‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’

‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’

หลายปีที่ผ่านมา “หัวเว่ย” เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากที่รู้จักคุ้นชินกันดีในผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเน็ตเวิร์กและสมาร์ทดีไวซ์แล้ว ยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของหลากหลายองค์กร...

ไม่ว่าจะเป็นจากเทคโนโลยีเอไอ คลาวด์ สมาร์ตซิตี้ เอ็นเตอร์ไพรซ์โซลูชัน ดิจิทัลพาวเวอร์ ครอบคลุมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และนวัตกรรมอัจฉริยะต่าง ๆ ของหัวเว่ย ที่ช่วยสนับสนุนให้องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในยุค “ดิจิทัล ดิสรัปชัน”

สำหรับปี 2567 นี้ คงต้องจับตาดูว่าทางหัวเว่ยจะเดินหน้าไปในทิศทางใดและจะมีการขับเคลื่อนอะไรใหม่ๆ มาสู่ตลาดประเทศไทยอีกบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของหัวเว่ยในเรื่อง ‘ปลดปล่อยขุมพลังแห่งดิจิทัลเพื่ออนาคตที่ดีกว่า (Unleash digital for a better future)’

หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจก็คือ “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับหลากหลายมิติการใช้ชีวิตของผู้คน โดยก่อนหน้านี้ เชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงทัศนะไว้ว่า เมื่อพูดถึงคำว่าเมืองอัจฉริยะเรากำลังหมายถึงการบูรณาการเทคโนโลยีจำนวนมากเข้าด้วยกัน

สำหรับ หัวเว่ย ได้แบ่งหมวดหมู่ของเทคโนโลยีออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ “คลาวด์คอมพิวติ้ง” ที่จะช่วยให้ทุกสิ่งในเมืองถูกเข้าถึงได้ทั้งหมดผ่านระบบคลาวด์ กลุ่มถัดมาคือ “ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ ” ที่ช่วยให้ระบบหลักของเมือง สามารถเชื่อมต่อถึงเทคโนโลยีอื่นที่มีความหลากหลายและทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด

ขณะที่ กลุ่มสุดท้ายคือ “ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ” ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการอย่างเป็นระบบและคอยช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยในเมืองให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น ‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’ “เมืองอัจฉริยะ คือการนำหลากเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในเมือง รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ครอบคลุมทั้งการนำเทคโนโลยีทั้งแมชันเลิร์นนิง เอไอ ไอโอที และอื่นๆ อีกมากมาย มาใช้งานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคดิจิทัล” เชลดอนกล่าวเสริม

หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมสนับสนุนประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับสากล ผลักดันให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริง ช่วยให้ไทยกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะที่มีความก้าวหน้าระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อีกหนึ่งงานที่มีความสำคัญอย่างมาก เป็นรากฐานและตัวชี้วัดว่าไทยจะก้าวเดินไปในยุคดิจิทัลได้ไกลมากน้อยเพียงใดคือ “การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล”

‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’  เรื่องนี้ทางหัวเว่ยได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรเพื่อยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพันธมิตรหลักคือ “สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)” และล่าสุดยังได้ร่วมมือกับ “จังหวัดนครศรีธรรมราช” จัดทำโครงการ “รถดิจิทัล กิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกล”

โครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในโครงการเรือธงที่หัวเว่ยดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2ปี เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาองค์ความรู้เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย โดยตั้งเป้าฝึกอบรมความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียน 3,000 คน แต่ละปีมีการเพิ่มเนื้อหาให้สอดคล้องกับการพัฒนาบนโลกไซเบอร์ เช่น ด้านพลังงานสะอาดหรือกรีนเทคโนโลยี

สุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนบุคคล บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล

ดังนั้น การบ่มเพาะทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจึงถือกุญแจในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ ซึ่งหัวเว่ย ประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนไทยสู่ความเสมอภาคและยกระดับคุณภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านโครงการต่าง ๆ  ซึ่งรวมไปถึงโครงการเรือธงอย่างรถดิจิทัลเพื่อสังคม

โครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการส่งมอบองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ และผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะพัฒนาประชาชนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับองค์ความรู้อย่างเท่าเทียม

หัวเว่ยมีมุมมองว่า ปัจจุบันองค์ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงต่อยอดการประยุกต์ไปสู่สายอาชีพของผู้เรียนด้วย

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เดินหน้าต่อยอดโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม ผ่านการผนึกกำลังกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรภาคเอกชน ในการนำรถดิจิทัลบัส ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะระดับโลกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 5G, AI, IOT, คลาวด์ ฯลฯ เพื่อเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยในจังหวัดต่างๆ กว่า 13 จังหวัด

‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’ นอกจากการสร้างความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกลแล้ว “ผู้หญิง” และผู้ที่มี “เพศสภาพเป็นหญิง” ก็เป็นบุคลากรเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ทางหัวเว่ยต้องการเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น

หัวเว่ยได้ร่วมมือกับทาง สกมช. จัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับผู้หญิงและผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิงครั้งแรกของประเทศไทย โครงการ “Women Thailand Cyber Top Talent 2023” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้หญิง หรือมีเพศสภาพเป็นหญิง ได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และเป็นการสร้างศักยภาพบุคลากรไซเบอร์ในระดับองค์กรหรือทั่วไป รวมถึงส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ และใช้สิทธิในการแสดงออกถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่

โดยปี 2566 ที่ผ่านมา รอบคัดเลือกมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 218 ทีม แบ่งออกเป็น 3ระดับ ระดับนักเรียน (Junior) 92 ทีม ระดับนักศึกษา (Senior) 71 ทีม และระดับประชาชนทั่วไป (Open) 55 ทีม รวมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ระดับ กว่า 407 คน ‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’ พิมพ์ชนก อุตตะมี ทีม NR01 สังกัด โรงเรียนนางรอง ผู้ชนะระดับ WJunior เปิดใจว่า รู้สึกชื่นชอบงานด้านไอทีจากการดูซีรีส์ จากนั้นเริ่มเข้ามาศึกษา เรียนรู้การเขียนโค้ด จนได้รู้จักกับคนในวงการและเข้ามาแข่งขันในโครงการนี้จากการชักชวนของคนรู้จัก

เธอกล่าวว่า ที่ตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขัน เพราะต้องการเข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แนวโจทย์ รูปแบบการแข่งขัน เมื่อมีโอกาสได้ไปต่อในรอบ on-site ก็มีความคิดต่อว่าอยากนำความรู้จากการแข่งขันหรือนำความรู้จากรูปแบบการทำโจทย์ไปฝึกเพื่อพัฒนาต่อและเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ อีกทางหนึ่งสะสมเป็นผลงานเพื่อนำไปต่อยอดในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในอนาคต

แม้ว่าครอบครัวจะไม่ได้สนับสนุนให้เข้ามาในสายงานด้านนี้มากนัก ทว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าทำได้และท้ายที่สุดก็ทำให้เห็นว่าทำได้ดีได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน มองว่าเรื่องเพศไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงไม่ได้มีความแตกต่าง การทำงานและประสบความสำเร็จอยู่ที่ทักษะและความรู้มากกว่า

นอกจากนี้ ประสบการณ์ที่ได้จากเข้าร่วมการแข่งขันทำให้ได้เห็นความสำคัญของไซเบอร์ซิเคียวริตี้มากขึ้น ได้รู้จักคนในวงการ เห็นโครงสร้างและช่องโหว่ที่แฮกเกอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเจาะระบบเข้ามา เรียนรู้การเขียนโค้ด เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เพิ่มเติม

ที่สนใจเป็นพิเศษคือด้านคลาวด์ซิเคียวริตี้และเว็บแอปพลิเคชัน จากการเข้าร่วมการประกวดทำให้ได้ทดลองใช้งานโซลูชันใหม่ๆ รวมถึงของหัวเว่ยซึ่งที่ชอบอย่างมากคือระบบคลาวด์ที่มีระบบอัตโมมัติด้านความปลอดภัยและการทำงานร่วมกัน

‘หัวเว่ย’ ขับเคลื่อน ‘ดิจิทัล’ ประเทศไทย เร่งสนับสนุน ‘นวัตกรรมอัจฉริยะ - พัฒนาบุคลากร’ เรือโทหญิง รติรส  แผ่นทอง ทีม hacKEr4nDtHECA7-1 สังกัด ศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้ชนะระดับ WOpen  เปิดเผยว่า การเข้าร่วมการประกวดทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ การตั้งค่า รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ที่ชอบมากที่สุดคือเว็บแอปพลิเคชันและโมบาย ซึ่งตรงกับสายงานด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่ทำอยู่

รติรสเล่าว่า ปีที่แล้วเข้าร่วมประกวดและได้รางวัลที่สอง ปีนี้กลับมาใหม่และได้รางวัลชนะเลิศ สิ่งที่ทำให้ชนะการแข่งขันมาจากการวางแผน ทำงานเป็นทีม เป็นลำดับขั้น และที่สำคัญมีทีมที่ดีแบ่งงานกันชัดเจนลงตัว นอกจากได้แสดงศักยภาพของตนเองและหน่วยงาน ยังเป็นการวัดระดับขีดความสามารถของตนเองเมื่อเทียบกับบุคคลภายนอก ผ่านการรับรู้แนวคิดใหม่ๆ

สำหรับเคล็ดลับความสำเร็จ ที่สำคัญคือต้องเป็นคนมี Passion ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา เพราะถ้าขาดเรื่องนี้อาจไปต่อไม่ได้ไกล จะเป็นชายหรือหญิงไม่ได้มีความแตกต่าง

อย่างไรก็ดี การส่งเสริมให้เพศหญิงเข้ามาในวงการมากขึ้น ต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายประเด็นทั้งด้านมายเซ็ต โครงสร้างการทำงานที่ยังมีข้อจำกัด ที่สำคัญคือการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งการพัฒนาบุคลากรควรเป็นการลงทุนระยะยาวทั้งด้านงบประมาณและการส่งเสริมการศึกษา อีกทางหนึ่งมีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับการทำงานสมัยใหม่

นอกจากนี้ สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เกิดความสนใจ อัปสกิลบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมการสร้างความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการตระหนักรู้ เพราะไม่ว่าระบบจะปลอดภัยเพียงใด หากผู้ใช้งานไม่มีความระมัดระวังก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้เช่นกัน

ด้าน จ่าสิบตรีหญิง ณัฐธยาน์ เรื่อศรีจันทร์ ทีม hacKEr4nDtHECA7-1 กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่ทำให้ชนะการแข่งขันมาจากการร่วมมือกันของทีม โดยใช้ความถนัดของแต่ละคนมาช่วยกันแก้โจทย์ ส่งเสริมกันและกัน

สำหรับการเข้าร่วมการแข่งครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้โจทย์ เครื่องมือ และเทคนิคใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดด้านการทำงานได้

ที่ผ่านมา การพัฒนาความสามารถมาจากนิสัยที่ใฝ่เรียนรู้ ฝึกฝน ไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง แม้ว่าภายนอกจะมองว่าในสายงานไอทีเพศชายมีข้อได้เปรียบมากกว่า แต่ในความเป็นจริงทุกคนสามารถเรียนรู้ได้หากได้รับโอกาสและการสนับสนุนที่ดี ซึ่งการจัดการแข่งขันโดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเป็นอีกหนึ่งโอกาสให้ทำให้เกิดการเข้าถึงได้มากขึ้น

หัวเว่ยยังคงเดินตามพันธกิจเติบโตในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย’ (In Thailand, For Thailand) ผ่านการบ่มเพาะโครงส้รางพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล อีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล และบุคลากรผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศ และยกระดับสถานะของประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาค