับต่ำกว่า 4%

“เราต้องการเห็นเศรษฐกิจเคลื่อนไปสู่การบริโภคภายในประเทศอย่างแท้จริงมากขึ้น และพึ่งพาการส่งออกน้อยลง เพื่อให้เห็นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงการแก้ไขปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ระบบบําเหน็จบํานาญ ซึ่งเป็นการปฏิรูปโครงสร้างระยะยาว เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนของจีน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้น"


ในขณะเดียวกัน วินเทอร์ ชี้ให้เห็นถึงมุมมองอีกด้านที่มีความคล้ายกันกับจีน คือ ประเทศที่เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ต่างเจอกับความโกลาหลและความเลวร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจีนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงโดยไม่รบกวนระบบการเงิน ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน

 “การเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ทุกครั้ง กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ หรือเกิดวิกฤตการเงินโลก ซึ่นจีนกำลังพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ”

 

อ้างอิง CNBC