‘เฮนรี คิสเซิงเจอร์’ นักการทูตอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ เสียชีวิต วัย 100 ปี

‘เฮนรี คิสเซิงเจอร์’ นักการทูตอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ เสียชีวิต วัย 100 ปี

ปิดตำนาน “เฮนรี คิสซิงเเจอร์” นักการทูตอเมริกัน และผู้มีบทบาทสำคัญทางการต่างประเทศระดับโลก โดยเฉพาะสัมพันธ์สหรัฐ-จีน เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 100 ปี

"เฮนรี คิสซิงเจอร์" ศาสตราจารย์มาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้กลายเป็นนักการทูตสหรัฐ ที่ยิ่งใหญ่ และเขาเป็นที่ปรึกษาสำคัญในทางการเมืองให้กับสหรัฐ และยังเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่รักของคนในวงการระหว่างประเทศ ได้เสียชีวิตแล้ว ในอายุ 100 ปี 

รายงานของ Kissinger Associates ระบุ คิสซิงเจอร์เสียชีวิต เมื่อวันพุธ (29 พ.ย. ที่บ้านพักในรัฐคอนเนตทิคัต

เหตุการณ์การเสียชีวิตของคิสซิงเจอร์ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของบุคคลระดับโลก โดยเขาได้ทิ้งร่องรอยความคิดบุรุษสงครามเย็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ สะท้อนระเบียบโลกในปัจจุบัน

คิสซิงเจอร์ มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ช่วยด้านนโยบายต่างประเทศ ของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยเขาเป็นผู้ช่วยกำหนดยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ให้กับสหรัฐ ในการหลุดพ้นจากสงคราม และวางแผนสานสัมพันธ์กับมหาอำนาจ คอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็น

ในช่วงรัฐบาลประธานาธิบดีนิกสันสมัยที่สอง คิสซิงเจอร์ต้องเผชิญกับเบื้องหลังเรื่องราวอันอื้อฉาวคดีวอเตอร์เกต แม้ในที่สุดได้กดดันประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ แต่สำหรับคิสซิงเจอร์ ก็สามารถปกป้องพื้นที่ทางการเมืองไว้ได้อย่างดุเดือด

 

ในบทบาทด้านการต่างประเทศ คิสซิงเจอร์เป็นผู้ให้คำปรึกษาและเจรจาให้สหรัฐออกจากสงครามเวียดนาม อันสร้างหายนะให้ประชาชนนับล้าน 

คิสซิงเจอร์ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัฐบาลประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และเจอรัลด์ ฟอร์ด

ในครั้งนั้นคิสซิงเจอร์แอบบินไปปักกิ่งเงียบๆ เมื่อเดือนก.ค.1971 ในภารกิจสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ ปูทางสู่การเยือนครั้งประวัติศาสตร์ของนิกสัน ผู้พยายามเปลี่ยนโฉมสงครามเย็น และหาทางช่วยปิดฉากสงครามเวียดนาม

คิสซิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 1973 ร่วมกับ Le Duc Tho ชาวเวียดนามเหนือ ที่ได้ร่วมผลักดันข้อตกลงหยุดยิงในสงครามปีนั้น

คิสซิงเจอร์ ผู้แทนระดับสูง เปิดประตูสัมพันธ์สหรัฐ-จีน

ตำนาน 'เฮนรี คิสซิงเจอร์' ต้นตำรับ “สหรัฐญาติดีจีน”

การที่สหรัฐเปิดกว้างกับปักกิ่งที่แปลกแยกตัวเองในขณะนั้น เนื่องจากจีนผงาดขึ้นเตรียมเป็นมหาอำนาจด้านการผลิต และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกรองจากสหรัฐ

นับตั้งแต่พ้นตำแหน่ง คิสซิงเจอร์มั่งคั่งกับธุรกิจให้คำปรึกษาเกี่ยวกับจีน และเตือนไม่ให้สหรัฐใช้นโยบายสายเหยี่ยว

เวลาผ่านไปหลายสิบปี เมื่อปี 2566 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ต้อนรับเฮนรี คิสซิงเจอร์ วัย 100 ปี อย่างอบอุ่น ที่เรือนรับรอง "เตียวไท่หยู" ที่มีพื้นที่ส่วนตัวมากกว่ามหาศาลาประชาชน สถานที่รับรองแขกต่างประเทศอย่างเป็นทางการ

สิ่งนี้ยืนยันว่า คิสซิงเจอร์เป็นบุคคลที่จีนยอมรับ และเป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์สหรัฐกับจีน ถึงทุกวันนี้

ที่มา : CNBC  , Reuters