มิว สเปซ แจงแผนงานปี 66 กับเป้าการผลิตดาวเทียมเอไอ

มิว สเปซ แจงแผนงานปี 66 กับเป้าการผลิตดาวเทียมเอไอ

มิว สเปซ เปิดพื้นที่แฟคทอรี่ 1 ย่านวิภาฯ จัดงาน Tech Day ปี 2 อัพเดตเทคโนโลยีที่ทำไปแล้วในปี 2565 และแผนการเดินหน้าปี 2566

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (Mu space) ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม จัดงาน Tech Day ปีที่ 2 อัพเดตเทคโนโลยีที่ทำไปแล้วในปี 2565 และแผนการเดินหน้าปี 2566 เพื่อสร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายการพัฒนา Advance technology และประโยชน์วงกว้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ณ แฟคทอรี่ 1 พื้นที่พัฒนาและผลิตดาวเทียมรวมทั้ง Advance technology ต่างๆ

นายวรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Mu space กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในปี 2566 ว่า มิวสเปซตั้งเป้าการผลิตดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมากกว่า 200 ดวงต่อปี รับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า 5 Gbps วิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า 1,000 GB ต่อวัน

แผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2566 พัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. พัฒนาด้านสุขภาพของดาวเทียม

2. ระบบ Power system ของทาง มิว สเปซสามารถผลิตแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณได้ถึง 25% แนะนำอุปกรณ์มาใช้งานใหม่ได้ถึง 3.3 เท่า

นอกจากนี้สามารถเพิ่มพลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ได้สูงถึง 2.75 เท่า ซึ่งมิว สเปซจะโฟกัสการต่อยอดในแบบของ High Gain คือ สูงกว่า Gain ของในตลาดทั่วไป

3. Reaction Wheels พัฒนามอเตอร์ ในขณะนี้กำลังทำในรูปแบบของขนาดเล็ก และมีแผนที่จะอัปขนาดไปจนถึงมอเตอร์ตัวใหญ่ ๆ

4. 3D Printing Production เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีขนาดใหญ่สามารถที่จะพิมพ์วัตถุโลหะเพื่อขึ้นรูปวัสดุออกสู่อวกาศเป็นรูปทรงตามความต้องการของลูกค้าได้ทันที

โดยในตัวดาวเทียมไม่ไปรบกวนกับอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะใช้ย่าน ย่าน KU-Band อยู่ที่ 10,000 MHz และ V-Band อยู่ที่ 20,000 MHz ปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณได้อย่างชัดเจน

“หลัก ๆ เราพัฒนาระบบการทำงานที่ใช้ในดาวเทียมเล็ก ตั้งแต่หลัก 10 - 100 กิโลกรัม เพื่อตอบโจทย์ซัพพลายเชนในประเทศ เราจึงจำเป็นต้องสร้างบริษัทในไทยที่จะผลิตพาร์ทพวกนี้มาได้”

5. Climate Sensing พัฒนากล้องที่มีเซ็นเซอร์ เรดาร์ และอินฟาเรด มีประโยชน์ในด้านการถ่ายภาพบนพื้นโลกในรูปแบบของ 3D

มิว สเปซ แจงแผนงานปี 66 กับเป้าการผลิตดาวเทียมเอไอ

6. Connectivity

7. Next-Gen Payloads

8. Road Map

9. AI สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 1,000 GB ต่อ วัน โดยที่ใช้ตัวซอฟต์แวร์ คือ A100 ทำให้สามารถคำนวณ ได้ถึง 5,000 TFlOPS

“มิว สเปซ มีแผนพัฒนาระบบดาวเทียมเพื่อใช้ร่วมกับโครงการต่างๆ ในพื้นที่ EEC ซึ่งมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับด้านอวกาศอยู่เป็นจำนวนมาก การร่วมมือกันจะทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในประเทศ” วรายุทธ กล่าว

นอกจากนี้ มิว สเปซ ยังทำความร่วมมือกับ SpaceBelt ให้บริการดาวเทียมที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้จากทุกตำแหน่งบนโลก และการใช้ระบบคลาวด์เก็บข้อมูลที่ปลอดความเสี่ยง อันเป็นสิทธิบัตรของ SpaceBelt

โดยมีพันธกิจในการจัดหาดาวเทียมขนาดเล็กที่ผลิตโดย มิว สเปซ สำหรับใช้ในการสื่อสารผ่านโครงข่ายดาวเทียมและให้บริการ Data Center แก่ SpaceBelt อีกทั้งผสมผสานนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อส่งมอบการสื่อสารที่ปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ในอวกาศ

ขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญกับการลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่ Human Capital Knowledge (องค์ความรู้), Equipment & Machinery (เครื่องมือและเครื่องจักร) และ Raw Material (วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี)

อีกทั้งต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน เนื่องจาก ทรัพยากรบนโลกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด

มิว สเปซ แจงแผนงานปี 66 กับเป้าการผลิตดาวเทียมเอไอ

มิว สเปซถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอวกาศ ไม่ว่าจะเป็น สตาร์ตอัป หรือนักศึกษา โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อรับนักศึกษาที่สนใจเกี่ยวกับด้านนี้มาฝึกงาน ตลอดจนทำงานเป็นพนักงานร่วมกับทางบริษัท

“การพัฒนาเทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก เราค่อย ๆ เรียนรู้กันได้ สิ่งที่สำคัญคือ การมีแพชชั่นที่จะทำ”

ในด้านความร่วมมือกับทางภาครัฐ บริษัทสามารถช่วยเหลือในเรื่องของการจัดหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในงบประมาณจำกัด เพราะบริษัทสามารถผลิตเทคโนโลยีได้ด้วยตนเองภายในประเทศ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเรื่องของการนำเข้า หรือการซื้อจากต่างประเทศ

มิว สเปซ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นถึงความสำเร็จของการร่วมมือกับพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศด้านต่าง ๆ โดยทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างประโยชน์เชิงบวกต่อเศรษฐกิจอวกาศและอุตสาหกรรมอวกาศในภาพรวม